Axonotmesis

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Axonotmesis ที่เส้นประสาท

Axonotmesis เป็นความบาดเจ็บที่เส้นประสาทนอกส่วนกลางคือที่อวัยวะส่วนปลายต่าง ๆ แอกซอนและปลอกไมอีลินจะเสียหายในความบาดเจ็บเช่นนี้ แต่เซลล์ชวานน์, endoneurium, perineurium และ epineurium จะไม่เสียหาย การควบคุมกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึกในลำดับต่อจากจุดที่เสียหายจะเสียไปในที่สุด เพราะเส้นประสาทจะเสื่อมเนื่องกับกระบวนการ Wallerian degeneration เหตุการขาดเลือดเฉพาะที่ อาการนี้ปกติจะเป็นผลของความบาดเจ็บหรือความฟกช้ำซึ่งรุนแรงกว่าที่ก่อให้เกิดอาการ neuropraxia[1]

Axonotmesis โดยหลักจะเกิดจากความบาดเจ็บที่เกิดจากการยืด (stretch injury) เช่น ข้อเคลื่อนหรือแขนขาหัก ซึ่งทำให้เส้นประสาทขาด ถ้าคนไข้ไม่รู้สึกเจ็บเพราะเหตุเส้นประสาทที่เปิดออก ก็จะสามารถกำหนดจุดบาดเจ็บเนื่องจากความรู้สึกที่ผิดปกติในอวัยวะนั้น ๆ แพทย์อาจจะสั่งการตรวจความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท (Nerve Conduction Velocity, NCV) เพื่อตรวจปัญหาเพิ่มยิ่งขึ้น ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นอาการนี้ การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) ที่ทำหลังจากบาดเจ็บ 3-4 สัปดาห์จะแสดงอาการเส้นประสาทขาด (denervation) และกล้ามเนื้อสั่นระริก (fibrillation) หรือการเชื่อมต่อทางประสาทที่ผิดปกติและกล้ามเนื้อที่หดเกร็งผิดปกติ[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Saidoff, David C.; McDonough, Andrew (2002). Critical Pathways in Therapeutic Intervention. Missouri: Mosby Inc. pp. 262. ISBN 0-323-00105-X.
  2. "Nerve Injury (Neuropraxia, Axonotmesis, Neurotmesis) and Healing". www.healthhype.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.