ข้ามไปเนื้อหา

เอ. เอส. ไบแอตต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก A.S. Byatt)
เอ. เอส. ไบแอตต์
A. S. Byatt
เอ. เอส. ไบแอตต์ ค.ศ. 2007
เกิด24 สิงหาคม ค.ศ. 1936
เชฟฟิล์ด, อังกฤษ
เสียชีวิต16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 (87 ปี)
ลอนดอน, อังกฤษ
สัญชาติชาวอังกฤษ
อาชีพนักเขียน
ผลงานเด่นPossession: A Romance (ค.ศ. 1990)
The Djinn in the Nightingale's Eye (ค.ศ. 1995)
ตำแหน่งนักเขียน
รางวัลรางวัลแมนบุคเคอร์
รางวัลเพ็น/แม็คมิล
นักเขียนชาวอังกฤษ

เดมอันโตเนีย ซูซาน ดัฟฟี หรือ เอ. เอส. ไบแอตต์ (อังกฤษ: A. S. Byatt หรือ Dame Antonia Susan Duffy, DBE) (24 สิงหาคม ค.ศ. 1936 - 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023) ไบแอตต์เป็นนักเขียนนวนิยายและกวีคนสำคัญชาวอังกฤษ เธอมีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า "Antonia Susan Drabble" ไบแอตต์เป็นบุตรีของผู้พิพากษาจอห์น เฟรเดอริค แดรบเบิล และแคทเธอรีน แมรี บลัวร์ ต่อมาสมรสกับปีเตอร์ ดัฟฟี ชื่อที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ "เอ. เอส. ไบแอตต์"

ชีวิตและอาชีพ

[แก้]

ไบแอตต์ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเมานท์, วิทยาลัยนูว์นแนม (มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์), วิทยาลัยเบรนมอว์ (Bryn Mawr College) ในเพนซิลเวเนีย และ วิทยาลัยซอมเมอร์วิลล์ (มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด) ทุนการค้นคว้าที่ได้รับของสถาบันหลังที่ขึ้นอยู่กับการเป็นโสดมายุติลงเมื่อไบแอตต์สมรสครั้งแรกกับเอียน ไบแอตต์ในปี ค.ศ. 1959 น้องสาวคนรองของไบแอตต์มาร์กาเร็ต แดรบเบิลเป็นนักเขียนนวนิยาย และอีกคนหนึ่งเฮเลน แลงดอนเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลป์

ไบแอตต์ทำงานปาฐกถาที่คณะการศึกษานอกสถานที่ของมหาวิทยาลัยลอนดอนระหว่างปี ค.ศ. 1962 ถึงปี ค.ศ. 1971[1] คณะศิลปะและการออกแบบของวิทยาลัยเซนต์มาร์ตินระหว่างปี ค.ศ. 1972 ถึงปี ค.ศ. 1983 ที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน[1]

The Shadow of the Sun (ไทย: เงาสุริยา) นวนิยายเรื่องแรกที่เป็นเรื่องของหญิงสาวที่เติบโตขึ้นภายในเงาของพ่อผู้มีบุคลิกที่มีอิทธิพลเหนือกว่าได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1964 ตามด้วย The Game (ค.ศ. 1967) ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องสตรีสองคน[1], The Virgin in the Garden (ค.ศ. 1978) (ไทย: สาวบริสุทธิ์ในสวน) เป็นหนังสือเรื่องแรกที่เป็นเรื่องติดต่อกันสี่เรื่องที่เป็นเรื่องสมาชิกในครอบครัวในยอร์คเชอร์ ที่มาต่อด้วย Still Life (ค.ศ. 1985) (ไทย: ภาพนิ่ง) ที่ได้รับรางวัลเพ็น/แม็คมิลแลนเงิน และ Babel Tower (ค.ศ. 1996) (ไทย: หอบาเบล) เล่มที่สี่ในชุดนี้คือ A Whistling Woman (ค.ศ. 2002) (ไทย: สตรีผิวปาก) หนังสือสี่เล่มนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในบริเตนในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ ชีวิตของเฟรเดอริคาในฐานะสตรีผู้มีการศึกษาและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดผู้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในช่วงเวลาที่มีนักศึกษาสตรีเพียงไม่กี่คน และต่อมาหลังจากหย่ากับสามีแล้วก็มาเริ่มชีวิตใหม่ในลอนดอนกับลูกชาย เช่นเดียวกับ Babel Tower นวนิยายเรื่อง A Whistling Woman เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 ที่สะท้อนถึงสถานะของสังคมในยุคของความฝันในการเป็นโลกของยูโทเปียและการปฏิวัติ ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 ไบแอตต์ก็เขียน The Matisse Stories (ไทย: เรื่องมาทีส) ซึ่งเป็นหนังสือชุดสามเรื่อง แต่ละเรื่องบรรยายภาพเขียนโดยอองรี มาตีสที่เป็นแรงบันดาลใจของไบแอตต์ แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยวิกฤติการณ์เล็กๆ ที่บานออกไปเป็นความยุ่งเหยิงที่ซับซ้อนขึ้นของตัวละครเอก

Possession (ไทย: เจ้าของ) งานเขียนที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เป็นเรื่องขนานระหว่างความสัมพันธ์ของนักการศึกษาสองคนในยุคปัจจุบันกับ กับความสัมพันธ์ของกวีสองคนของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่นักการศึกษาทำการค้นคว้า Possession ได้รับรางวัลแมนบุคเคอร์ในปี ค.ศ. 1990

นอกจากจะเขียนนวนิยายแล้วไบแอตต์ก็ยังเขียนเรื่องสั้นด้วย งานเขียนของไบแอตต์เป็นงานที่มีอิทธิพลจากเฮนรี เจมส์, จอร์จ อีเลียต, เอมมิลี ดิคคินสัน, ที. เอส. อีเลียต และ โรเบิร์ต บราวนิง ในการผสานระหว่างสัจนิยม และ ธรรมชาตินิยม กับแฟนตาซี และเป็นที่แน่นอนว่าในการเขียนนวนิยายชุดสี่เล่มเป็นงานที่มีอิทธิพลโดยตรงจากดี. เอช. ลอว์เรนซ์ โดยเฉพาะในงานเขียนของลอว์เรนซ์ The Rainbow (ไทย: สายรุ้ง) และ Women in Love (ไทย: สตรีตกหลุมรัก) ไอริส เมอร์ด็อคก็เป็นนักเขียนอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลต่อไบแอตต์ ในงานเขียนที่เป็นนัยยะหรือวางโครงสร้างของหัวใจของเรื่องจากวรรณกรรมจินตนิยมและวิคตอเรีย การใช้แฟนตาซีของไบแอตต์เป็นการวางทางเลือกอีกทางหนึ่ง (alternative) ในการบรรยายเรื่องที่ไม่ใช่การหนีจากความเป็นจริง (escapism) ซึ่งบางครั้งก็ยากที่จะบอกได้ว่าสิ่งใดคือจินตนาการและสิ่งใดคือความขัดแย้งทางจิตวิทยา ในหนังสือในช่วงที่เขียนเมื่อไม่นานมานี้ไบแอตต์นำความสนใจทางวิทยาศาสตร์ปริชานศาสตร์ (cognitive science) และ สัตววิทยาเข้ามาใช้ งานสองชิ้นของไบแอตต์ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ Possession ที่สร้างในปี ค.ศ. 2002 และ Angels & Insects ที่สร้างในปี ค.ศ. 1995

นอกจากนั้นแล้วไบแอตต์ก็ยังมีงานเขียนในนิตยสาร Prospect และ เดอะการ์เดียน ไบแอตต์ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ ชั้นสาม (Order of the British Empire (CBE)) ในปี ค.ศ. 1990 และต่อมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ ชั้นสอง (DBE) ในปี ค.ศ. 1999

งานเขียน

[แก้]

รางวัลทางวรรณกรรมและอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Contemporary Authors website.
  2. "A.S. Byatt Recipient of the 2009 Blue Metropolis Literary Grand Prix". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2009-09-20.

ดูเพิ่ม

[แก้]