ข้ามไปเนื้อหา

ไพกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพกา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน-ปัจจุบัน[1]
อเมริกันไพกา (Ochotona princeps)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Lagomorpha
วงศ์: Ochotonidae
Thomas, 1897
สกุล: Ochotona
Link, 1795
ชนิดต้นแบบ
Ochotona minor
Link, 1795
(Lepus dauuricus Pallas, 1776)
ชนิดและสกุลย่อย[2]

ไพกา (อังกฤษ: pika, pica, rock rabbit, coney; วงศ์ Ochotonidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกระต่าย (Lagomorpha) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ochotonidae

ไพกาจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับกระต่าย ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือไปจากกระต่าย (Leporidae)

มีรูปร่างโดยทั่วไปเล็กกว่ากระต่าย แลดูคล้ายหนู ใบหูมีขนาดใหญ่แต่สั้นและเล็กกว่ากระต่าย มีขนอ่อนนุ่มสีเทาหรือสีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว มีหางขนาดเล็กจนมองไม่เห็น มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 นิ้ว หนักประมาณ 6 ออนซ์ มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 25-30 วัน[3]

มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยแต่ละตัวนั้นจะมีหน้าที่ของตัวเอง ในการหาอาหารและแบ่งปันกัน และมีพฤติกรรมที่จะแสดงตัวเพื่อที่จะประกาศอาณาเขต โดยจะหากินในเวลากลางวัน มีหญ้าเป็นอาหารหลัก โดยใช้เวลาทั้งวันในการสะสมอาหาร ไม่มีพฤติกรรมจำศีลในช่วงฤดูหนาว ไพกาตัวเมียในประเทศญี่ปุ่น มีพฤติกรรมจะกลบซ่อนรังที่มีลูกอ่อนไว้ด้วยใบไม้และดิน เสมือนกับว่าฝังทั้งเป็นหรือทำรังอยู่ใต้ดิน เพื่อหลบซ่อนสัตว์นักล่า ลูกไพกาจะสามารถหลบซ่อนอยู่ใต้ดินอย่างนั้นได้นานถึง 2 วัน[4]

มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Ochotona พบทั้งหมดประมาณ 30 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ของโลกแถบเหนือที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น อเมริกาเหนือ, ยุโรปตะวันออก, ยูเรเชีย จนถึงเอเชียตะวันออก เช่น จีน[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Savage, RJG, & Long, MR (1986). Mammal Evolution: an illustrated guide. New York: Facts on File. pp. 128. ISBN 0-8160-1194-X.
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. Kawamichi, Takeo (1984). Macdonald, D.. ed. The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 726–727. ISBN 0-87196-871-1.
  4. Japan, "Mutant Planet", สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 26 มกราคม 2556
  5. พิก้า

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]