ไข่มุกมันสัมปะหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไข่มุกมันสัมปะหลัง
ชานมไข่มุก เครื่องดื่มที่มักใช้ไข่มุกมันสัมปะหลัง

ไข่มุกมันสัมปะหลัง เป็นลูกทรงกลมใสทานได้ที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง[1] เดิมใช้แทนสาคูในอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2][3] มักเรียกว่า ไข่มุก เมื่อนำมาใส่ในชานมไข่มุก ไข่มุกโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร สามารถเปลี่ยนสีและเนื้อสัมผัสได้โดยการเติมส่วนผสมต่างๆ เช่น น้ำ น้ำตาล หรือน้ำหวานชนิดอื่น ไข่มุกมีหลายรูปแบบ เช่น แบบสีดำ แบบใส่รสชาติต่างๆ แบบป๊อป แบบมินิ และแบบใส[4][5] โดยทั่วไปแล้วไข่มุกมันสัมปะหลังมักจะถูกแช่ในน้ำเชื่อมเพื่อเพิ่มไข่มุกให้หวานและเหนียวหนึบ[6] ในชามักใส่ไข่มุกเพื่อเพิ่มเนื้อสัมผัส ส่วนรสชาตินั้นมาจากตัวชาเอง[7]

การผลิต[แก้]

ไข่มุกมันสัมปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอบ ซึ่งได้มาจากการนำแป้งมันสำปะหลังสดมาผ่านความร้อนในกระทะตื้น

การเตรียมแป้ง[แก้]

การผลิตไข่มุกมันสัมปะหลัง เริ่มจากนำแป้งมันสำปะหลัง ผสมกับน้ำเดือดจนได้เนื้อที่นวดได้ จากนั้นจึงตักปั้นเป็นก้อนกลม หนึ่งในวิธีที่ทำให้แป้งเป็นรูปทรงกลมเรียกว่า gangsor โดยใส่แป้งลงในถุงผ้าทรงกระบอกยาวแล้วเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา แรงสะเทือนจะทำให้แป้งจับตัวแน่นและกลมขึ้น ทำกระบวนการนี้ซ้ำจนได้ขนาดที่ต้องการ แล้วคัดแยกตามขนาด

อีกหนึ่งวิธีคือ ใส่แป้งลงในกระทะทรงกระบอกแบบเปิด ที่หมุนเป็นเวลาและความเร็วที่กำหนดไว้เพื่อให้แป้งจับตัวเป็นไข่มุก[8]

การทำให้เป็นวุ้น[แก้]

ในแบบดั้งเดิม อุณหภูมิระหว่างการให้ความร้อนจะค่อนข้างต่ำ เพื่อให้แป้งสุกเพียงส่วนผิวเท่านั้น กระบวนการเหล่านี้เรียกว่า "การทำให้เป็นวุ้น" (gelatinization) หนึ่งในกระบวนการคือการนำเม็ดไข่มุกใส่บนถาดแบนแล้วอบในเตาอิฐ ปิดฝาด้วยผ้าชุบน้ำมันหรือไขมันเพื่อป้องกันการไหม้ ในขณะที่ให้ความร้อน ไข่มุกมันสัมปะหลังต้องถูกคนตลอดเวลาด้วยส้อมขนาดใหญ่เพื่อป้องกันการไหม้ หากใช้การอบมือนี้ในการผลิตไข่มุกไข่มุกที่ได้อาจมีรูปทรงไม่สวย สีไม่ดี หรือด้อยในคุณภาพอื่น ๆ

เพื่อให้ได้ไข่มุกคุณภาพ ไข่มุกจะถูกโรยบนจานจนเป็นชั้นหนา แล้วจายจะค่อยๆ ชักผ่านอุโมงค์ไอน้ำ วิธีนี้ช่วยให้เกิดการทำให้เป็นวุ้น ขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

การการอบแห้ง[แก้]

เนื่องจากปริมาณความชื้นไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในระหว่างการทำให้เป็นวุ้น จึงต้องมีการอบแห้งอีกครั้งเพื่อให้ได้ระดับความชื้นที่ต้องการซึ่งคือ 12% การอบแห้งสามารถทำได้ในห้องอบแห้ง และการแห้งต้องเริ่มต้นด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำให้เป็นวุ้นเพิ่มเติม[8]

การแช่แข็ง[แก้]

นอกเหนือจากการอบแห้งแล้ว การแช่แข็งยังสามารถใช้รักษาไข่มุกก่อนการบริโภคได้ หลังจากการเจลลาติไนเซชัน ไข่มุกจะถูกแช่ในน้ำแข็งเพื่อลดความหนืดและเพิ่มความหนึบ หากต้องการเก็บรักษา ไข่มุกควรแช่แข็งโดยใช้เครื่องแช่แข็งอย่างรวดเร็ว เช่น air-blast freezer หรือผ่านกระบวน Individual quick freezing เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่มุกติดกัน[9] หนึ่งในสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือการคืนตัวของแป้ง (retrogradation) ซึ่งเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดที่อุณหภูมิใกล้ 0 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ไข่มุกเหนียว ดังนั้นจึงควรลดเวลาที่ไข่มุกอยู่ในช่วงอุณหภูมินี้ให้น้อยที่สุดโดยการแช่แข็งไข่มุกให้อยู่ในอุณหภูมิต่ำอย่างรวดเร็ว[10]

การเตรียมเพื่อบริโภค[แก้]

ห่อไข่มุกมันสัมปะหลังที่วางขาย

ในการบริโภค ผู้บริโภคหรือร้านอาหารสามารถหาซื้อแป้งมันสำปะหลังสดไว้ปั้นไข่มุกเอง หรือเลือกซื้อแบบสุกแล้วบางส่วน ซึ่งผ่านการทำให้เป็นวุ้นมาแล้ว แบบทำเองมักใช้เวลาต้มนานประมาณ 45 นาที ในขณะที่สุกบางส่วนแล้วจะใช้เวลา 30 นาที เพื่อให้ได้ความเหนียวหนึบที่เหมาะสม ไข่มุกจะต้องผ่านการแช่เย็นอีกประมาณ 20 นาที วิธีการตรวจสอบว่าไข่มุกพร้อมเสิร์ฟหรือไม่ คือการหยิบไข่มุกเม็ดหนึ่งมาเคี้ยว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสุกทั่วถึงข้างในแล้ว

นอกจากระยะเวลาการปรุงที่สั้นกว่า หนึ่งในข้อดีของไข่มุกที่สุกบางส่วนแล้วคือการอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่า โดยมีอายุการเก็บรักษา 8 เดือน เมื่อเทียบกับไข่มุกดิบที่อยู่ที่ 6 เดือน ไข่มุกที่ปรุงสุกแล้วควรเก็บรักษาไว้เพียง 4-6 ชั่วโมง เมื่อเสิร์ฟไข่มุกในน้ำ ไข่มุกจะแข็งขึ้นในตอนแรกก่อนที่จะค่อยๆ อ่อนลงและจับตัวรวมกันเป็นก้อน การจับตัวเป็นก้อนนี้สามารถป้องกันได้โดยการคนและเติมน้ำตาล[11]

หลังจากปรุงไข่มุกมันสำปะหลังแล้ว ควรกรองผ่านตะแกรและล้างน้ำเพื่อขจัดแป้งส่วนเกิน หากต้องการใช้ในอาหารหวาน เช่น ในชานมไข่มุก หรือเป็นเครื่องโรยของหวาน ไข่มุกจะถูกแช่ในน้ำเชื่อมเป็นเวลาสิบนาที น้ำตาลจะช่วยป้องกันการจับตัวเป็นก้อนเช่นกัน[12] วิธีเดียวที่จะพิจารณาคุณภาพของไข่มุกมันสำปะหลัง คือจากเนื้อสัมผัส ไข่มุกที่นุ่มและเละเกินไปจะติดกันเป็นก้อน ในขณะที่ไข่มุกที่แข็งเกินไปจะเคี้ยวยาก ไข่มุกที่ดีควรมีความสมดุลมระหว่างความเหนียวหนึบและความแน่น

อ้างอิง[แก้]

  1. Thomson, Julie R. (2015-07-13). "So What Exactly Is Tapioca, Anyway?". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.
  2. Hutton, Wendy (2012). Southeast Asia's Best Recipes: From Bangkok to Bali. Tuttle Publishing. ISBN 9781462905683.
  3. Alford, Jeffrey; Duguid, Naomi (2000). Hot Sour Salty Sweet: A Culinary Journey Through Southeast Asia. Artisan Books. p. 323. ISBN 9781579655648.
  4. Silva, Taylor (2018-04-11). "The 5 Most Common Types of Boba, Explained for the Bubble Tea Newbie". Spoon University (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.
  5. "What are Boba Pearls? A Quick Guide to 4 Tasty Types!". Your Coffee & Tea Essentials. August 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.
  6. Hughes, Becky (30 June 2017). "DIY Bubble Tea Is About to Be Your New Summer Go-To". Epicurious (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.
  7. Shah, Khushbu (2021-05-27). "So What Is Bubble Tea, Exactly? Everything You Need to Know about the Drink and Boba Balls". Mic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.
  8. 8.0 8.1 "Cassava processing - Cassava flour and starch, Baked tapioca products, Cassava products for animal feeding, Cassava starch factories". www.fao.org.
  9. US application 20140335244, Shih-Ting Chen & Chin-Hua Chiang, "Frozen instant tapioca pearls and method for manufacturing the same", published 2014-11-13, assigned to Fong Chen Frozen Food Co., Ltd. 
  10. US grant 6455091, Patrick Po-Yung Ling & Janie Huoy-Jen Lai, "Time saving method for preparing tapioca starch balls and the product thereof", published 2002-09-24 
  11. "The Nature of Tapioca Pearls". www.bruceandclark.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2017. สืบค้นเมื่อ August 11, 2017.
  12. "HOW TO COOK TAPIOCA PEARLS -- PROFESSIONAL GUIDE". www.restaurantsupplydrop.com.