ไครซิสฟอร์ซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไครซิสฟอร์ซ
ผู้พัฒนาโคนามิ
ผู้จัดจำหน่ายโคนามิ
ออกแบบมาซากิ คิชิโมโตะ
ฟูมิมาซะ คาตากามิ
แต่งเพลงเค็นอิจิ มัตสึบาระ
ยาซูฮิโกะ มันโนะ
จุง ชูมะ
เครื่องเล่นแฟมิคอม
วางจำหน่าย
แนวเกมยิงเลื่อนฉากแนวตั้ง
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ไครซิสฟอร์ซ (ญี่ปุ่น: クライシスフォース; อังกฤษ: Crisis Force) เป็นเกมยิงแบบเลื่อนฉากแนวตั้งที่วางจำหน่ายโดยโคนามิในประเทศญี่ปุ่นสำหรับระบบแฟมิคอม[1] ผู้เล่นจะควบคุมเครื่องบินขับไล่หนึ่งในสองลำที่ขับโดยอาซูกะ และมายะ สองพี่น้องฝาแฝดที่สืบเชื้อสายมาจากอารยธรรมโบราณของทวีปมู ผู้ซึ่งต้องช่วยโลกให้รอดพ้นจากสายพันธุ์ของสัตว์ประหลาดเทียมจากอารยธรรมที่สาบสูญแห่งแอตแลนติส คุณสมบัติหลักของระบบเกมคือความสามารถของผู้เล่นที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบยานรบจากหนึ่งในสามรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งแต่ละแบบจะมีวิธีการโจมตีที่เป็นเอกลักษณ์

รูปแบบการเล่น[แก้]

ไครซิสฟอร์ซเป็นเกมยิงแบบเลื่อนฉากมุมมองเหนือศีรษะ[2] เกมดังกล่าวอนุญาตให้ผู้เล่นสองคนเล่นแบบร่วมมือกัน และมียานที่แตกต่างกันให้เลือกสี่ลำ[3]

ไครซิสฟอร์ซมีระบบเพิ่มพลังที่สร้างขึ้นจากยานของผู้เล่น ซึ่งสามารถแปลงร่างเป็นหนึ่งในสามรูปทรงได้[4]

จุดเด่นของไครซิสฟอร์ซ คือผู้เล่นสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือยานรบของพวกเขา และเปลี่ยนวิธีการโจมตี ยานออราวิง (Aurawing) มีสามรูปแบบหลัก "ชนิดโจมตีด้านหน้า" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการยิงศัตรูในด้านหน้าของยานรบ, "ชนิดโจมตีด้านข้าง" ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การโจมตีด้านข้างทั้งซ้ายและขวาได้ในเวลาเดียวกัน และ"ชนิดโจมตีด้านหลัง" ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การยิงจากด้านหลัง แต่ละโหมดจะมี "เพาเวอร์-อัป ปกติ" (ลูกกลมสีฟ้า) และ "เพาเวอร์-อัป พิเศษ" (ลูกกลมสีแดง) ที่สามารถหาได้จากการกำจัดศัตรูหรือทำลายภาชนะบรรจุไอเทม เพาเวอร์-อัป "ปกติ" และ"พิเศษ" จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการยิงของแต่ละโหมดและสามารถอัปเกรดได้ถึงสามระดับ ระดับของเพาเวอร์-อัป จะไม่ดำเนินไปตามรูปแบบที่แตกต่างกันของยานรบ และเมื่อผู้เล่นได้รับความเสียหาย ระดับของเพาเวอร์-อัป ก็จะลดลงมาหนึ่งเลเวลโดยการยิงแต่ละครั้งจนกว่าจะถูกทำลาย (ซึ่งผู้เล่นจะสูญเสียยานรบไปหนึ่งลำ)

นอกจากนี้ยังมี "ภาครวมกัน" ที่สามารถเก็บสะสมซึ่งทำให้ยานรบของผู้เล่นเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ หรือรวมกับยานรบของผู้เล่นอื่นโดยขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้เล่น เมื่อชิ้นส่วนของการรวมกันได้รับการเก็บสะสม ยานรบของผู้เล่น (พร้อมด้วยของผู้เล่นอื่น) จะเปลี่ยนสู่รูปแบบรวมกันในช่วงเวลาที่จำกัด ผู้เล่นที่มีการเก็บรวบรวมชิ้นส่วนมากที่สุด จะควบคุมการยิงหลักของยานรบ ในขณะที่ผู้เล่นอีกคน (ที่มีการเก็บรวบรวมได้น้อยกว่า) จะควบคุมในส่วนของอาวุธรอง เมื่อเวลาหมด หรือยานรบได้รับความเสียหายมากพอสมควร ยานรบของผู้เล่นจะกลับสู่สภาวะปกติ (พร้อมกับผู้เล่นอีกคน)

เพาเวอร์-อัป อื่น ๆ ในภาชนะบรรจุไอเทม ประกอบด้วยระเบิดสำหรับยานรบของผู้เล่น (ที่สามารถบรรจุได้ถึงเก้าหน่วย) ตลอดจนสปีดอัปและสปีดดาวน์ที่สามารถปรับความเร็วของผู้เล่นได้ถึงห้าระดับ ระเบิดที่ยิงออกไปโดยผู้เล่นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับชนิดของยานรบ

ความยากของเกม, จำนวนชีวิต และการควบคุม สามารถปรับแต่งได้บนหน้าจอปรับแต่งค่าของเกม รวมทั้งมีจุดเด่นในการทดสอบฟังเสียงได้เป็นอย่างดี

โครงเรื่อง[แก้]

อาซูกะ และมายะ เป็นนักเรียนมัธยมทั่วไปที่อาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว แม้ว่าพ่อแม่ของพวกเขาจะเป็นนักโบราณคดี แต่พวกเขาก็ใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนทั่วไป

ทว่าในวันหนึ่ง ได้เกิดความฝันเหมือนลางไม่ดีขึ้นเหมือนกันทั้งสองพี่น้อง ที่ซึ่งกำลังจะกลายเป็นจริงขึ้นในอีกไม่นาน โดยมอนสเตอร์ทั้งเจ็ดที่จมลงไปในดินแดนแอตแลนติสและอารยธรรมโบราณที่ถูกทำลายลงไปเกือบทั้งหมดเมื่อ 10,000 ปีก่อนได้ฟื้นขึ้นมาในทันใด

อาวุธที่ทันสมัยไม่สามารถใช้ได้กับอาวุธที่แปลกประหลาดแห่งแอตแลนติส โลกทั้งโลกถูกปกคลุมในเปลวเพลิงแห่งสงคราม และแงื้อมมือแห่งความชั่วร้ายของมันได้คืบคลานสู่ประเทศญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว พ่อแม่ของอะซุกะและมายะที่ถูกจับในการโจมตี ได้เปิดเผยความจริงกับลูก ๆ ในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังจะสิ้นใจว่าพวกเขาต่างไม่ใช่พ่อแม่ที่แท้จริงของอาซูกะและมายะ โดยในระหว่างการเดินทางเพื่อการสำรวจทางโบราณคดีบนเกาะร้างเมื่อ 17 ปีที่ผ่านมา ทั้งคู่ได้พบกับยานรบออราวิง ซึ่งเป็นเครื่องบินรบที่สร้างขึ้นโดยอารยธรรมโบราณแห่งอาณาจักรมู ที่ภายในยานรบมีระบบฟูมฟักชีวิตของทารกทั้งสอง แท้ที่จริงแล้ว อะซุกะและมายะเป็นเด็กจากกองทหารผู้กล้าแห่งอาณาจักรมู ที่ซึ่งได้ต่อสู้กับพวกแอตแลนติสเมื่อช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา

ทั้งอาซูกะและมายะ ต่างถูกปลุกให้ตื่นขึ้นสู่ชะตากรรมที่แท้จริงของตน พวกเขาเป็นแหล่งความหวังเดียวของมวลหมู่มนุษยชาติในการเผชิญกับกองทัพแห่งแอตแลนติส สองพี่น้องคู่นี้จึงได้ขึ้นยานรบออราวิง ที่แต่ละลำล้วนมีพลังที่ลึกลับ โดยพวกเขาได้บินเข้าสู่ทวีปที่ปกคลุมไปด้วยหมู่เมฆาอันมืดมิด[5]

การพัฒนาและการตลาด[แก้]

ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับเกมประเภทยิง และไครซิสฟอร์ซได้รับการเปิดตัวในช่วงเวลาเดียวกันกับผลงานอย่างกันเฮด, เซเรเซ็นชิสปริกแกน, โซลเจอร์เบลด และแอ็กซ์เลย์[6]

ไครซิสฟอร์ซเป็นเกมต้นฉบับจากบริษัทโคนามิ และไม่ใช่พอร์ตของเกมอาร์เคด นักแต่งเพลงสามคนสำหรับเกมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโคนามิคูเกฮะคลับ และยังเคยทำงานเพลงให้กับเกมอาร์เคดอย่างไทรกอน[7]

ในฐานะเกมยิงสุดท้ายของโคนามิสำหรับแฟมิคอม เกมดังกล่าวได้รับการพัฒนาเพื่อผลักดันข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ให้ถึงขีดจำกัด และใช้ชิปวีอาร์ซี4 แบบกำหนดเองของโคนามิ (ก่อนหน้านี้ใช้สำหรับกราดิอุส II เวอร์ชันแฟมิคอม) เพื่อให้สามารถเลื่อนสี่ทิศทางและบอสขนาดใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปิดตัวในช่วงปลายของอายุขัยของระบบแฟมิคอม โดยเป็นหนึ่งปีหลังจากซูเปอร์แฟมิคอม ไครซิสฟอร์ซจึงไม่ได้รับความนิยมอย่างที่โคนามิคาดหวังไว้[8]

ทั้งนี้ เกมดังกล่าวมีคุณสมบัติการเลื่อนแบบพารัลแลกซ์[4]

เกมดังกล่าววางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ในประเทศญี่ปุ่นสำหรับเครื่องแฟมิคอม[3] โดยที่เกมนี้ไม่เคยเปิดตัวนอกประเทศญี่ปุ่น[9]

นอกจากนี้ มีเพลงประกอบเกมโดยเค็นอิจิ มัตสึบาระ อดีตสมาชิกของโคนามิคูเกฮะคลับ ที่ทำงานในคาสเซิลวาเนีย II: ไซมอนส์เควสต์ และคอนทราฟอร์ซ ซึ่งซาวด์แทร็กนี้ได้รวมอยู่ในชุดซีดีของโคนามิชูตติงคอลเลกชันที่วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2011[10]

การตอบรับและสิ่งสืบทอด[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
แฟมิซือ22/40[3]

ไครซิสฟอร์ซได้รับการตอบรับที่ดีเป็นส่วนใหญ่จากนักวิจารณ์[11][12] การตอบสนองของสาธารณชนก็เป็นไปในเชิงบวกเช่นกัน ผู้อ่านนิตยสารแฟมิลีคอมพิวเตอร์แมกกาซีนชาวญี่ปุ่นโหวตให้เกมนี้ 20.3 คะแนนเต็ม 30 โดยแสดงว่ามีการติดตามความนิยมในฐานผู้ใช้แฟมิคอม[13] ส่วนนักวิจารณ์ทั้งสี่คนของนิตยสารแฟมิซือมองว่าเกมนี้ "น่าทึ่ง" แต่ติเตียนการกระพริบเมื่อมีวัตถุบนหน้าจอและส่วนควบคุมมากเกินไป[3] ขณะที่จอห์น สเชปาเนียก จากนิตยสารรีโทรเกมเมอร์ชื่นชมการใช้การเลื่อนแบบพารัลแลกซ์, ภาพที่สวยงาม, เพลงประกอบ, ระบบอาวุธ และความรวดเร็ว[4] ในทำนองเดียวกัน นีล ซัลเวมีนี จากชมัปส์! (ซึ่งเป็นเน็ตเวิร์กคลาสสิกของเกมสปาย) ได้เสริมรูปแบบการเล่นที่ดุเดือด, การเล่นแบบร่วมมือกัน, กราฟิก และเพลงประกอบที่รวดเร็ว[14]

นอกจากนี้ ออราวิงได้ปรากฏตัวในฐานะเครื่องบินที่สามารถเล่นได้ในซีรีส์แอร์ฟอร์ซเดลตาของโคนามิ

อ้างอิง[แก้]

  1. "クライシスフォース [ファミコン] / ファミ通.com". www.famitsu.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2018-07-24.
  2. "International Outlook". Electronic Gaming Monthly. No. 25. August 1991. p. 42.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "NEW GAMES CROSS REVIEW: クライシスフォース". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 142. ASCII Corporation. September 6, 1991. p. 38.
  4. 4.0 4.1 4.2 Szczepaniak, John (May 12, 2005). "Feature: Hardware | The Family Computer - Crisis Force". Retro Gamer. No. 16. Live Publishing. p. 34.
  5. Translated from the game's manual.
  6. Rignall, Jaz (2015-10-12). "Teslapunk Xbox One Review: A Fun Trip to Bullet Hell". USgamer (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-29. สืบค้นเมื่อ 2019-05-29.
  7. "クライシスフォース SOUNDTRACKS (FC版) | プロジェクトEGG | EGG MUSIC". www.amusement-center.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-25. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.
  8. From the liner notes of Konami Shooting Collection album
  9. House. "Crisis Force | Retro Gamer". www.retrogamer.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-05-29.
  10. "Konami Shooting Collection at Konamistyle" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-11. สืบค้นเมื่อ 2016-08-17.
  11. "Crisis Force". Retro Gamer. Imagine Publishing. July 18, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-13. สืบค้นเมื่อ 2019-05-29.
  12. "クライシスフォース". Shooting Gameside (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 4. Micro Magazine. 3 February 2012. pp. 110–111. ISBN 978-4896373844.
  13. 超絶 大技林 '98年春版: ファミコン - クライシスフォース. PlayStation Magazine (Special) (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 42. Tokuma Shoten Intermedia. April 15, 1998. p. 44. ASIN B00J16900U.
  14. Salvemini, Neil (2007). "Xenocide Files: Crisis Force - Konami". SHMUPS!. GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-17. สืบค้นเมื่อ 2019-05-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]