โว้กไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โว้กไทยแลนด์
พิชญ์สินี ตันวิบูลย์ บนปกนิตยสารโว้กไทยแลนด์ฉบับแรก
พิชญ์สินี ตันวิบูลย์ บนปกนิตยสารโว้กไทยแลนด์ฉบับแรก
บรรณาธิการ กุลวิทย์ เลาสุขศรี
ประเภท แฟชั่น
นิตยสารราย เดือน
ผู้พิมพ์ เซเรนดิพิตีมีเดีย
วันจำหน่ายฉบับแรก 25 มกราคม 2556 (2556-01-25)
ประเทศ ไทย
ภาษา ไทย
เว็บไซต์ http://www.vogue.co.th/
เลขมาตรฐานสากลสำหรับนิตยสาร (ISSN) 22868674

โว้กไทยแลนด์ (อังกฤษ: Vogue Thailand) เป็นนิตยสารแฟชั่นและครรลองชีวิตของไทย เป็นฉบับนานาชาติลำดับที่ 21 ของโลก ฉบับปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการ คือ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 โดยมีนางแบบคนแรก คือ พิชญ์สินี ตันวิบูลย์ และได้นักออกแบบเครื่องประดับบนศีรษะอย่างฟิลิป เทรซีย์ ร่วมงานในฉบับนี้[1]

ประวัติ[แก้]

เจมส์ วูลเฮาส์ ประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบริษัทคอนด์แนสต์อินเตอร์เนชันแนล[2] ได้จัดก่อตั้งโว้กฉบับประเทศไทยในชื่อโว้กไทยแลนด์ ในปี พ.ศ. 2556 ภายใต้บริษัทเซเรนดิพิตีมีเดียจำกัด[3] โดยมีหัวหน้าบรรณาธิการบริหารคนแรกคือกุลวิทย์ เลาสุขศรี และสิริ อุดมฤทธิรุจ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทั้งสองคนมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการพิมพ์แฟชั่นนิตยสารแอลไทยแลนด์มาก่อน โดยปกฉบับแรกคือนางแบบพิชญ์สินี ตันวิบูลย์ สวมหมวกลูกไม้สีทองทรงคล้ายชฎาฝีมือการออกแบบของฟิลิป เทรซี อีกทั้งยังมีปกพิเศษครั้งแรก มอบสำหรับแขกผู้มาร่วมงานเปิดตัวกับปกคือ น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ ซึ่งสวมสวมชฎาเช่นเดียวกัน[4]

คำวิจารณ์[แก้]

เมื่อโว้กไทยแลนด์ ฉบับแรกวางจำหน่ายมีกระแสวิจารณ์ในหลายด้าน โยนินาห์ อลิซา จากเดอะแฟชั่นสปอต กล่าวว่า "เป็นเรื่องดีที่ได้เห็นพวกเขายอมรับวัฒนธรรมไทยเล็กน้อยในฉบับแรก และปกสวยในโทนสีทองที่ดูยอดเยี่ยมจริง ๆ เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นฉบับใหม่ พวกเขายังมีโอกาสอีกมากมายที่ต้องปรับปรุง ซึ่งฉันแน่ใจว่าพวกเขาจะปรับปรุงในฉบับหน้า แต่สำหรับปกแรก ฉันคิดว่ามันค่อนข้างน่ารัก"[5] โนแลน อองให้ความเห็นว่า "จริง ๆ แล้ว การกำกับศิลป์ของปกมีความโดดเด่นแต่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของโว้ก มันเหมือนนิตยสารมาดามฟิกาโรมากกว่า แต่ฉันเชื่อว่าเนื้อหาและผู้มีส่วนร่วมภายในจะเป็นไปตามมาตรฐานของคอนด์แนสต์"[6] รอยเตอร์ส ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการปรากฏตัวของนิตยสารโว้กในประเทศไทยทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับช่องว่างรายได้ของประเทศ และความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างวิถีชีวิตของชาวเมืองในกรุงเทพฯ จำนวนมากกับร้อยละ 66 ของประชากรที่อาศัยอยู่ในสลัมบริเวณรอบนอกเมือง หรือในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลจากความทันสมัย ​​และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ[7]

ในฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ปกโดยนางแบบเนโอมี แคมป์เบลล์ ถูกวิจารณ์ว่าปรับสีผิวของเธอมากเกินไป[8]

ฉบับพิเศษ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "7 เบื้องหลังคัมภีร์แฟชั่น VOGUE Thailand", brandbuffet, สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  2. "THAILAND'S GETS IN 'VOGUE'", The Nation, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  3. "SERENDIPITY MEDIA CO., LTD. VOGUE Thailand", VOGUE Thailand, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  4. "เจาะลึกเส้นทาง 4 ปีแรกของโว้กประเทศไทย พร้อมเบื้องหลังบางส่วนที่ผู้อ่านไม่เคยรู้", VOGUE Thailand, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  5. "Take a Look at the Cover of Vogue Thailand’s Debut Issue (Forum Buzz)", thefashionspot, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  6. "Vogue Thailand’s first cover draws mixed reactions", Coconuts Bangkok, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  7. "Thailand in Vogue with launch of local edition", reuters, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  8. "เหตุเกิดจากความขาว : กรณีปกโว้ก ไทยแลนด์ นาโอมิ แคมป์เบล", ประชาไท, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  9. ""เวียร์" หนุ่มคนแรกขึ้นปก Vogue Thailand", เนชั่นทีวี, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  10. "ทรงพระสิริโฉม! พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ ทรงฉายภาพขึ้นปกนิตยสารโว้ก", โพสต์ทูเดย์, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  11. https://www.vogue.co.th/fashion/article/maycover-chrissyteigen "โว้กประเทศไทยฉลองฉบับที่ 100 ด้วยปก Chrissy Teigen"], VOGUE Thailand, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  12. "LISA ขึ้นปกโว้ก 3 อิดิชั่นพร้อมกัน! โปรเจกต์ความร่วมมือกันของโว้กประเทศไทย ฮ่องกง และไต้หวัน", VOGUE Thailand, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566
  13. "ฉลองครบรอบ 10 ปี กับครั้งแรกบนปกโว้กประเทศไทยของ 'แจน-ใบบุญ' นางแบบชาวไทยบนเวทีโลก!", VOGUE Thailand, สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]