ข้ามไปเนื้อหา

A Great Day in Harlem

พิกัด: 40°48′25″N 73°56′28″W / 40.806874°N 73.941005°W / 40.806874; -73.941005
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อะเกรตเดย์อินฮาร์เล็ม หรือ ฮาร์เล็ม 1958 เป็นชื่อของภาพถ่ายขาวดำของกลุ่มนักดนตรีแจ๊สจำนวน 57 คน ที่ถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1958 บริเวณริมถนน หน้าอาคารแห่งหนึ่งในย่านฮาร์เล็ม มหานครนิวยอร์ก

ภาพหมู่นี้ถ่ายโดยอาร์ต เคน ช่างภาพอิสระของนิตยสารเอสไควร์ เมื่อเวลาประมาณ 10 นาฬิกา ของวันหนึ่งกลางฤดูร้อนของปี 1958 บริเวณหน้าบ้านเลขที่ 17 ถนนสายที่ 126 (อยู่ระหว่างฟิฟต์แอฟวะนิว และเมดิสันแอฟวะนิว) ในย่านฮาร์เล็มตะวันออก พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารเอสไควร์ ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. 1959 และกลายเป็นภาพถ่ายที่มีชื่อเสียง

ในปี ค.ศ. 1994 เรื่องราวเกี่ยวกับเบื้องหลังภาพถ่ายภาพนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี A Great Day in Harlem ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม รางวัลออสการ์ ประจำปี 1995

ภาพถ่ายนี้ถูกนำมาอ้างอิงถึงในภาพยนตร์ปี 2004 ของสตีเว่น สปีลเบิร์กเรื่อง The Terminal (เดอะ เทอร์มินัล ด้วยรักและมิตรภาพ) นำแสดงโดยทอม แฮงค์ รับบทเป็น วิคเตอร์ นาวอร์สกี้ ชาวยุโรปตะวันออกที่ตกค้างอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี หลังจากพยายามเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา เพื่อตามหาลายเซ็นของนักดนตรีคนสุดท้าย จากทั้ง 57 คนที่ปรากฏในภาพถ่าย A Great Day in Harlem เพื่อเป็นการสืบทอดความฝันของบิดาผู้ล่วงลับ ที่ใช้เวลา 40 ปีตามสะสมลายเซ็นของนักดนตรีทั้งหมด ในภาพยนตร์เรื่องนี้ มี เบนนี โกลสัน นักแซกโซโฟนชาวอเมริกัน หนึ่งในนักดนตรีในภาพถ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ร่วมแสดงรับเชิญด้วย

นักดนตรีในภาพถ่าย

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

40°48′25″N 73°56′28″W / 40.806874°N 73.941005°W / 40.806874; -73.941005