ข้ามไปเนื้อหา

ไมเตรยี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไมเตรยึ (สันสกฤต: मैत्रेयी; maitreyī; "ผู้เปี่ยมปัญญา"[1]) เป็นนักปรัชญาฮินดูผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างยุคพระเวทตอนปลายในอินเดียโบราณ ปรากฏชื่อของไมเตรยีใน พฤหทารัณยกอุปนิษัท[2] ว่าเป็นหนึ่งในสองภรรยาของยัญนวัลกยา เข้าใจว่าเธอมีชีวิตอยู่ในช่วง 800 ปีก่อนคิสต์กาล ในขณะที่ในมหากาพย์ มหาภารตะ และ คฤหยสูตร ระบุว่าไมเตรยีเป็นนักปรัชญาอัทไวตะซึ่งเป็นพรหมจารีย์ นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อเธอในวรรณกรรมสันสกฤตว่าเป็น พรหมวทินี ในปัจจุบันเธอได้รับการยอมรับเป็นสัญลักษณ์ของสตรีที่มีปัญญามาก

ใน พฤหทารัณยกอุปนิษัท ระบุว่าไมเตรยีเป็นภรรยาผู้ทรงภูมิของยัญนวัลกยา ส่วนภรรยาอีกคนคือ กัตยยานี (Katyayani) เป็นแม่บ้าน[3] ใน ฤคเวท มีบทสวดราวสิบบทที่เกี่ยวข้องกับไมเตรยี[4] ใน พฤหทารัณยกอุปนิษัท มีบทสนทนาตอนหนึ่งระหว่างเธอกับสามีเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องอาตมัน ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ บทสนทนาไมเตรยี-ยัญวัลกยา (Maitreyi-Yajnavalkya dialogue) ระบุว่าความรักขับเคลื่อนโดยจิตวิญญาณของบุคคล, พูดคุยเรื่องธรรมชาติของอาตมันและพรหมัน ไปจนถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน อันเป็นแนวคิดหลักกลางของปรัชญาสายอัทไวตา[5][6] บทสนทนาดังกล่าวปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนหนึ่ง ชิ้นเก่าแก่ที่สุดอยู่ในตอน 2.4 และ 4.5 ของ พฤหทารัณยกอุปนิษัท หนึ่งในอุปนิษัทที่สำคัญและเก่าแก่ที่สถด อายุราว 700 ปีก่อนคริสตกาล[7][8] นอกจากนี้ยังปรากฏในคัมภีร์ของสายมัธยันทินาศักตะ และ กานวาศักตะ ถึงแม้ทั้งคู่จะมีลักษณะทางวรรณกรรมที่ต่างอย่างสิ้นเชิง แต่ยังคงมีแนวคิดทางปรัชญาเช่นเดิมอยู่[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Staal 2008, p. 3.
  2. Olivelle 2008, p. 140.
  3. Pechilis 2004, pp. 11–15.
  4. Devika Rangachari (2011). Swami Vivekananda: A Man with a Vision. Penguin Books. p. 139. ISBN 978-81-8475-563-3.
  5. Hino 1991, pp. 94–95.
  6. Brereton 2006, pp. 323–345.
  7. Marvelly 2011, p. 43.
  8. Hume 1967, pp. 98–102, 146–48.
  9. Brereton 2006, pp. 323–45.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูอื่น

[แก้]