โรดานีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Rhodanese-like domain
ข้อมูลจำเพาะ
สัญลักษณ์Rhodanese
PfamPF00581
InterProIPR001763
PROSITEPDOC00322
SCOPe2ora / SUPFAM
OPM superfamily413
OPM protein2mpn
CDDcd00158
Membranome571

โรดานีส (rhodanese) หรือชื่ออื่นคือ โรดาเนส (rhodanase), ไทโอซัลเฟตซัลเฟอร์ทรานสเฟอเรส (thiosulfate sulfurtransferase), ไทโอซัลเฟตไซยาไนด์ทรานส์ซัลฟูเรส (thiosulfate cyanide transsulfurase) และไทโอซัลเฟตไทโอทรานสเฟอเรส (thiosulfate thiotransferase)[1] เป็นเอนไซม์ที่อยู่ในไมโทคอนเดรียซึ่งล้างพิษไซยาไนด์ (CN) โดยเปลี่ยนให้เป็นไทโอไซยาเนต (SCN)[2]

การเกิดปฏิกริยา[แก้]

ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นในสองขั้นตอน ภาพประกอบแสดงการศึกษาโครงสร้างสามมิติด้วยรังสีเอกซ์ของผลึกโรดานีส ในขั้นตอนแรก ไทโอซัลเฟตถูกรีดิวซ์โดยหมู่ไทออลบนซิสเทอีน-247 เพื่อสร้างเพอร์ซัลไฟด์และซัลไฟต์ ในขั้นตอนที่สอง เพอร์ซัลไฟด์จะทำปฏิกิริยากับไซยาไนด์เพื่อผลิตไทโอไซยาเนต และสร้างหมู่ไทออลบนซิสเทอีนขึ้นใหม่[3]

ปฏิกิริยานี้มีความสำคัญต่อการบำบัดการสัมผัสกับไซยาไนด์ เนื่องจากไทโอไซยาเนตที่เกิดขึ้นมีความเป็นพิษประมาณ 1 ใน 200 ของไซยาไนด์[4]: 15938  การใช้สารละลายไทโอซัลเฟตเป็นยาแก้พิษจากไซยาไนด์อยู่บนฐานการกระตุ้นวงจรของเอนไซม์นี้

โรดานีสมีความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการร่วมกับตระกูลโปรตีนขนาดใหญ่รวมถึง

  • โดเมนตัวเร่งปฏิกิริยา Cdc25 ฟอสฟาเตส
  • โดเมนที่ไม่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของ MAPK ฟอสฟาเตส
  • โดเมนที่ไม่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของ MAPK ฟอสฟาเตส ชนิด PTP ของยีสต์
  • โดเมนที่ไม่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของยีสต์ Ubp4, Ubp5, Ubp7
  • โดเมนที่ไม่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Ubp-Y
  • ฮีตช็อกโปรตีนของแมลงหวี่ HSP-67BB
  • โปรตีนฟาจช็อกและโคลช็อกของแบคทีเรียหลายชนิด
  • โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการชราภาพของพืช
  • โดเมนตัวเร่งปฏิกิริยาและไม่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของโรดานีส[5]

โรดานีสมีการทำสำเนาภายใน โดเมนนี้พบเป็นสำเนาเดียวในโปรตีนอื่น ๆ รวมทั้งฟอสฟาเทส และยูบิควิตินซีไฮโดรเลส (Ubiquitin carboxy-terminal hydrolase)[6]

โปรตีนของมนุษย์ที่มีโดเมนนี้[แก้]

CDC25A; CDC25B; CDC25C; DUSP; DUSP1; DUSP10; DUSP16; DUSP2; DUSP4; DUSP5; DUSP6; DUSP7; KAT; MKP7; MOCS3; MPST; TBCK; TSGA14; TST; USP8

การตั้งชื่อ[แก้]

แม้ว่ากฎการตั้งชื่อมาตรฐานสำหรับเอนไซม์ระบุว่าชื่อจะต้องลงท้ายด้วยตัวอักษร "-ase" แต่โรดานีสได้รับการให้คำอธิบายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476[7] ก่อนการก่อตั้งคณะกรรมการเอนไซม์ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2498 ซึ่งชื่อโรดานีสมีการใช้งานอย่างแพร่หลายแล้ว

ไทโอซัลเฟตซัลเฟอร์ทรานสเฟอเรส[แก้]

thiosulfate sulfurtransferase
Identifiers
EC number 2.8.1.1
CAS number 9026-04-4
IntEnz IntEnz view
BRENDA BRENDA entry
ExPASy NiceZyme view
KEGG KEGG entry
MetaCyc metabolic pathway
PRIAM profile
PDB structures
Gene Ontology AmiGO / EGO

ในวิทยาเอนไซม์ ไทโอซัลเฟตซัลเฟอร์ทรานสเฟอเรส (EC 2.8.1.1) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี

ไทโอซัลเฟต + ไซยาไนด์ ซัลไฟต์ + ไทโอไซยาเนต

สารตั้งต้นของเอนไซม์นี้คือ ไทโอซัลเฟต และไซยาไนด์ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ทั้งสองคือ ซัลไฟต์ และไทโอไซยาเนต

การตั้งชื่อ[แก้]

เอนไซม์นี้เป็นตระกูลทรานสเฟอเรส ที่อยู่ในกลุ่มซัลเฟอร์ทรานสเฟอเรส ซึ่งถ่ายโอนกลุ่มที่มีกำมะถัน ชื่อในระบบการตั้งชื่อของเอนไซม์หมู่นี้คือ ไทโอซัลเฟต:ไซยาไนด์ซัลเฟอร์ทรานสเฟอเรส ชื่ออื่นที่ใช้ทั่วไปได้แก่ ไทโอซัลเฟตไซยาไนด์ทรานส์ซัลฟูเรส, ไทโอซัลเฟตไทโอทรานสเฟอเรส, โรดานีส และโรดาเนส

อ้างอิง[แก้]

  1. EC 2.8.1.1, at the International Union of Biochemistry and Molecular Biology
  2. Cipollone R, Ascenzi P, Tomao P, Imperi F, Visca P (2008). "Enzymatic detoxification of cyanide: clues from Pseudomonas aeruginosa Rhodanese". Journal of Molecular Microbiology and Biotechnology. 15 (2–3): 199–211. doi:10.1159/000121331. PMID 18685272. S2CID 25431686.
  3. Cipollone R, Ascenzi P, Tomao P, Imperi F, Visca P (2008). "Enzymatic detoxification of cyanide: clues from Pseudomonas aeruginosa Rhodanese". Journal of Molecular Microbiology and Biotechnology. 15 (2–3): 199–211. doi:10.1159/000121331. PMID 18685272. S2CID 25431686.
  4. Jaszczak E, Polkowska Ż, Narkowicz S, Namieśnik J (July 2017). "Cyanides in the environment-analysis-problems and challenges". Environmental Science and Pollution Research International. 24 (19): 15929–15948. doi:10.1007/s11356-017-9081-7. PMC 5506515. PMID 28512706.
  5. "Thiosulphate sulfurtransferase, conserved site (IPR001307)". EMBL-EBI (ภาษาอังกฤษ). InterPro.
  6. Gliubich F, Gazerro M, Zanotti G, Delbono S, Bombieri G, Berni R (สิงหาคม 1996). "Active site structural features for chemically modified forms of rhodanese". The Journal of Biological Chemistry. 271 (35): 21054–61. doi:10.1074/jbc.271.35.21054. PMID 8702871.
  7. Cipollone R, Ascenzi P, Visca P (February 2007). "Common themes and variations in the rhodanese superfamily". IUBMB Life. 59 (2): 51–9. doi:10.1080/15216540701206859. PMID 17454295.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]