ชาวแอย์มอฆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Aimaq people)
แอย์มอฆ
ایماق
ประชากรทั้งหมด
1,593,418 (2021)
ร้อยละ 4 ของประชากรอัฟกานิสถาน[a][2][3][4]
ภาษา
ภาษาเปอร์เซียแบบแอย์มอฆ, ภาษาปาทาน[5]
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
(ส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี และส่วนน้อยนับถือนิกายชีอะฮ์)[6]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวแฮซอเร, Moghols, ชาวทาจิก และชาวปาทาน[5]

แอย์มอฆ (เปอร์เซีย: ایماق) หรือ แชฮอร์แอย์มอฆ (چهار ایماق) เป็นชนร่อนเร่และกึ่งร่อนเร่[7] ที่ส่วนใหญ่พูดภาษาเปอร์เซียและนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[8] ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงทางภาคกลางและตะวันตกของประเทศอัฟกานิสถาน เดิมทีชาวแอย์มอฆมีชื่อเรียกว่า "แอย์มอฆทั้งสี่" คือ ทอยแมนี (เป็นองค์ประกอบหลักของประชากรจังหวัดฆอร์), ฟีโรซโคฮี (ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดบาดฆีส), แจมชีดี และทีมูรี[9] ข้อมูลบางส่วนบันทึกว่าแอย์มอฆแฮซอเรเป็นหนึ่งในแอย์มอฆทั้งสี่ โดยกลุ่มทีมูรีอยู่ในส่วน "แอย์มอฆน้อย" หรือ แอย์มอเฆดีกอร์[10] ("แอย์มอฆอื่น")

ชาวแอย์มอฆพูดภาษาเปอร์เซียแบบแอย์มอฆ แต่กลุ่มชนทอยแมนีกับฟีโรซโคฮีทางใต้บางส่วนกับชาวทีมูรีทางตะวันออกเฉียงเหนือหันมาใช้ภาษาปาทาน[11]

ประชากรศาสตร์[แก้]

แผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 2005 โดยซีไอเอ

มีการประมาณการว่ามีประชากรแอย์มอฆประมาณ 250,000 ถึง 500,000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี (ยกเว้นกลุ่มแจมชีดีที่ส่วนใหญ่นับถือนิกายชีอะฮ์อิสมาอีลียะฮ์) ซึ่งตรงข้ามกับกลุ่มแฮซอเรที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. มีการจัดทำสำมะโนอัฟกานิสถานครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 1979 ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่ ทำให้ไม่มีการจัดทำสำมะโนอีกเลย[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Population Matters". 3 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 2022-11-06.
  2. World Population Review (19 September 2021). ""Afghanistan Population 2021"".
  3. "Distribution of Afghan population by ethnic group 2020". statista.com. 20 August 2021.
  4. "Afghan Ethnic Groups: A Brief Investigation". reliefweb.int. 14 August 2011.
  5. 5.0 5.1 Janata, A. "AYMĀQ". ใน Yarshater, Ehsan (บ.ก.). Encyclopædia Iranica (Online ed.). United States: Columbia University.
  6. "Aimaq". Minority Rights Group (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
  7. Tom Lansford -A bitter harvest: US foreign policy and Afghanistan 2003 Page 25 "The term Aimaq means "tribe" but the Aimaq people actually include several different ethnic groups. The classification has come to be used for a variety of nonaligned nomadic tribes"
  8. "AYMĀQ – Encyclopaedia Iranica". iranicaonline.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  9. Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Aimak" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 1 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 439.
  10. Willem Vogelsang (2002). The Afghans. Wiley-Blackwell. pp. 37–. ISBN 9780631198413. สืบค้นเมื่อ 1 April 2011.
  11. Vogelsang, Willem (2002). The Afghans. Wiley-Blackwell. p. 18. ISBN 0631198415. สืบค้นเมื่อ 23 January 2012.
  12. "Afghanistan". Encyclopædia Britannica. Ultimate Reference Suite. Chicago: Encyclopædia Britannica, 2008.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Macgregor, Central Asia, (Calcutta, 1871)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]