อะเลกเซย์ นาวัลนืย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Alexei Navalny)
อะเลกเซย์ นาวัลนืย
Алексей Навальный
หัวหน้าพรรครัสเซียแห่งอนาคต[a]
ดำรงตำแหน่ง
28 มีนาคม 2019 – 17 มกราคม 2021[b]
รองเลโอนิด โวลคอฟ
ก่อนหน้าอีวัน จดานอฟ
ถัดไปเลโอนิด โวลคอฟ (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน 2013 – 19 พฤษภาคม 2018
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปอีวัน จดานอฟ
ประธานในการประชุมคณะประสานงานฝ่ายค้านรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม – 24 พฤศจิกายน 2012
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปแกรี คาสปารอฟ
สมาชิกคณะประสานงานฝ่ายค้านรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม 2012 – 19 ตุลาคม 2013
ที่ปรึกษาอิสระในผู้ว่าการแคว้นคีรอฟ
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤษภาคม – 11 กันยายน 2009
ผู้ว่าการนิกิตา เบลิค
Chief of Staff of the Yabloko Moscow Regional Branch
ดำรงตำแหน่ง
12 เมษายน 2004 – 22 กุมภาพันธ์ 2007
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด04 มิถุนายน ค.ศ. 1976(1976-06-04)
บูตึน แคว้นมอสโก รัสเซีย สหภาพโซเวียต[1]
เสียชีวิต16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024(2024-02-16) (47 ปี)
Kharp, เขตปกครองตนเองยามาโล-เนเนตส์ ประเทศรัสเซีย
ที่ไว้ศพสุสานบอริสโซโว[2]
พรรคการเมือง
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสยูเลีย อับโรซิโมวา (สมรส 2000)
บุตร2[3]
ที่อยู่อาศัยมอสโก
การศึกษา
อาชีพ
  • ทนาย
  • นักการเมือง
  • นักกิจกรรม
  • บล็อกเกอร์
เป็นที่รู้จักจากผู้ประท้วงต่อต้านการทุจริต
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์navalny.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ, NavalnyLiveChannel
ข้อมูลยูทูบ
จำนวนผู้ติดตาม6.21 ล้าน
(16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024)
จำนวนผู้เข้าชม1.49 พันล้าน
(16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024)
ผู้ติดตาม 100,000 คน
ผู้ติดตาม 1,000,000 คน 2018

อะเลกเซย์ อะนาโตลีวิช นาวัลนืย (รัสเซีย: Алексе́й Анато́льевич Нава́льный, อักษรโรมัน: Alexei Anatolievich Navalny, สัทอักษรสากล: [ɐlʲɪkˈsʲej ɐnɐˈtolʲjɪvʲɪtɕ nɐˈvalʲnɨj]; 4 มิถุนายน 1976 – 16 กุมภาพันธ์ 2024) เป็นนักกิจกรรมชาวรัสเซีย เขาเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติผ่านการจัดการเดินขบวนรณรงค์และลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิรูปไม่ให้เกิดการคอร์รัปชันในประเทศรัสเซีย ในปี 2012 เดอะวอลล์สตรีตเจอร์นัล ระบุไว้ว่าเขาเป็นบุคคลที่ "วลาดีมีร์ ปูติน กลัวมากที่สุด"[4]

นาวัลนืยเป็นอดีตสมาชิกสภาประสานฝ่ายค้านรัสเซียและเป็นอดีตหัวหน้าพรรคก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน[5] ในเดือนกันยายน 2013 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีมอสโก โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคเอร์เปเอร์-ปาร์นัส เขาได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับสองที่ร้อยละ 27 พ่ายแพ้ให้กับเซียร์เกย์ โซบยานิน นายกเทศมนตรีคนเดิมผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยปูติน นาวัลนืยอ้างว่านี่เป็นการโกงเลือกตั้งและจริง ๆ เขาได้รับคะแนนเสียงมากกว่า[6] นาวัลนืยเป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านทางบล็อกไลฟ์เจอร์นัลของเขา ก่อนที่จะปรับไปเป็นยูทูบที่ซึ่งเขามีผู้ติดตามกว่าสี่ล้านคน รวมถึงทวิตเตอร์ที่ซึ่งเขามีผู้ติดตามมากกว่า 2.2 ล้านคน[7][8] เขาได้ใช้ช่องทางเหล่านี้ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐของรัสเซีย เมื่อปี 2011 เขาได้ให้สัมภาษณ์กับรายการวิทยุหนึ่งและเรียกพรรคเยดีนายารอสซียาซึ่งเป็นพรรคที่ปกครองรัสเซียตอนนี้อยู่ว่าเป็น "พรรคคนโกงและโจร" (party of crooks and thieves) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นชื่อเรียกขานของพรรคนี้[9]

นาวัลนืยเคยถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียจับกุมหลายครั้ง[10] เขาได้รับคำพิพากษารอการลงโทษจากความผิดฐานยักยอกสองกระทง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2013 และอีกครั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2014 ซึ่งมีโทษให้เขาจำคุกห้าปีและสามปีครึ่งตามลำดับ[11][12][13][14] ทั้งสองเหตุการณ์ถูกมองว่าเป็นการกุเรื่องขึ้นมาเพื่อตอบโต้กิจกรรมทางการเมืองของนาวัลนืย[15][16] และยังละเมิดสิทธิของนาวัลนืยในการเข้าถึงการพิพากษาที่ยุติธรรม ตามคำวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ศูนย์สิทธิมนุษยชนเมโมรีอัลระบุฐานะของนาวัลนืยเป็นนักโทษทางการเมือง[17]

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2020 นาวัลนืยถูกนำส่งเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการที่รุนแรงแต่คงตัวภายหลังถูกต้องสงสัยว่าถูกวางยาพิษระหว่างการเดินทางจากเมืองตอมสค์ในไซบีเรียไปมอสโก และเป็นไปได้ว่านี่เป็นการลงมือที่มีการเมืองเป็นเครื่องจูงใจ เที่ยวบินของเขาลงจอดฉุกเฉินที่เมืองออมสค์[18][19] ในวันถัดมาเขาถูกนำส่งขึ้นเครื่องบินการแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ที่ซึ่งออกเดินทางไปถึงในอีกวันถัดมา[20] ข้อมูลเมื่อ 24 สิงหาคม แพทย์ที่ให้การรักษาเขาในเบอร์ลินระบุว่าเขายังคงอยู่ในภาวะโคมาแต่ปราศจากอันตรายหรืออาการแทรกซ้อนฉับพลันใด ๆ ที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้[21]

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2024 หน่วยงานทัณฑสถานกลางประกาศว่านาวัลนืยเสียชีวิตในเรือนจำ[22]

หมายเหตุ[แก้]

  1. เดิมมีชื่อว่าพันธมิตรประชาชน (2012–2014) และพรรคก้าวหน้า (2014–2018)
  2. ถูกจับและภายหลังถูกจำคุก

อ้างอิง[แก้]

  1. Aden, Mareike (5 September 2013). "Alexej Nawalny: Der dunkle Star" [Alexei Navalny: The Dark Star]. Die Zeit Online (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2023. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
  2. "Hundreds arrive for Alexei Navalny's funeral". บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). Vol. LXXVII no. 62. บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน). อาช็องซ์ฟร็องซ์เปร็ส. 2 March 2024. p. 5. Two hours later, the burial was set to take place at the Borisovo cemetery, a short walk from the banks of the Moskva River.
  3. "Alexei Navalny, Russia's most vociferous Putin critic". BBC News. 16 February 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2024. สืบค้นเมื่อ 17 February 2024.
  4. Kaminski, Matthew (3 March 2012). "The Man Vladimir Putin Fears Most". Opinion. The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  5. Englund, Will (6 December 2011). "Russian blogger Alexei Navalny in spotlight after arrest". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2017.
  6. Englund, Will (9 September 2013). "Kremlin critic Alexei Navalny has strong showing in Moscow mayoral race, despite loss". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 August 2017.
  7. Kim, Lucian (8 February 2018). "Banned From Election, Putin Foe Navalny Pursues Politics By Other Means". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2018. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
  8. Sebastian, Clare (12 June 2017). "Alexey Navalny and Russia's YouTube insurgency". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2017. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
  9. Parfitt, Tom (10 May 2011). "Russian blogger Alexei Navalny faces criminal investigation". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2013. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  10. "Russian opposition leader Navalny faces third inquiry". BBC News. 24 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2012.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์). BBC. 24 December 2012. Retrieved 25 December 2012.
  11. Brumfield, Ben; Black, Phil; Smith-Spark, Laura (18 July 2013). "Outspoken Putin critic Alexei Navalny hit with prison sentence". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2013. สืบค้นเมื่อ 18 July 2013.
  12. David M. Herszenhorn (18 July 2013) "Russian Court Convicts Opposition Leader" เก็บถาวร 20 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The New York Times
  13. Englund, Will (19 July 2013). "In Russia, activist Alexei Navalny freed one day after conviction". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2016. สืบค้นเมื่อ 28 December 2015.
  14. Andrew E. Kramer (16 October 2013) Navalny Is Spared Prison Term in Russia เก็บถาวร 1 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The New York Times.
  15. "Russia". Freedom House. 29 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019. His most potent rival, Aleksey Navalny, had been disqualified before the campaign began due to his prior criminal conviction, seen as politically motivated. The presidential election was described by the Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) has having "a lack of genuine competition".
  16. MacFarquhar, Neil; Nechepurenko, Ivan (8 February 2017). "Aleksei Navalny, Viable Putin Rival, Is Barred From a Presidential Run". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2017. สืบค้นเมื่อ 12 June 2017.
  17. "Радио ЭХО Москвы :: Новости / Правозащитный центр Мемориал признал Алексея Навального политическим заключенным". Echo.msk.ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2013. สืบค้นเมื่อ 19 July 2013.
  18. "Russian opposition leader Alexei Navalny 'poisoned'". BBC News. 20 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  19. Outspoken Putin critic Alexey Navalny hospitalized after suspected poisoning – CNN Video, CNN, 20 August 2020, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2020, สืบค้นเมื่อ 20 August 2020
  20. "Alexei Navalny: Putin critic arrives in Germany for medical treatment". BBC News. 2020-08-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  21. CNN, Nadine Schmidt, Gianluca Mezzofiore and Amy Woodyatt. "Russian opposition leader Alexey Navalny was poisoned, Berlin hospital says". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  22. "Putin critic Alexei Navalny dies in Arctic Circle jail, says Russia". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-02-16. สืบค้นเมื่อ 2024-02-16.

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]