อะบู เรฮัน อัลบิรูนี
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
อะบู เรฮัน อัลบิรูนี | |
---|---|
![]() อัลบิรูนีบนแสตมป์ของสหภาพโซเวียต | |
เกิด | ค.ศ.973 คัตธ์ หรือคิวา,[1] ควาเรซม์, ราชวงศ์อัฟริกริด (ปัจจุบันคือประเทศอุซเบกิสถาน) |
เสียชีวิต | ค.ศ.1050 (77 ปี) จังหวัดกัซนี, อาณาจักรคอซนาวิด (ปัจจุบันคือประเทศอัฟกานิสถาน) |
มีอิทธิพลต่อ | อัล-ซิจซี, อิบน์ ซีนา, โอมาร์ คัยยาม, อัล-คอซีนี, ซาการียา อัล-กอซวีนี, หอดดูดาวมารัคฮา, วิทยาศาสตร์อิสลาม, ปรัชญาอิสลาม |
ได้รับอิทธิพลจาก | อริสโตเติล, ทอเลมี, อารยภัฏ, พรหมคุปต์, อบูฮะนีฟะฮ์ ดีนาวารี, ราเซส, อัล-ซิจซี, อิหร่านชาฮ์รี, อิบน์ ซีนา, อบูนัสร์ มันซูร์, อัล-บัตตานี, อัล-ตามีมี |
อะบู อัลเรฮัน มุฮัมมัด อิบน์ อะหมัด อัลบิรูนี (อังกฤษ: Abū al-Rayhān Muhammad ibn Ahmad al-Bīrūnī; 4/5 กันยายน ค.ศ. 973 – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1048) หรือ อัลบิรูนี เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวมุสลิมเปอร์เซีย เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ในหลายแขนงเช่น ฟิสิกส์ ประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ อัลบิรูนีใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในจักรวรรดิกาสนาวิยะห์ (อยู่ในเอเชียกลางปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 1017 อัลบิรูนีเดินทางไปอินเดียและแต่งตำรา Tarikh Al-Hind (ประวัติศาสตร์ของอินเดีย) ซึ่งทำให้เขาได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งภารตวิทยา"[2] นอกจากนี้ อัลบิรูนียังมีผลงานด้านยีออเดซีอีกด้วย[3]
ต่อมาชื่อของอัลบิรูนีได้รับเกียรติให้นำไปตั้งเป็นชื่อแอ่งดวงจันทร์[4] ในปี ค.ศ. 2012 กูเกิล ดูเดิลได้ฉลองวันเกิดครบรอบ 1,039 ปีให้แก่เขา[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Patrologia orientalis. Robarts – University of Toronto. Paris Firmin-Didot. 1907. p. 291.CS1 maint: others (link)
- ↑ BĪRŪNĪ, ABŪ RAYḤĀN viii. Indology
- ↑ Abu Arrayhan Muhammad ibn Ahmad al-Biruni
- ↑ Al-Biruni biography - MacTutor History of Mathematics
- ↑ Al-Biruni's Birthday
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อะบู เรฮัน อัลบิรูนี