ข้ามไปเนื้อหา

โอมาร์ คัยยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอมาร์ คัยยาม
عمر خیام
เกิด18 พฤษภาคม[1] ค.ศ.1048[2]
นิชาปูร์, โคราซาน (ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน)
เสียชีวิต4 ธันวาคม[1] ค.ศ.1131 (83 ปี)[2]
นิชาปูร์, โคราซาน (ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน)
สัญชาติเปอร์เซีย
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
มีอิทธิพลต่อตูซี, อัล-คอซีนี, นิซามี อะรูซีแห่งซามัรคันด์, จอห์น วาลลิส, ซาคเชรี, เอ็ดเวิร์ด ฟิตซ์เจอรัลด์
ได้รับอิทธิพลจากอิบน์ ซีนา, มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์, ยุคลิด, อะพอลโลเนียสแห่งเปอร์เก

โอมาร์ คัยยาม (18 พฤษภาคม ค.ศ. 1048 - 4 ธันวาคม ค.ศ. 1131; เปอร์เซีย عمر خیام) เกิดในเมืองเนชาปูร เมืองหลวงของเขตการปกครองคุรอซาน ในเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่าน)

โอมาร์ คัยยาม เป็นกวี นักปราชญ์ นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และแพทย์ชาวเปอร์เซียที่ได้รับอิทธิพลจากอะบู เรฮัน อัลบิรูนีและอวิเซนนา เขาเป็นผู้ประพันธ์รุไบยาตอันลือชื่อ โดยผลงานของเขาเป็นต้นแบบของผลงานของอัตตาร์แห่งเนชาปูร คัยยามมีชื่อในภาษาอาหรับว่า "ฆิยาษุดดีน อะบุลฟาติฮฺ อุมัร บิน อิบรอฮีม อัลคอยยาม" (غياث الدين ابو الفتح عمر بن ابراهيم خيام نيشابوري) คำว่า "คัยยาม" (خیام) เป็นคำยืมจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า "ผู้สร้างกระโจมพัก"

มะลิกชาห์ ญะลาลุดดีน กษัตริย์ราชวงศ์สัลจูกได้มีรับสั่งให้คัยยามมาที่หอดูดาวแห่งใหม่ในเมืองเรย์ (Ray) ในราวปี 1074 เพื่อปฏิรูปแก้ไขปฏิทินสุริยคติที่ใช้ในอิหร่านเป็นเวลานาน คัยยามได้นำเสนอปฏิทินที่มีความถูกต้องแม่นยำและตั้งชื่อว่า อัตตารีค อัลญะลาลีย์ (เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ญะลาลุดดีน) ซึ่งมีความผิดพลาดเพียงวันเดียวในรอบ 3770 ปี และมีความถูกต้องเหนือกว่าปฏิทินกริกอเรียนที่มีความผิดพลาด 1 วันใน 3330 ปี

โอมาร์ คัยยาม และบทกวีรุไบยาต

[แก้]
โอมาร์ คัยยาม

หนังสือที่โอมาร์ คัยยามแต่ง

[แก้]

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • ได้รับเกียรติตั้งเป็นชื่อหลุมบนดวงจันทร์ ในปี 1970
  • ได้รับเกียรติตั้งเป็นชื่อดาวเคราะห์น้อย 3095 Omar Khayyam ซึ่งค้นพบโดย Lyudmila Zhuravlyova ในปี 1980[3]
  • ได้รับการกย่องจากองค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโกให้เป็น“บุคคลสำคัญของโลก”ในปี 2000 พร้อมกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและปรีดี พนมยงค์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ britannica
  2. 2.0 2.1 Seyyed Hossein Nasr and Mehdi Aminrazavi. An Anthology of Philosophy in Persia, Vol. 1: From Zoroaster to 'Umar Khayyam, I.B. Tauris in association with The Institute of Ismaili Studies, 2007.
  3. [http://books.google.com/books?hl=ru&q=3094 +Chukokkala Dictionary of Minor Planet Names - p.255]
  4. [1]