ทวารหนัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Anus)
ทวารหนัก
การพัฒนาของทวารหนักในโพรโทสโทเมส(Protostomes)และดิวเทอโรสโตม (deuterostome)
รายละเอียด
คัพภกรรมProctodeum
ระบบย่อยอาหาร
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงไส้ตรงล่าง (inferior rectal artery)
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำไส้ตรงล่าง (inferior rectal vein)
ประสาทเส้นประสาทไส้ตรงล่าง (inferior rectal nerves)
น้ำเหลืองปุ่มน้ำเหลืองขาหนีบตื้น (superficial inguinal lymph nodes)
ตัวระบุ
ภาษาละตินAnus
TA98A05.7.05.013
TA23022
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์
ทวารหนัก

ทวารหนัก (อังกฤษ: anus) มาจากคำภาษาลาติน anus แปลว่า "วงแหวน" หรือ "วงกลม" เป็นรูเปิดตรงส่วนปลายของทางเดินอาหารของสัตว์ตรงข้ามกับปาก มีหน้าที่ในการควบคุมการปล่อยอุจจาระ, ของกึ่งแข็งที่ไม่เป็นที่ต้องการในระบบย่อยอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด อาจรวมถึง สิ่งที่สัตว์ชนิดนั้นไม่สามารถย่อยได้[1][2] ส่วนที่เหลือของอาหารหลังสารอาหารถูกนำออกไปหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสหรือลิกนิน (lignin), สิ่งที่อาจเป็นพิษหากคงอยู่ในทางเดินอาหาร และจุลินทรีย์ในลำไส้ (gut bacteria) ที่ตายแล้วหรือเกินจำเป็นรวมถึงสิ่งมีชีวิตร่วมอาศัย (endosymbiont) อื่น ๆ

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และนก ใช้ช่องเปิดช่องเดียวกันเรียกว่าทวารรวม (cloaca) สำหรับขับถ่ายของเสียทั้งของเหลวและของแข็ง, สำหรับร่วมเพศ และสำหรับวางไข่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยโมโนทรีมมีทวารรวมเช่นกัน คาดว่าเป็นลักษณะที่สืบทอดจากสัตว์มีถุงน้ำคร่ำยุคแรกสุดผ่านสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเทอแรพซิด (therapsid) สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องมีช่องเปิดเดียวสำหรับขับของเหลวและของแข็ง และเพศเมียมีช่องคลอดแยกสำหรับการสืบพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่ม placentalia เพศหญิงมีช่องเปิดแยกสำหรับถ่ายอุจจาระ ขับปัสสาวะ และสืบพันธุ์ ส่วนเพศผู้มีช่องเปิดสำหรับอุจจาระ และอีกช่องสำหรับทั้งปัสสาวะและสืบพันธุ์แม้ช่องทางที่ไหลไปยังช่องเปิดนั้นแทบจะแยกกันอย่างสิ้นเชิง

การพัฒนาของทวารหนักเป็นขั้นตอนสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์หลายเซลล์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Chin, K.; Erickson, G.M.; และคณะ (18 มิถุนายน 1998). "A king-sized theropod coprolite". Nature. 393 (6686): 680. doi:10.1038/31461.
  2. Monastersky, R. (20 มิถุนายน 1998). "Getting the scoop from the poop of T. rex". Science News. Society for Science &#38. 153 (25): 391. doi:10.2307/4010364. JSTOR 4010364. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทวารหนัก