ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Acipenser persicus)
ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซีย
Acipenser persicus
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Acipenseriformes
วงศ์: Acipenseridae
วงศ์ย่อย: Acipenserinae
สกุล: Acipenser
สปีชีส์: A.  persicus
ชื่อทวินาม
Acipenser persicus
Borodin 1897
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Acipenser güldenstädti persicus (Borodin 1897)

ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซีย (Acipenser persicus ) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ Acipenseridae ถูกพบในทะเลแคสเปียน และพบในจำนวนน้อยที่ทะเลดำ ปลาชนิดนี้ว่ายขึ้นไปตามแม่น้ำบางสายเพื่อวางไข่ โดยมักเป็นแม่น้ำวอลกา, Kura, Araks, และยูรัล มันถูกจับอย่างหนักเพื่อเนื้อและไข่ของมัน และถูกจำกัดในการอพยพขึ้นสู่แม่น้ำโดยการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ ปลาอายุน้อยกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก จากนั้นจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าเช่นปูและปลาเมื่อโตขึ้น ภัยคุกคามที่ปลาชนิดนี้ต้องเผชิญ ได้แก่ การจับปลามากเกินไปด้วยการลดจำนวนปลาที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่พวกมันจะผสมพันธุ์, การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ, การสูญเสียพื้นที่วางไข่, และมลพิษทางน้ำ สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติได้ระบุว่าปลาชนิดนี้เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และได้เสนอว่าการจัดหาแหล่งอนุบาลไข่อาจเป็นประโยชน์ต่อปลาชนิดนี้

ลักษณะทางกายภาพ[แก้]

ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียมีลำตัวยาวเทอะทะและมีโทนสีน้ำเงิน[3] ปลาสเตอร์เจียนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในแอ่งแคสเปียนและแอ่งทะเลดำ แต่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลแคสเปียน อาจพบประชากรในแควและแม่น้ำขาเข้าสู่ทะเลแคสเปียน ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียเป็นปลาที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ซึ่งมีมูลค่าสำหรับเนื้อ ที่ส่วนใหญ่มักเป็นไข่ปลา[4] ก่อนหน้านี้มีปลาชนิดนี้อยู่ทั่วไปทุกแห่งในภูมิภาคนี้ การจับปลาสเตอร์เจียนอย่างหนักสำหรับคาเวียร์ได้บังคับให้ปลาชนิดนี้ตกอยู่ในสถานะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต[5]

การกระจายพันธุ์[แก้]

ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียหากินที่บริเวณไหล่ทะเล ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลแคสเปียน ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียยังสามารถพบได้ทางเหนือ, ตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลแคสเปียน[6]

นิเวศวิทยา[แก้]

ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียเป็นเฮเทโรทรอพที่มีตัวรับสัมผัสและตัวรับรส เมื่อให้อาหาร ปลาชนิดนี้จะใช้วิธีการดูดกิน พฤติกรรมการกินของปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียเปลี่ยนไปตลอดชีวิต เมื่ออายุไม่มาก ปลาสเตอร์เจียนจะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่น กุ้งเคย ริ้นน้ำจืด และแอมฟิพอดในวงศ์ Gammaridae เมื่ออายุประมาณ 2–3 ปี หลายตัวจะกินปูหรือปลา และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียจะกินปลาเป็นหลัก

ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียส่วนใหญ่แพร่พันธุ์ในแม่น้ำวอลกา, Kura, Araks และยูรัล การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนี้เกิดขึ้นในน้ำที่มีอุณหภูมิ 20–25 °C[6] การวางไข่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกันสำหรับแม่น้ำคนละสายกัน มีการวางไข่ในแม่น้ำโวลก้าตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ในแม่น้ำ Kura ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกลางเดือนกันยายน และในแม่น้ำยูรัลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม นอกเหนือจากช่วงเวลาของการวางไข่ ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นโคลนหรือพื้นทราย

การอนุรักษ์[แก้]

มีข้อควรพิจารณาสี่ประการที่ต้องคำนึงถึงเมื่อกล่าวถึงการอนุรักษ์ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซียคือ การดูแลรักษาลำธารและการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ, การสูญเสียพื้นที่วางไข่, ระดับการปนเปื้อนของแม่น้ำสู่ทะเลแคสเปียน, และการจับปลาในทะเล[6] ปัญหาจำนวนมากสำหรับปลาสเตอร์เจียนเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะการจับปลา เมื่อชาวประมงนำปลาสเตอร์เจียนออกจากทะเลก่อนเวลาอันควร พวกเขาจะขัดขวางวงจรของระบบนิเวศโดยการกำจัดปลาที่ยังไม่เจริญเต็มที่และลดจำนวนประชากรที่สามารถวางไข่ได้ วิธีแก้ปัญหาดังกล่าววิธีหนึ่งคือการให้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือนอกภาครัฐเพื่อช่วยเหลือผู้อนุบาลปลาในการผสมเทียมปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซีย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Froese, R.; Pauly, D. (2017). "Acipenseridae". FishBase version (02/2017). สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  2. "Acipenseridae" (PDF). Deeplyfish- fishes of the world. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-18. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  3. Kuliev, ZM & Ivanova, LA. "Acipenser persicus". Caspian Environment Org (http://www.caspianenvironment.org/biodb/eng/fishes/Acipenser%20persicus/main.htm) Accessed 4/27/2007.
  4. Alavi, Sayyed Mohammad Hadi & Cosson, Jacky. Sperm motility and fertilizing ability in the Persian sturgeon Acipenser persicus. Aquaculture Research, 2005, 36, 841-850. Accessed May 1, 2007.
  5. Sturgeon Specialist Group 1996. Acipenser persicus. In: IUCN 2006. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. www.iucnredlist.org. Accessed April 27, 2007.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Kuliev, ZM & Ivanova, LA. "Acipenser persicus". Caspian Environment Org (http://www.caspianenvironment.org/biodb/eng/fishes/Acipenser%20persicus/main.htm) Accessed April 27, 2007.