ข้ามไปเนื้อหา

เซลลูโลส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายโมเลกุลเซลลูโลส (conformation Iα), เส้นประแสดง พันธะไฮโดรเจน ภายในและระหว่างโมเลกุล

เซลลูโลส (C6H10O5) n เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจากกลูโคสประมาณ 50,000 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว แต่ละสายของสายของเซลลูโลสเรียงขนานกันไป มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสาย ทำให้มีลักษณะเป็นเส้นใย สะสมไว้ในพืช[1] ไม่พบในเซลล์สัตว์ เซลลูโลสไม่ละลายน้ำและร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่ในกระเพาะของวัว ควาย ม้า และสัตว์ที่เท้ามีกีบ มีแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสได้ ถึงแม้ว่าร่างกายของมนุษย์จะย่อยเซลลูโลสไม่ได้ แต่เซลลูโลสจะช่วยในการกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้เคลื่อนไหว เส้นใยบางชนิดสามารถดูดซับน้ำได้ดี จึงทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ขับถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก ลดโอกาสการการเกิดโรคริดสีดวงทวาร เซลลูโลสเมื่อถูกย่อยจะแตกตัวออก ให้น้ำตาลกลูโคสจำนวนมาก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Per Stenius; Johan Gullichsen; H. Paulapuro, บ.ก. (2000). "1". Forest Products Chemistry. Papermaking Science and Technology. Vol. 3. Jyväskylä Finland: Fapet Oy. p. 35. ISBN 952-5216-03-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]