โรงแรมผี (นวนิยาย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงแรมผี (นิยาย))

โรงแรมผี เป็นนวนิยายไทยแนวสยองขวัญ ระทึกขวัญและสืบสวน จากบทประพันธ์ของ อรรถ อรรถจินดา ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นตอน ๆ ในนิตยสารผดุงศิลป์รายสัปดาห์ เมื่อราว พ.ศ. 2506 ต่อมาพิมพ์รวมครั้งแรกและครั้งที่สอง โดยสำนักพิมพ์บรรณคาร ฉบับพิมพ์ครั้งที่สามในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2536 โดยสำนักพิมพ์อักษรกราฟิก นำมาจากฉบับรวมเล่มมาตีพิมพ์ ซึ่งมีความยาวขนาด 2 เล่มจบ ครั้งล่าสุด ฉบับพิมพ์ครั้งที่สี่ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2553 โดยสำนักพิมพ์แสงดาว รูปแบบปกอ่อน[1] เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของ อ.อรรถจินดา

สร้างเป็นภาพยนตร์และละครทีวีหลายครั้งจนกล่าวกันว่า เมื่อพูดถึงนวนิยายแนวผีสางในบรรณพิภพวรรณกรรมของเมืองไทยแล้ว โรงแรมผี ของ อ.อรรถจินดา มักเป็นที่เอ่ยถึงในลำดับต้น ๆ มาโดยตลอด

เรื่องย่อ[แก้]

ณ โรงแรมบางละมุง ชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ริมชายทะเล โรงแรมนี้เปิดดำเนินกิจการแบบครอบครัว มีนายปั้น เป็นเจ้าของและผู้จัดการ มีนายเปลี้ยง น้องชายเป็นรองผู้จัดการ มีนายปริญญา ลูกชายเป็นสมุห์บัญชีและปัทมา ลูกสาวเป็นแคชเชียร์ของโรงแรม...

แล้วในคืนฝนตกหนักคืนหนึ่ง โรงแรมแห่งนี้ก็ได้ต้อนรับแขกผู้มาพักคือ เฉิดโฉมที่หนีจากนายปราโมทย์ สามีเพื่อจะเข้ากรุงเทพฯ แต่ฝนตกหนักก่อน ก็เลยแวะเข้าพักที่โรงแรม ระหว่างนั้นนายปราโมทย์ก็ตามมาทันและขอคืนดี แต่เฉิดโฉมไม่ยอมกลับบ้าน จึงเกิดปากเสียงจะทำร้ายกัน เฉิดโฉมจึงขอร้องให้นายปั้นผู้จัดการโรงแรมช่วยเหลือ ซึ่งทำให้นายปราโมทย์โกรธและพูดขู่จะฆ่าเฉิดโฉมทิ้งแล้วก็กลับไป

คืนนั้นเอง เฉิดโฉมก็ถูกฆ่าตายในห้องพักหมายเลข 1 ซึ่งผู้กองชิงชัย นายตำรวจเจ้าของคดีตรวจพบว่า เธอตายเพราะตกใจจนช็อคและมีร่องรอยของการบีบคอ ไม่มีบาดแผลอื่นใดและยังพบรอยเท้าของคนข้างซ้ายพิการอยู่บนพื้นห้อง จึงสันนิษฐานว่า คนร้ายต้องมาจากภายนอกและสงสัยว่า จะเป็นนายปราโมทย์ที่ปลอมตัวมาฆ่าเฉิดโฉมตามคำขู่

จากนั้น เสี่ยเพ้งและวิไลสาวคู่ขาที่มาพักโรงแรม ก็ถูกฆ่าตายในลักษณะเดียวกันอีกที่ห้องพักหมายเลข 1 ส่วนเงินที่เสี่ยเพ้งพกติดตัวมาเป็นหมื่น ๆ กลับไปอยู่ที่ห้องของนายปั้น ทำให้นายเปลืองคิดว่า พี่ชายของตนเป็นคนฆ่าเสี่ยเพ้งหวังจะเอาเงิน แต่เมื่อพูดคุยกันจนเข้าใจแล้ว ทั้งสองคนจึงตัดสินใจนำเงินของเสี่ยเพ้งทั้งหมดไปทิ้งทะเลเพื่อตัดปัญหา แต่พอรุ่งเช้า เงินทั้งหมดก็ลอยกลับมากระจัดกระจายอยู่บนชายหาดหน้าโรงแรมอีก ผู้กองชิงชัยจึงสรุปว่า คนร้ายฆ่าเสี่ยเพ้งแล้วขโมยเงินหนีลงเรือไป แต่เกิดเรือล่ม

เมื่อเกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ก็ทำให้นายปั้นเริ่มวิตกว่า จะไม่มีใครมาพักที่โรงแรมแห่งนี้ นายปริญญาจึงอาสาจัดงานรื่นเริงงานปาร์ตี้เพื่อให้ดูสนุกสนาน โดยเรียก วิสูตร เพื่อนเก่าที่เป็นนายช่างและ มยุรี คนรักของปริญญาให้มาร่วมงานนี้ด้วย นายปราโมทย์จึงได้ปลอมตัวเข้ามาในงาน แล้วลอบเข้าไปบีบคอปัทมาขณะหลับที่ห้องนอน แต่เสียงร้องของปัทมา ก็ทำให้วิสูตรและคนอื่น ๆ มาช่วยปัทมาไว้ได้ทัน นายปราโมทย์อ้างว่า ที่ทำไปก็เพราะต้องการแก้แค้นทุกคนที่ฆ่าเฉิดโฉมเพื่อหวังชิงทรัพย์ แต่ผู้กองชิงชัยได้บอกความจริงให้รู้ว่า คนอื่นเป็นคนฆ่า เรื่องจึงยุติลง นายปั้นจึงเชิญนายปราโมทย์เข้าพักที่โรงแรมเป็นการตอบแทน แต่ในคืนนั้นนายปราโมทย์ถูกฆ่าตายไปอีกคนหนึ่ง โดยศพนายปราโมทย์ไปอยู่ที่ห้องนายปั้น สร้างความปวดหัวให้แก่ผู้กองชิงชัยเป็นอย่างมาก

คืนต่อมา นายปั้นก็ถูกวิญญาณผีร้ายเข้าสิง แล้วบังคับให้ไปฆ่ามุยรี ระหว่างลงมือบีบคอฆ่า ปริญญาก็มาช่วยไว้ได้ทัน มยุรีเล่าให้ฟังว่า ขณะเกิดเหตุหน้าคนร้ายเหมือนผีมี 2 ใบหน้าสลับกัน หน้าหนึ่งเป็นคนแก่แต่งชุดโบราณ แต่อีกหน้าหนึ่งจะเหมือนนายปั้น ที่สำคัญเวลาเดินจะมีขาข้างซ้ายพิการ แต่เมื่อไปดูนายปั้นที่ห้องพัก ก็เห็นนอนหลับอยู่ตามปกติ ทุกคนจึงกลับไป ครั้นนายปั้นเข้านอนต่อ วิญญาณผีร้ายก็มาเข้าสิงนายปั้นอีก คราวนี้บังคับให้ไปฆ่าคนงานในโรงแรม แต่วิสูตรซึ่งได้ยินเสียงร้องก็ลงมาเห็นพอดี นายปั้นจึงวิ่งหลบหนีไป แต่วิ่งเหมือนคนขาพิการ แล้วก็ขับรถออกจากโรงแรมไป ตำรวจจึงตามไล่ล่า ระหว่างทาง รถนายปั้นเสียหลักพลิกตกเขาถึงแก่ความตาย ศพนายปั้นถูกนำไปเก็บไว้ที่โรงพยาบาล แต่เมื่อลูก ๆ ทราบเรื่อง จะมาขอรับศพ พยาบาลก็บอกให้ฟังว่า ศพนายปั้นได้ลืมตาขึ้น พยาบาลตกใจเป็นล้ม ฟื้นมาอีกทีศพก็หายไปแล้ว

แล้วความจริงก็ปรากฏขึ้นมาว่า การฆาตกรรมต่าง ๆ ในโรงแรมนั้น เกิดจากการกระทำของวิญญาณผีร้ายที่ชื่อ หลวงนฤบาลบุรีรักษ์ ซึ่งมีความอาฆาตเคียดแค้นนายปั้นมาตั้งแต่สมัยที่นายปั้นยังเป็นคนสนิทของเขา เพราะนายปั้นไปแอบพาสารภีเมียน้อยของหลวงนฤบาลฯ หนีไปอยู่กินและมีบุตรด้วยกัน จนกระทั่งหลวงนฤบาลฯ ถึงแก่ความตาย แต่ก่อนตายหลวงนฤบาลฯ ได้ยกตึกหลังหนึ่งให้แก่สารภีเป็นมรดก แล้วต่อมานายปั้นกับสารภี ก็ได้เอาตึกหลังนั้นมาดัดแปลงทำเป็นโรงแรมแห่งนี้

เมื่อทุกคนทราบเรื่องก็กลัว แล้วคืนนั้นวิญญาณของนายปั้นก็ได้มาเข้าฝันปริญญาบอกวิธีกำจัดวิญญาณผีร้าย โดยให้ปริญญาไปตามหาพระพุทธรูปแก้วที่เคยอยู่ประจำในโรงแรมกลับคืนมา วิญญาณผีร้ายก็จะเข้ามาในโรงแรมไม่ได้ แต่ปริญญาก็ตามหาพระพุทธรูปไม่พบเพราะมีการให้ต่อ ๆ กันไป ระหว่างนั้น วิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็ยังคงอาละวาด ทำให้คนงานของวิสูตรที่มาก่อสร้างโรงแรมตายไปและยังสะกดจิตให้มยุรีไปผูกคอตาย หลอกให้ปัทมาไปถ้ำค้างคาวเพื่อจะฆ่าทิ้ง แต่ทั้งสองคนก็รอดมาได้เพราะปริญญากับวิสูตรช่วยไว้ได้ทัน

วิญญาณหลวงนฤบาลฯ จึงเข้าสิงนายเปลื้องแล้วบังคับให้ไปฆ่าป้าชื่น ป้าของมยุรีที่มาพักโรงแรม เมื่อฆ่าเสร็จก็หนีไป ทุกคนบอกกับผู้กองชิงชัยว่า นายเปลื้องเป็นคนฆ่า แต่เชื่อว่าเป็นเพราะผีร้ายเข้าสิงให้ทำ ขอให้ตำรวจอย่าเพิ่งทำอันตรายนายเปลื้อง แต่เมื่อนายเปลื้องกลับมาเพื่อมอบตัว วิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็เข้าสิงอีก แล้วบังคับให้นายเปลื้องต่อสู้ ยิงกับตำรวจจนถูกตำรวจยิงตาย

และเมื่อยังไม่ได้พระพุทธรูปแก้วกลับคืน วิสูตรกับปริญญาจึงไปปรึกษาหมอผีและได้รับคำแนะนำว่า ให้ไปจัดการขุดศพของหลวงนฤบาลฯ ที่ยังไม่เผาเอาขึ้นมาสะกดวิญญาณไว้ก่อน แต่เมื่อไปถึงป่าช้าก็พบว่า ในหลุมศพที่ขุดขึ้นมานั้น ไม่มีศพหลวงนฤบาลฯ แต่กลายเป็นศพนายปั้นที่หายไป แล้ววิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็อาละวาดจนทั้งสองคนต้องรีบกลับโรงแรม เมื่อไปถึงก็พบว่า ปัทมากับมยุรีหายไป ระหว่างนั้น นายเพิ่มคนเก่าแก่ของหลวงนฤบาลฯ ก็ส่งจดหมายมาบอกว่า แท้จริงแล้ว ศพหลวงนฤบาลฯ ถูกย้ายมาเก็บไว้ที่ห้องใต้ดินของโรงแรมแห่งนี้เพื่อหวังจะแก้แค้นครอบครัวนี้ ทุกคนจึงคิดว่า ปัทมากับมยุรีจะต้องถูกขังอยู่ในห้องใต้ดินของโรงแรม จึงช่วยกันค้นหาทางเข้าห้องใต้ดิน เมื่อค้นพบ ก็เป็นเวลาที่วิญญาณหลวงนฤบาลฯ กำลังอาละวาดเล่นงานสองสาวอยู่ พอเห็นว่า ทุกคนมากันพร้อมหน้า วิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็แสดงอิทธิฤทธิ์ให้ตึกเกิดสั่นสะเทือนจะถล่มลงมาเพื่อฆ่าทุกคน ระหว่างนั้น ไอ้น้อย บ๋อยโรงแรมก็เอาห่อผ้าใส่ของชิ้นหนึ่งลงมาให้ บอกว่า มีคนฝากมาให้ เมื่อวิสูตรคลี่ผ้าออกดู ก็พบว่า ข้างในเป็นพระพุทธรูปแก้วที่หายไปนั่นเอง ทันใดนั้นเมื่อปรากฏพระพุทธรูปเต็มองค์ ตึกก็หยุดสั่นสะเทือน ลมพายุก็หยุดพัด แล้วจึงค่อย ๆ ปรากฏร่างของหลวงนฤบาลฯ ออกมา แต่เมื่อวิญญาณร้ายเห็นพระพุทธรูปแก้ว ก็ตกใจ วิสูตรเป็นผู้ถือพระพุทธรูปแก้ว โดยให้ทุกคนช่วยกันตั้งจิตอธิษฐาน...แล้วอำนาจแห่งธรรมะก็บันดาลให้เกิดเป็นแสงสีประกายรุ้ง สาดส่องไปกระทบยังร่างหลวงนฤบาลฯ เกิดเป็นไฟลุกท่วมตัวหลวงนฤบาลฯ ส่งเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวด แล้วร่างค่อย ๆ มอดไหม้กลายเป็นผงธุลีสิ้นฤทธิ์ไป เหตุร้ายในโรงแรมแห่งนี้ก็สงบลง

การสร้าง[แก้]

โรงแรมผี เป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์มาหลายครั้งแล้ว ได้แก่

รายชื่อนักแสดง[แก้]

ปี พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2553
รูปแบบ ภาพยนตร์ชุด 16 มม.
ช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5)
ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 9 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 5
ผู้สร้าง รัชฟิล์มทีวี จิรบันเทิงฟิล์ม อัครมีเดีย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ
ผู้กำกับ - แสนยากร
สมวงศ์ ทิมบุญธรรม
มานิตย์ สัมมาบัติ อนุกูล จาโรทก ฉัตรชัย สุรสิทธิ์
หลวงนฤบาลบุรีรักษ์ ประวิตร สุจริตจันทร์[4]
เกียรติศักดิ์ เก่งทุกทาง
ฑัต เอกฑัต สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ วินัย ไกรบุตร
ปราบ ยุทธพิชัย (วัยหนุ่ม)
ชาคริต แย้มนาม
วิสูตร วัฒนา กีชานนท์ นาท ภูวนัย ยุทธพิชัย ชาญเลขา ภาณุ สุวรรณโณ ชยธร เศรษฐจินดา
ภานุกร วงศ์บุญมาก (วัยเด็ก)
ปัทมา/สารภี สุดาดวง ขันธสุวรรณ ปิยะมาศ โมนยะกุล ชลิตา เฟื่องอารมย์ นภามาศ จันทรมณี ชีรณัฐ ยูสานนท์
สุพิชชา พันธยอด (วัยเด็ก)
ปริญญา ทม วิศวชาติ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ณัฐนันท์ คุณวัฒน์ พลังธรรม กล่อมทองสุข รัฐศาสตร์ กรสูต
มยุรี เอื้อมเดือน อัษฎา มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช องค์อร อัครเศรณี รัตนภิมล ศรีทองสุข อภัสนันท์ วรภิรมย์รักษ์
พันตำรวจโท ชิงชัย ชนะ ศรีอุบล เคิร์ก โรฮ์ลิ่ง ญาณี ตราโมท อรรถพร ธีมากร
มาริสา เมย์ เฟื่องอารมย์ นภัสศรณ์ มั่นวงษ์ศิริกุล
นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ (วัยเด็ก)
นายปั้น มานพ อัศวเทพ พอเจตน์ แก่นเพชร รอน บรรจงสร้าง อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์
นายเปลื้อง ครรชิต ขวัญประชา ปิยะ ตระกูลราษฎร์ สถาพร นาควิลัย ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์
ป้าเจิม เมตตา รุ่งรัตน์ เมตตา รุ่งรัตน์ ปนัดดา โกมารทัต
ปราโมทย์ แพน บอระเพ็ด สุริยัน อริยวงศ์โสภณ โอลิเวอร์ บีเวอร์
เฉิดโฉม เมตตา รุ่งรัตน์ โอปอ ศาสตร์สมบูรณ์ นุจศรีกานต์ คมชัย ปานวาด เหมมณี
ป้าชื่น/คุณนายชื่น ชูศรี มีสมมนต์ มารศรี ณ บางช้าง นฤมล เปี่ยมพงษ์สานต์ ภัสสร บุญยเกียรติ
ไอ้น้อย บู๊ วิบูลย์นันท์ ศรีบาน ซุปเปอร์โจ๊ก ณรงค์ศักดิ์ ประสงค์มณีนิล จุ๊บจิ๊บ เชิญยิ้ม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]