ไซบีเรียนฮัสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไซบีเรียน ฮัสกี)
ไซบีเรียนฮัสกี
ไซบีเรียนฮัสกีเพศผู้สีขาว-ดำ
ชื่อ
ชื่ออื่นChukcha, Chuksha, Keshia
ชื่อเล่นไซบี, ฮัสกี
ถิ่นกำเนิดพันธุ์
ถิ่นกำเนิดรัสเซีย รัสเซีย (ไซบีเรีย)
มาตรฐานพันธุ์
น้ำหนักเพศผู้ 45-60 ปอนด์ (20½-27 กิโลกรัม) เพศเมีย 35-50 ปอนด์
ส่วนสูงเพศผู้ 21-23½ นิ้ว (53-60 ซ.ม.) เพศเมีย 20-22 นิ้ว
ลักษณะขนขน 2 ชั้น ฟูแน่น
สีขนดำ เทา ทองแดง บนพื้นขาว
จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขใช้งาน
พันธุ์สุนัข

ไซบีเรียนฮัสกี (อังกฤษ: Siberian Husky; รัสเซีย: Сибирский хаски, Sibirskiy haski) เป็นสุนัขขนาดกลาง ขนฟูแน่น จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขใช้งาน มีต้นกำเนิดทางตะวันออกของไซบีเรีย เพาะพันธุ์มาจากสุนัขในตระกูลสปิตซ์ มีลักษณะขน 2 ชั้นฟูแน่น, หางรูปเคียว, หูเป็นรูปสามเหลี่ยมตั้งชัน และลายที่เป็นลักษณะเฉพาะ

ไซบีเรียนฮัสกีเป็นสุนัขที่แข็งแรง คล่องแคล่ว เต็มไปด้วยพลัง และยืดหยุ่น เป็นคุณสมบัติที่สืบทอดจากบรรพบุรุษที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่หนาวเย็นอย่างรุนแรงของไซบีเรีย และจากการเพาะพันธุ์ของชาวชุกชี (Chukchi) ที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย สุนัขถูกนำเข้ามาในอะแลสกา ระหว่างช่วงตื่นทองที่เมืองโนม และแพร่เข้าสู่สหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาในฐานะสุนัขลากเลื่อน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นสุนัขเลี้ยงตามบ้านในภายหลังอย่างรวดเร็ว

ประวัติ[แก้]

สุนัขทุกสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาพันธุ์ขึ้นมีบรรพบุรุษเดียวกันนั่นคือสุนัขป่าโบราณ(วงศ์ Canidae)[1] ไซบีเรียนฮัสกี, ซามอย, และอะแลสกันแมละมิวต์นั้นสืบสายพันธุ์โดยตรงจากสุนัขลากเลื่อน[2] จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ช่วยยืนยันว่ามันเป็นหนึ่งในสุนัขที่มีการเพาะเลี้ยงมาแต่โบราณ[3] คำว่า "ฮัสกี (husky)" ได้มาจากชื่อที่ใช้เรียกชาวอินนูอิต (Inuit) ว่า "ฮัสกีส์ (huskies)" โดยคณะสำรวจคนขาว (Caucasian) คณะแรก ๆ ที่มาถึงแผ่นดินของพวกเขา ส่วนคำว่า "ไซบีเรียน (Siberian)" ได้มาจากไซบีเรียนั่นเองเนื่องจากความคิดที่ว่าสุนัขลากเลื่อนนี้ถูกใช้ในการข้ามสะพานแผ่นดินของช่องแคบเบริงที่เป็นทางเข้าสู่หรือออกจากรัฐอะแลสกา[2] ซึ่งทฤษฎีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่ผู้ที่ทำการศึกษาค้นคว้า[4] สุนัขที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขเอซคิโมสามารถพบได้ตลอดซีกโลกด้านเหนือจากไซบีเรียถึงประเทศแคนาดา, รัฐอะแลสกา, กรีนแลนด์, แลบราดอร์ (Labrador) และเกาะแบฟฟิน (Baffin Island)[2]

ด้วยความช่วยเหลือของไซบีเรียนฮัสกี ประชาชนของชนเผ่าต่าง ๆ ไม่เพียงแค่รอดตายเท่านั้นในการออกสำรวจดินแดนที่ไม่มีรู้จัก พลเรือเองรอเบิร์ต เพียรี (Robert Peary) แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาก็ได้รับความช่วยเหลือจากสุนัขสายพันธุ์นี้ระหว่างคณะสำรวจของเขาออกสำรวจขั้วโลกเหนือ บทบาทของไซบีเรียนฮัสกีในกระทำหน้าที่นี้ไม่สามารถเป็นที่หยั่งรู้ได้[2]

สุนัขจากแม่น้ำอะนาดืยร์ (Anadyr River) และพื้นที่รอบ ๆ ถูกนำเข้ามาในรัฐอะแลสกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908 (และเป็นเวลา 2 ทศวรรษ)ในช่วงตื่นทองเพื่อใช้เป็นสุนัขลากเลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน All-Alaska Sweepstakes (AAS) หรือการแข่งสุนัขลากเลื่อนทางไกลซึ่งเป็นระยะทาง 408 ไมล์ (657 กม.) จากเมืองโนม (Nome) ถึงเมืองแคนเดิล (Candle) ไปและกลับ "เล็กกว่า เร็วกว่า และอดทนมากกว่า ในการบรรทุกน้ำหนักราว 100 - 120 ปอนด์ (45 - 54 กิโลกรัม)" มันเป็นส่วนสำคัญใกล้ชิดของผู้เข้าแข่งขันยาวโนมที่มีชื่อเสียง ลีออนฮาร์ด เซปพารา (Leonhard Seppala) ที่เคยเป็นผู้เพาะเลี้ยงไซบีเรียนฮัสกีมาก่อนที่จะเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909 ถึงช่วง ค.ศ. 1920[2]

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925 กันเนอร์ คาเซ็น (Gunnar Kaasen) เป็นผู้นำเซรุ่มไปถึงเมืองโนมเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1925 เพื่อรักษาโรคคอตีบ กันเนอร์ได้ออกจากเมืองเนแนนา (Nenana) ไปสู่เมืองโนมเป็นระยะทางมากกว่า 600 ไมล์ ด้วยความพยายามของผู้เดินทางและความช่วยเหลือของสุนัขลากเลื่อน การแข่งขัน Iditarod Trail Sled Dog Race (การแข่งสุนัขลากเลื่อนสู่เมื่องอิดิตทารอต) ที่จัดขึ้นก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการขนส่งเซรุ่มนี้เอง และเหตุการณ์นี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันในปี ค.ศ. 1995 ที่ชื่อ "บอลโต" (Balto) ตามชื่อของสุนัขนำทีมของกันเนอร์ และเพื่อเป็นเกียรติแก่สุนัขนำทีมบอลโต มีการสร้างรูปหล่อเหมือนที่ทำจากทองแดง ตั้งอยู่ในเซ็นทรัลพาร์กในรัฐนิวยอร์ก มีคำจารึกดังนี้

อุทิศแก่จิตวิญญาณที่ทรหดของสุนัขลากเลื่อนที่นำเชื้อต้านพิษบนทางยากลำบากเต็มไปด้วยน้ำแข็ง 600 ไมล์, ข้ามลำน้ำที่แข็งตัว, ฝ่าพายุหิมะของขั้วโลกเหนือจากเมื่องนีนนานาสู่เมืองนอมน์ที่รอความช่วยเหลือให้พ้นจากโรคร้ายในฤดูหนาวปี ค.ศ. 1925 อดทน--ซื่อสัตย์--มีไหวพริบ[2]

ในปี ค.ศ. 1930 ไซบีเรียนฮัสกีตัวสุดท้ายถูกนำออกจากรัฐบาลโซเวียตใกล้กับพรมแดนของไซบีเรียเพื่อการแลกเปลี่ยนกับภายนอก ปีเดียวกันมีการจดทะเบียนรับรองสายพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกีโดยสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัขแห่งสหรัฐอเมริกาเป็น 9 ปีหลังจากสายพันธุ์นี้ถูกจดทะเบียนในประเทศแคนนาดา ณ วันนี้ไซบีเรียนฮัสกีที่จดทะเบียนในอเมริกาเหนือเป็นลูกหลานส่วนใหญ่ของไซบีเรียนฮัสกีที่ถูกนำเข้ามาในปี ค.ศ. 1930 และสุนัขของลีออนฮาร์ด เซปพารา เซปพาราเจ้าของคอกสุนัขในนีนนานาก่อนที่จะย้ายไปอยู่นิวอิงแลนด์ อาร์เทอร์ วอลเดน (Arthur Walden) เจ้าของคอกสุนัขชินุก (Chinook) แห่งวอนาแลนซิต (Wonalancet) รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ผู้มีไซบีเรียนฮัสกีในคอกที่โดดเด่น สุนัขตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคอกของเขามาจากอะแลสกาโดยตรงและมาจากคอกของเซพพารา[2]

ก่อนที่จะมีชื่อเสียง ในปี ค.ศ. 1933 ว่าที่พลเรือเอกริชาร์ด อี. เบิร์ด (Richard E. Byrd) แห่งกองทัพเรือได้ซื้อสุนัขไซบีเรียนฮัสกีราว ๆ 50 ตัวด้วยตัวเขาเอง หลายตัวถูกรวบรวมและฝึกจากคอกชินุกในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ เพื่อใช้ในคณะสำรวจของเบอร์ดที่เขาหวังจะเดินทางราว 16,000 ไมล์ไปตามชายฝั่งของทวีปแอนตาร์กติกา ที่เรียกว่าปฏิบัติการกระโดดสูง (Operation Highjump) ประวัติการเดินทางนี้เองที่พิสูจน์ให้เห็นคุณค่าของไซบีเรียนฮัสกีเพราะขนาดที่พอเหมาะและความเร็วที่ดีเยี่ยม[2] กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ใช้ไซบีเรียนฮัสกีในการค้นหาและช่วยเหลือในขั้วโลกเหนือของคำสั่งขนส่งทางอากาศระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[5]

ลักษณะทั่วไป[แก้]

ไซบีเรียนฮัสกีเพศเมียสีแดงอ่อน

ไซบีเรียนฮัสกีมีรูปร่างลักษณะภายนอกคล้ายกับอลาสกัน มาลามิวท์เช่นเดียวกับสายพันธุ์อื่น ๆ ที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขวงศ์สปิตซ์เช่นซามอย ไซบีเรียนฮัสกีมีขนหนาแน่นกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่น มีสีและรูปแบบขนที่หลากหลาย โดยปกติมีสีขาวที่เท้า ขา ท้อง รอบตาหรือเป็นหน้ากากที่หน้า และที่ปลายหาง ทั่วไปมีสีดำ-ขาว เทา-ขาว ทองแดง-ขาว และขาวปลอด และยังมีแบบที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะ เช่น สีอ่อน แต้มจุด แว่นตา ฯลฯ บางครั้งก็มีลักษณะคล้ายหมาป่าเกิดขึ้นเพราะเป็นหมากลุ่มสปิตซ์ม มีความใกล้ชิดกับหมาป่าหรือสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดเลย คิดว่าเกิดจากการเพาะพันธุ์ที่ไซบีเรียแล้ว

ไซบีเรียนฮัสกี "ตา 2 สี" "จมูกหิมะ"(สีแดง)

ตา[แก้]

สีตาของไซบีเรียนฮัสกีที่เป็นที่ยอมรับมีสีฟ้าหรือน้ำตาลเข้ม, เขียว, น้ำตาลอ่อน, เหลือง/อำพัน, "แก้วตาหลายสี" หรือตาเฮเซล (Hazel) เป็นจุดบกพร่องร้ายแรงที่แสดงวงสีต่างกันในแก้วตา รวมถึงตาข้างนึงสีน้ำตาลอีกข้างสีฟ้า (complete heterochromia) หรือตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างมีสี "แบ่งส่วน" น้ำตาลครึ่งฟ้าครึ่งนึง (partial heterochromia) นี่คือสีตาทั้งหมดที่ถูกพิจารณายอมรับโดยสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา ตาต้องเป็นรูปอัลมอนด์ เว้นระยะห่างกันปานกลาง วางตัวเฉียงเล็กน้อย[6]

หูและหาง[แก้]

หูเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนสมบูรณ์ ขนาดกลาง และตั้งชัน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการพัฒนาพันธุ์โดยสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข เช่นสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (สหรัฐอเมริกา) ที่มีรูปหูที่เรียกว่าหูผึ่ง (prick ears) หางเป็นพู่เหมือนหางหมาจิ้งจอกรูปเคียวโค้งเหนือหลังและลากหางไปด้านหลังเมื่อเคลื่อนไหว ไซบีเรียนฮัสกีส่วนมากมีสีขาวตรงปลายหาง หางต้องไม่โค้งจนแตะหลังเหมือนสปิตซ์ สีออกแกมขาว

ขน[แก้]

ขนของไซบีเรียนฮัสกีมี 2 ชั้น ขนชั้นในที่หนาแน่นและขนชั้นนอกที่ยาวกว่า ขนชั้นนอกยาวตรงและบางส่วนเหยียดเรียบไม่ชี้ชันตั้งตรงจากลำตัว ที่สามารถปกป้องมันจากความรุนแรงของฤดูหนาวขั้วโลกเหนือได้ (−50 °C to −60 °C[7]) แต่ขนที่หนานั้นทำให้ระบายความร้อนได้ยากในฤดูร้อน ส่วนขนยาวแบบที่เรียกว่า "ฮัสกีขนแกะ" (wooly huskies) นั้นไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่มีสิทธิ์ลงแข่งในสนามประกวด ดูสีขนเพิ่มเติม

จมูก[แก้]

จมูกของไซบีเรียนฮัสกีมีสีดำในสีเทาในสุนัขสีแทนและสีดำ สีเลือดหมูในสุนัขสีทองแดง และอาจจะมีสีเนื้อในสุนัขสีขาว ไซบีเรียนฮัสกีบางตัวมีจมูกที่เรียกว่า "จมูกหิมะ" เป็นสภาวะที่เรียกว่าผิวด่าง (hypopigmentation) ในสัตว์ และสุนัขที่มี "จมูกหิมะ"

ขนาด[แก้]

ในการเพาะพันธุ์ ไซบีเรียนฮัสกีมีมาตรฐานดังนี้ เพศผู้สูง 21 - 23.5 นิ้ว (53.5 - 60 ซ.ม.) หนัก 45 - 60 ปอนด์ (20.5 - 28 กิโลกรัม) เพศเมียมีขนาดเล็กกว่า สูง 20 - 22 นิ้ว (50.5 - 56 ซ.ม.) หนัก 35 - 50 ปอนด์ (15.5 - 23 กิโลกรัม)[6]

อารมณ์[แก้]

ไซบีเรียนฮัสกีที่มีตาสีฟ้าน้ำแข็ง

ไซบีเรียนฮัสกีก็เหมือนสุนัขใช้งานทั่ว ๆ ไปที่มีพลังงานสูงต้องการการออกกำลังมาก มันควรได้รับการปฏิบัติแบบเพื่อนเดินทางและสุนัขลากเลื่อนไม่ใช่สุนัขอารักขา การรวมกันของปัจจัยนี้ส่งผลให้ไซบีเรียนฮัสกีมีจิตประสาทที่สุภาพอ่อนโยนและซื่อสัตย์[8]

ชาวอินูอิต (Inuit) พัฒนาสายพันธุ์นี้ขึ้นมาเพื่อใช้ลากเลื่อนหนักเป็นระยะทางไกล ๆ และสามารถเอาตัวรอดได้การภูมิประเทศที่หนาวเย็นแบบทุนดรา (tundra) และช่วยในการล่าสัตว์[2]

ไซบีเรียนฮัสกีเพศเมีย อายุ 6 เดือน กำลังเล่นในหิมะ

พฤติกรรม[แก้]

พฤติกรรมของไซบีเรียนฮัสกีถูกมองว่าเป็นตัวแทนบรรพบุรุษของสุนัขบ้าน นั่นก็คือหมาป่า มันแสดงออกในรูปแบบพฤติกรรมของเทือกเถาเหล่ากอแบบกว้าง ๆ [9] บ่อยครั้งที่ชอบหอนมากกว่าเห่า[10] การแสดงออกที่มากเกินไปเกิดจากการถูกขับด้วยสัญชาตญาณในการล่า บุคลิกลักษณะของสุนัขที่เกิดจากการเพาะพันธุ์บ่อยครั้งที่เห็นได้ชัดในพฤติกรรมการละเล่นหรือไล่จับสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมที่สุนัขแสดงออกมาคล้ายกับสุนัขล่าเนื้อมากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง มันชอบวิ่งเป็นพิเศษ หรือหลาย ๆ คนมักจะชอบมองว่าเป็นสุนัขปัญญาอ่อน น่าจะเป็นเพราะจากประวัติการเพาะพันธุ์ในอเมริกาเหนือ ในการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งควรใช้เวลา 15 นาที/วันดีที่สุด และทำทุกวัน แต่บางครั้ง ไซบีเรียนฮัสกีจะเป็นสุนัขที่คนชอบเห็นว่าเป็นสุนัขที่ขี้เล่นติ๊งต๊องหรือชอบวิ่งเล่นมากกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ๆ บางตัวก็อาจจะไม่เชื่องเลยก็เป็นได้ แม้กระทั่งการฝึกให้จำทางกลับบ้านก็จะเป็นเรื่องยากที่สุดสำหรับไซบีเรียนฮัสกีได้เช่นกัน[11]

สุขภาพ[แก้]

ไซบีเรียนฮัสนั้นมีช่วงชีวิตอยู่ระหว่าง 12 ถึง 15 ปี โดยตัวเมียนั้นจะมีความสูงประมาณ 50-56 เซนติเมตร ส่วนตัวผู้นั้นสูงประมาณ 54-60 เซนติเมตร โดยทางด้านของน้ำหนักนั้นตัวเมียจะหนักประมาณ 16-23 กิโลกรัม ส่วนตัวผู้จะหนักประมาณ 20-27 กิโลกรัม ข้อบกพร่องในตาแต่กำเนิดที่พบจากการเพาะพันธุ์ เช่น ต้อกระจกบาง, กระจกตาเจริญผิดเพี้ยน, และจอตาฝ่อรุกลาม การเจริญผิดปรกติของเอวก็พบได้บ่อยเช่นกันในการเพาะเลี้ยงเหมือนกับสุนัขขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ทั่วไป ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการเลี้ยงที่ประเทศไทยเพราะขนที่หนาเกินไปทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีในสภาพอากาศที่ประเทศไทย[12]

ไซบีเรียนฮัสกีที่เป็นสุนัขลากเลื่อนอาจมีโรคอื่น ๆ อีก เช่น โรคกระเพาะ[13] หลอดลมอักเสบ[14] และแผลในกระเพาะ[15]

การแข่งขันสุนัขลากเลื่อน[แก้]

บางครั้งไซบีเรียนฮัสกียังถูกใช้เป็นสุนัขลากเลื่อนในการแข่งขันลากเลื่อนแต่บางครั้งการมีการใช้สายพันธุ์อะแลสกันฮัสกี (Alaskan Husky) ที่เป็นที่นิยมมากกว่าแทนหรือสุนัขล่าสัตว์ที่เกิดจากการพัฒนาพันธุ์เป็นพิเศษโดยเลือกจากความเร็วและขนที่หนาน้อยกว่า ระวางบรรทุกของไซบีเรียนฮัสกีที่ถูกพัฒนาพันธุ์อย่างเลือกเฟ้นสามารถดึงน้ำหนักระดับกลางเป็นระยะทางไกลๆด้วยฝีเท้าระดับปานกลางและโดยทั่วไปไม่สามารถทำความเร็วมากกว่านี้ติดต่อกันได้ ไซบีเรียนฮัสกีก็ยังเป็นที่นิยมใช้ในการแข่งขัน มันวิ่งได้เร็วกว่าสายพันธุ์สุนัขลากเลื่อนแท้ ๆ บางสายพันธุ์เช่นซามอย ช้ากว่าแต่แข็งแรงกว่าอะแลสกันแมละมิวต์ ปัจจุบันทิศทางการพัฒนาพันธุ์แบ่งออกเป็นไซบีเรียนฮัสกีสำหรับ "การแข่งขัน" และสำหรับ "การประกวด"

ในสหราชอาณาจักร การแข่งขันไซบีเรียนฮัสกีมีขึ้นบนเส้นทางในป่าต้องใช้สามล้อที่ออกแบบพิเศษแทนเลื่อน นิยมแข่งในฤดูหนาว

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tomarctus (extinct mammal genus) - Britannica Online Encyclopedia
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Pisano, Beverly (1995). Siberian Huskies. TFH Publication. ISBN 0793810523.
  3. http://www.nytimes.com/2004/05/21/science/21dog.html?ex=1400472000&en=6b49c839cde80d81&ei=5007&partner=USERLAND The New York Times: Collie or Pug? Study Finds the Genetic Code. Retrieved March 30, 2007
  4. Americas Settled by Two Groups of Early Humans, Study Says
  5. "American Kennel Club - Siberian Husky History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-10.
  6. 6.0 6.1 "AKC Meet The Breeds: Siberian Husky". AKC.org. สืบค้นเมื่อ 21 August 2011.
  7. "Siberian Husky Information". Dogbreedinfo.com. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.
  8. Siberian husky - Encyclopedia.com
  9. Obsessive-Compulsive Disorders: Diagnosis, Etiology, Treatment Eric Hollander, Dan J. Stein ISBN 0-8247-9856-2
  10. Siberian husky (breed of dog) - Britannica Online Encyclopedia
  11. Shaping the Wolf Within Your Dog Nathan B. Childs ISBN 1-4120-1213-9
  12. "Your Siberian Husky: Its Hips and Its Eyes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-18. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  13. "Journal of Veterinary Internal Medicine - Journal Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  14. "Racing Alaskan Sled Dogs as a Model of "Ski Asthma" - Davis et al. 166 (6): 878 - American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  15. "Journal of Veterinary Internal Medicine - Journal Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.