ข้ามไปเนื้อหา

ไฮเทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮเทรา
ชื่อท้องถิ่น
海能达
ประเภทมหาชน; รัฐวิสาหกิจ (บางส่วน)
การซื้อขาย
SZSE: 002583
ISINCNE1000013B1 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
ก่อตั้งพ.ศ. 2536
สำนักงานใหญ่เชินเจิ้น, กวางตุ้ง, จีน
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
เฉิน ชิงโจว (ประธาน)
ผลิตภัณฑ์วิทยุสองทาง
ระบบเครือข่าย
พนักงาน
7,000 คน (2561)[1]
บริษัทแม่เชินเจิ้น อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้งส์
บริษัทในเครือนอร์สัต, เทคโนโลยีซินแคลร์
เว็บไซต์www.hytera.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ไฮเทรา (อังกฤษ: Hytera; จีน: 海能达; พินอิน: Hǎinéngdá; ก่อนหน้านี้ชื่อ เฮชวายที (HYT); SZSE: 002583) เป็นผู้ผลิตเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุและระบบวิทยุที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และมีรัฐเป็นเจ้าของบางส่วน ก่อตั้งขึ้นในเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งในปี พ.ศ. 2536 ไฮเทราจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้น และบางส่วนเป็นเจ้าของโดย เซินเจิ้น อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลเทศบาลเมืองเซินเจิ้น[2] ไฮเทราเป็นผู้มีส่วนสำคัญในมาตรฐานพีดีที ซึ่งออกแบบมาสำหรับองค์กรด้านความปลอดภัยสาธารณะในประเทศจีน[3] บริษัทนี้เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ให้กับกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ[4]

ประวัติ[แก้]

สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ในเมืองเชินเจิ้น ประเทศจีน ผลิตภัณฑ์ของไฮเทราได้รับการพัฒนาที่ศูนย์พัฒนาทั้งหมดสามแห่ง[1] หนึ่งในสถานที่พัฒนาตั้งอยู่ในเมืองบาด มุนเด ประเทศเยอรมนี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ไฮเทราได้เข้าซื้อกิจการบริษัท โรเด้อร์ แอนด์ ชวาร์ส โปรเฟสชันแนล โมบายเรดิโอ เกเอ็มเบฮา (Rohde & Schwarz Professional Mobile Radio GmbH) ของเยอรมนี จากกลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเยอรมนี โรเด้อร์ แอนด์ ชวาร์ส (Rohde & Schwarz) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อ ไฮเทรา โมบิลฟังค์ (Hytera Mobilfunk) นอกจากนี้ ยังมีบริษัทสาขาของไฮเทรา ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และสเปน

สหรัฐ[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ไฮเทราได้เข้าซื้อกิจการ มาร์เก็ตโทรนิคส์ คอร์ปอเรชั่น (Marketronics Corporation) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ไฮเทรา อเมริกา อิงค์ (Hytera America, Inc.) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองมิรามาร์ รัฐฟลอริดา ในปี พ.ศ. 2562 ไฮเทรา และบริษัทอื่น ๆ ในจีนหลายแห่ง รวมถึง หัวเว่ย ถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อต้องห้ามของบัญญัติการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 (National Defense Authorization Act: NDAA)[5] ที่ห้ามทำธุรกิจใด ๆ กับสหรัฐ หน่วยงานรัฐบาลกลางเนื่องจากปัญหาความมั่นคงของชาติและสิทธิมนุษยชน[6][7][8]

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ไฮเทรา อเมริกา และ ไฮเทรา อเมริกา (ตะวันตก) ได้ยื่นฟ้องล้มละลายตามมาตรา 11 โดยอ้างถึงคดีฟ้องร้องที่ดำเนินอยู่กับ โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ (Motorola Solutions) และผลกระทบของการระบาดทั่วของโควิด-19[9]

ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 ไฮเทรา อเมริกา อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยแห่งใหม่ของไฮเทราในสหรัฐ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามขั้นตอนของศาล ได้เริ่มดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการ[10]

การห้ามของรัฐบาลกลาง[แก้]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (FCC) ประกาศว่าบริการและอุปกรณ์กล้องวงจรปิดและโทรคมนาคมของไฮเทรา "ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ต่อความมั่นคงของชาติสหรัฐ"[11] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารห้ามการขายหรือนำเข้าอุปกรณ์ที่ผลิตโดยไฮเทราด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของชาติ[12]

การดำเนินคดีกับโมโตโรล่า[แก้]

บริษัทเป็นจำเลยและโจทก์ในการดำเนินคดีด้านทรัพย์สินทางปัญญากับ โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ ที่กำลังดำเนินอยู่[13][14][15] ไฮเทรายังเป็นโจทก์ในคดีต่อต้านการผูกขาดต่อ โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ อีกด้วย[10] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ไฮเทราถูกฟ้องร้องทางอาญาในศาลแขวงสหรัฐประจำเขตทางตอนเหนือของรัฐอิลลินอยส์ ในข้อหาขโมยเทคโนโลยี[16][17] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ศาลมีคำสั่งให้บริษัทหยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วโลกทันที[18] ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ไฮเทราจำหน่ายต่อ[19]

เยอรมนี[แก้]

บริษัทสัญชาติเยอรมัน บิก โมบิลฟังก์ เกเอ็มเบฮา (BICK Mobilfunk GmbH) ก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทด้านวิศวกรรมในปี พ.ศ. 2523 และถูกครอบงำโดย โรเด้อร์ แอนด์ ชวาร์ส ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2531[20] บริษัทได้เริ่มให้บริการระบบ TETRA ระบบแรกในเยอรมนี[21] องค์กรส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้งานระบบวิทยุทรังก์ตามมาตรฐาน TETRA ในปี พ.ศ. 2554 แผนก TETRA ถูกขายให้กับ บริษัท ไฮเทรา คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด[20]

สำนักงานของไฮเทรา ในประเทศเยอรมนี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Hytera - About Hytera". Hytera.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
  2. "Canada police suspends contract with China-linked company". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-12-09.
  3. "Professional Digital Trunking System Industry Association". Pdt.org.cn. 2010-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
  4. John Manthorpe (5 January 2019). Claws of the Panda. Cormorant Books. p. 217. ISBN 978-1-77086-539-6.
  5. Thornberry, Mac (2018-08-13). "Text - H.R.5515 - 115th Congress (2017-2018) : John S. McCain National Defense Authorization Act for Fiscal Year 2019". www.congress.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
  6. Xu Klein, Jodi (2019-08-08). "US agencies banned from doing business with Huawei and other Chinese firms". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
  7. Swanson, Ana; Mozur, Paul (2019-10-07). "U.S. Blacklists 28 Chinese Entities Over Abuses in Xinjiang". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  8. "US ban on Chinese police radio equipment supplier may help Motorola". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-18. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  9. "Hytera America Files for Chapter 11 Bankruptcy". RadioResource Media Group (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-07. สืบค้นเมื่อ 2020-05-29.
  10. 10.0 10.1 "Hytera sues Motorola for alleged two-way radio monopolisation". globalcompetitionreview.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
  11. Shepardson, David (2021-03-13). "Five Chinese companies pose threat to U.S. national security: FCC". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
  12. Bartz, Diane; Alper, Alexandra (2022-11-25). "U.S. bans Huawei, ZTE equipment sales citing national security risk". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
  13. "Motorola Gets $346M Asset Freeze Against Hytera In UK". Law360 (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  14. "Misappropriators Beware: Motorola Court Embraces Extraterritorial Application Of The Defend Trade Secrets Act". The National Law Review (ภาษาอังกฤษ). March 10, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  15. "Motorola wins US$765 million from Chinese rival over theft of trade secrets". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  16. Lynch, Sarah N. (2022-02-07). "U.S. charges China's Hytera with conspiring with ex-Motorola staff to steal technology". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
  17. Vanderford, Richard (2022-04-28). "U.S. Court Names Hytera Employees Charged in Alleged Motorola Trade-Secret Theft". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
  18. "Chinese walkie-talkie maker Hytera to appeal against US global sales ban". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-10. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  19. "Hytera Global Sales Ban Stayed By US Appeals Court". IPVM (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-17. สืบค้นเมื่อ 2024-04-19.
  20. 20.0 20.1 "Rohde & Schwarz TETRA division take over". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-13.
  21. Rohde & Schwarz#Product timeline

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]