ใบสอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงใบสอจากหนังสือ “พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมของฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 16”[1] โดยเออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค

ใบสอ (อังกฤษ: Merlon) เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงบัง (parapet) ของเชิงเทิน ที่บางครั้งสลับกับ “ช่องกำแพง” (Embrasure)

คำว่า “Merlon” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาฝรั่งเศสที่มาจากภาษาอิตาลี “merlone” ที่อาจจะย่อมาจากคำว่า “mergola” ที่แผลงมาจากภาษาละติน “mergae” ที่แปลว่าคราด หรือแผลงมาจาก “moerulus” ที่มาจากคำว่า “murus” หรือ “merulus” ที่แปลว่ากำแพง อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากภาษาละติน “merulus” (กล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 10) ที่ย่อเป็น “merle” ที่ทำให้เห็นภาพพจน์ของนกดำเกาะบนกำแพง

ใบสอเป็นส่วนสำคัญของเชิงเทินและใช้กันมาเป็นเวลานาน ตัวอย่างที่พบคือในสิ่งก่อสร้างจากยุคกลางที่ใช้ประโยชน์ทั้งทางการป้องกันทางยุทธการและในการตกแต่ง ลักษณะของใบสอถ้าเป็นสี่เหลี่ยมธรรมดาก็เรียกว่า “ใบสอเกล์พ” ถ้ามีที่คลุมตอนบนเป็นปมรูปตัววีของอิตาลีเรียกว่า “ใบสอเกล์พและกิเบลลิเน” หรือ “ใบสอสวอลโลว์เทล” ทรงอื่นที่ใช้ก็มีใบสอสามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยม, โล่, ดอกไม้, กลม (มุสลิมและแอฟริกา), ปิรามิด หรืออื่นๆ ขึ้นอยู่กับการใช้สอยหรือการตกแต่งที่ต้องการ

ในสมัยโรมันใบสอมีความกว้างพอที่จะให้ทหารคนหนึ่งใช้บังตัวได้ เมื่อมีการวิวัฒนาการทางอาวุธมากขึ้นในยุคกลางรวมทั้งหน้าไม้และอาวุธปืน ใบสอก็ได้รับการขยายให้กว้างขึ้นและบางครั้งก็จะมีช่องธนู (arrow-loop) ที่มีขนาดและรูปร่างหลายแบบที่อาจจะกลมหรือเป็นกางเขนขึ้นอยู่กับอาวุธที่ใช้ ใบสอสมัยต่อมาสามารถใช้ในการยิงด้วยปืนได้ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ใบสอก็อาจจะมีหน้าต่างไม้ที่เปิดปิดได้เพื่อใช้ในการป้องกันเมื่อปิด

หลังจากใบสอหมดความสำคัญลงเพราะการใช้ปืนใหญ่การใช้ใบสอจึงเป็นการใช้สำหรับในการตกแต่งเท่านั้น และกลับมาเป็นที่นิยมใช้กันอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค

อ้างอิง[แก้]

  • Balestracci, D. (1989). "I materiali da costruzione nel castello medievale". Archeologia Medievale (XVI): 227–242.
  • Luisi, R. (1996). Scudi di pietra, I castelli e l’arte della guerra tra Medioevo e Rinascimento. Bari.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ใบสอ

ระเบียงภาพ[แก้]