162173 รีวงู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก (162173) 1999 JU3)
162173 รีวงู
การค้นพบ [1]
ค้นพบโดย:LINEAR, Lincoln Lab's ETS
ค้นพบเมื่อ:10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ชื่อตามระบบ MPC:(162173) รีวงู
ชื่ออื่น ๆ:1999 JU3
ลักษณะของวงโคจร[2]
ต้นยุคอ้างอิง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (JD 2455907.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
1.4159 AU
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
0.9633 AU
กึ่งแกนเอก:1.1896 AU
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.1902
คาบการโคจร:1.30 ปี (474 วัน)
มุมกวาดเฉลี่ย:3.9832°
ความเอียง:5.8837°
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย:0.865±0.015 km[3]
0.87 km[4]
0.90±0.14 km[5]
0.92±0.12 km[6]
0.980±0.029 km[7]
1.13±0.03 km[8]
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
7.627±0.007 h[7][9]
อัตราส่วนสะท้อน:0.037±0.002[7]
0.042±0.003[8]
0.047±0.003[3]
0.063±0.020[6]
0.07±0.01[5]
0.078±0.013[4]
ชนิดสเปกตรัม:SMASS = Cg[2] · C[3]
โชติมาตรสัมบูรณ์:18.69±0.07 (R)[4]
18.82[6]
19.2[7]
19.25±0.03[3]
19.3[1][2]

162173 รีวงู (Ryugu) หรือ 1999 JU3 ตามการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยชั่วคราว เป็นเทห์ฟ้าใกล้โลก (NEO) และเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีศักยภาพเป็นอันตรายต่อโลก (PHO) ดวงหนึ่งในกลุ่มอะพอลโล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร ถือเป็นวัตถุท้องฟ้าสีเข้มที่จัดอยู่ในชนิดของสเปกตรัมประเภท Cg ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งประเภท G และ C ดาวเคราะห์น้อยรีวงูเป็นเป้าหมายของการสำรวจโดยยานสำรวจอวกาศ ฮายาบูซะ 2 ซึ่งปล่อยจากโลกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 มีกำหนดถึงเป้าหมายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อเก็บตัวอย่างส่งกลับโลก และกลับถึงโลกราวปลายปี พ.ศ. 2563[10]

ประวัติ[แก้]

นักดาราศาสตร์ในโครงการวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอล์น (LINEAR) ค้นพบดาวเคราะห์น้อยรีวงูเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ณ ศูนย์ปฏิบัติการห้องทดลองลินคอล์น (Lincoln Laboratory's ETS) ใกล้เมืองซอคอร์โร รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐ[1] และให้ชื่อดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ว่า 1999 JU3 ตามการตั้งชื่อชั่วคราว

ชื่อ[แก้]

ดาวเคราะห์น้อย 1999 JU3 ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า "รีวงู" (อังกฤษ: Ryugu) เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (เลขอ้างอิง M.P.C 95804)[11] ชื่อ "รีวงู" นั้นมีที่มาจาก "รีวงูโจ" (ญี่ปุ่น: 竜宮城โรมาจิRyūgū-jō) หรือ "ปราสาทพระราชวังมังกร" ที่ปรากฏในคติชนญี่ปุ่นเรื่อง อูราชิมะ ทาโร ชาวประมงผู้ซึ่งขี่หลังเต่าไปยังพระราชวังใต้น้ำรีวงูโจ และเมื่อกลับขึ้นฝั่งเขาได้นำกล่องปริศนามาด้วย หากจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับที่ยานสำรวจฮายาบูซะ 2 นำตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยกลับมายังโลก[1][12]

ลักษณะ[แก้]

วงโคจร[แก้]

ดาวเคราะห์น้อยรีวงูโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยระยะห่างระหว่าง 0.96–1.41 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) มีระยะกึ่งแกนเอก 1.19 AU ใช้เวลาโคจรครบหนึ่งรอบ 474 วันหรือ 16 เดือน วงโคจรมีความเยื้องศูนย์กลาง 0.19 และความเอียง 6 องศาเมื่อเทียบกับสุริยวิถี[2] มีระยะร่วมวงโคจรที่น้อยที่สุด (MOID) กับโลก 95,400 กิโลเมตร หรือเพียง 23% ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์[2]

ลักษณะทางกายภาพ[แก้]

ยานสำรวจอวกาศ ฮายาบูซะ 2

เมื่อปี พ.ศ. 2555 นักดาราศาสตร์โทมัส จี. มึลเลอร์และคณะ ได้ศึกษาดาวเคราะห์น้อยรีวงูด้วยการสังเกตการณ์หลายรูปแบบ และให้ความเห็นว่าดาวเคราะห์น้อยนั้นแทบจะเป็นทรงกลม มีการหมุนรอบตัวเองสวนทางกับดวงอาทิตย์ (retrograde rotation) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประสิทธิภาพ (effective diameter) 0.85–0.88 กิโลเมตร และมีอัตราส่วนสะท้อนเรขาคณิต (geometric albedo) 0.044–0.050 นอกจากนี้ยังได้ประมาณขนาดเม็ดของวัสดุพื้นผิวดาวไว้ระหว่าง 1–10 มิลลิเมตร[3]

ภาพชุดแรกของดาวเคราะห์น้อยรีวงู ถ่ายโดยยานสำรวจฮายาบูซะ 2 เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ขณะที่ยานอยู่ห่างจากดาว 700 กิโลเมตร เผยให้เห็นว่าดาวเคราะห์น้อยมีรูปทรงอย่างเพชร[13] ยานสำรวจฮายาบูซะ 2 ยังคงถ่ายภาพอย่างต่อเนื่องในขณะที่เข้าใกล้ดาวมากขึ้น[14]

ส่วนประกอบและมูลค่าดาว[แก้]

อ้างอิงตามเว็บไซต์แอสเทอแรงค์ (Asterank) ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท Planetary Resources ดาวเคราะห์น้อยรีวงูมีองค์ประกอบทางเคมีได้แก่ นิกเกิล เหล็ก โคบอลต์ น้ำ ไนโตรเจน ไฮโดรเจน และแอมโมเนีย และมีการประเมินมูลค่าดาวปัจจุบันเพื่อการทำเหมืองแร่ไว้ที่ 82,760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[15]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "162173 Ryugu (1999 JU3)". Minor Planet Center. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "JPL Small-Body Database Browser: 162173 Ryugu (1999 JU3)" (2016-08-09 last obs.). Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Müller, T. G.; Durech, J.; Ishiguro, M.; Mueller, M.; Krühler, T.; Yang, H.; และคณะ (มีนาคม 2017). "Hayabusa-2 mission target asteroid 162173 Ryugu (1999 JU3): Searching for the object's spin-axis orientation" (PDF). Astronomy and Astrophysics. 599: 25. arXiv:1611.05625. Bibcode:2017A&A...599A.103M. doi:10.1051/0004-6361/201629134. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kim, Myung-Jin; Choi, Young-Jun; Moon, Hong-Kyu; Ishiguro, Masateru; Mottola, Stefano; Kaplan, Murat; และคณะ (กุมภาพันธ์ 2013). "Optical observations of NEA 162173 (1999 JU3) during the 2011-2012 apparition" (PDF). Astronomy and Astrophysics. 550: 4. arXiv:1302.4542. Bibcode:2013A&A...550L..11K. doi:10.1051/0004-6361/201220673. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  5. 5.0 5.1 Campins, H.; Emery, J. P.; Kelley, M.; Fernández, Y.; Licandro, J.; Delbó, M.; และคณะ (สิงหาคม 2009). "Spitzer observations of spacecraft target 162173 (1999 JU3)" (PDF). Astronomy and Astrophysics. 503 (2): L17–L20. arXiv:0908.0796. Bibcode:2009A&A...503L..17C. doi:10.1051/0004-6361/200912374. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 Hasegawa, S.; Müller, T. G.; Kawakami, K.; Kasuga, T.; Wada, T.; Ita, Y.; และคณะ (ธันวาคม 2008). "Albedo, Size, and Surface Characteristics of Hayabusa-2 Sample-Return Target 162173 1999 JU3 from AKARI and Subaru Observations". Publications of the Astronomical Society of Japan. 60 (SP2): S399––S405. Bibcode:2008PASJ...60S.399H. doi:10.1093/pasj/60.sp2.S399. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Abe, M.; Kawakami, K.; Hasegawa, S.; Kuroda, D.; Yoshikawa, M.; Kasuga, T.; และคณะ (มีนาคม 2008). Ground-based Observational Campaign for Asteroid 162173 1999 JU3 (PDF). 37th COSPAR Scientific Assembly. Lunar and Planetary Science. Vol. 39. p. 1594. Bibcode:2008LPI....39.1594A. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  8. 8.0 8.1 Yu, Liang-Liang; Ji, Jiang-Hui; Wang, Su (กรกฎาคม 2014). "Investigation of Thermal Inertia and Surface Properties for Near-earth Asteroid (162173) 1999 JU3". Chinese Astronomy and Astrophysics. 38 (3): 317–329.(ChA&AHomepage). Bibcode:2014ChA&A..38..317L. doi:10.1016/j.chinastron.2014.07.008. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  9. "LCDB Data for (162173) Ryugu". Asteroid Lightcurve Database (LCDB). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  10. "Current status of the asteroid explorer, Hayabusa2, leading up to arrival at asteroid Ryugu in 2018" (PDF). องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-14.
  11. "MPC/MPO/MPS Archive". Minor Planet Center. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  12. "Name Selection of Asteroid 1999 JU3 Target of the Asteroid Explorer "Hayabusa2"" (Press release). องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น. 5 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  13. "From a distance of about 700km, Ryugu's rotation was observed". องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น.
  14. Plait, Phil, "Asteroid Ryugu Starts to Come Into Focus", SyFy Wire, 20 มิถุนายน 2018.
  15. http://www.asterank.com/, มูลค่า: 82.76 พันล้าน$, กำไรประเมิน: 30.07 พันล้าน$

บรรณานุกรม[แก้]