โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
Pipatrasbamrung School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.พ.ร.
P.P.R
ประเภทโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอ
คำขวัญเรียนเด่น เล่นดี วจีโสภิต จริตงาม
สถาปนาพ.ศ. 2464 ก่อตั้งโรงเรียน
ผู้ก่อตั้งรองอำมาตย์เอกหลวงพิพัฒน์กมลาเขต
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนายยรรยง คงภาษี
ระดับปีที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา
สี███ น้ำเงิน
███ ขาว
เพลง-
เว็บไซต์http://www.pipatschool.com
-

โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอ ระดับชั้นประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งอยู่ที่ถนนสัญจรราชกิจ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ประวัติ[แก้]

ภาพอาคารโรงเรียน

โรงเรียนพิพัฒน์ราษฏร์บำรุง ก่อตั้งเมื่อราว ร.ศ.125 ตรงกับ พ.ศ. 2449 โดยเจ้าคุณพรหมมุณี สมเด็จมหาวีรวงศ์สังคนายก ครั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน และขุนจรัลชวนพันธ์ธรรมการมณฑล ได้มาจัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดเกษมาคม (วัดเหนือ) และแต่งตั้งให้ขุนไสยอุตมาลา(นายทัศน์ ศรีบุญลือ) เป็นครูใหญ่คนแรกและทำการสอนประจำเพียงคนเดียว มีเงินเดือนจากเงินบำรุงการศึกษาเป็นรายปี โดยในปีแรกได้รับค่าสอนจำนวน 160 บาท ต่อมานายสัมฤทธิ์ ศรีบุญลือ น้องชายได้มาช่วยสอน แต่พอสอนได้ไม่ถึงปี นายสัมฤทธิ์ ศรีบุญลือ ก็ลาออกไปอุปสมบท คงเหลือครูเพียงคนเดียวสอนประจำเรื่อยมาอีกหนึงปี นายสุทัศน์ ศรีบุญลือ ลาออกไปรับตำแหน่งกำนัน ทางราชการจึงแต่งตั้งนายจำปา ไชยจำนงค์ มาช่วยสอนแทน แต่อยู่ได้ประมาณปีเศษก็ย้ายไปเป็นครูที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปี พ.ศ. 2451 ทางราชการได้แต่งตั้งหม่อมหลวงช่วง มาเป็นครูใหญ่แทนจนถึงปี พ.ศ. 2456 ได้ย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น และนายย่อม มีคุปะ มาเป็นครูใหญ่แทนในขณะนั้นมีจำนวนนักเรียน 51 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในปีนั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าสอบไล่ 7 คน สอบได้ 5 คน โดยมีขุนนิพิฐนิติ-สาส์น ธรรมการมณฑล มาเป็นกรรมการ

ในช่วงนั้น โรงเรียนต้องอาศัยศาลาวัดเกษมาคมเป็นสถานที่เล่าเรียนโดยมีการสับเปลี่ยนครูใหญ่และครูประจำการณ์ตามสถานการณ์ จวบจนกระทั่งชุมชนได้เห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น สถานที่เรียนไม่เพียงพอและเหมะสม รองอำมาตย์เอกหลวงพิพัฒน์กมลาเขต(ชิต ศิริบูรณ์) นายอำเภอสมัยนั้น พร้อมด้วยราษฎร พ่อค้า ประชาชน ภายในเขต ได้ร่วมกันเสียสละวลาและทรัพย์สิน สร้างโรงเรียนเอกเทศขึ้น 1 หลัง หลังคามุงกระเบื้อง บนเนื้อที่ 13 ไร่เศษ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 6,101.90 บาท (หกพันหนึ่งร้อยหนึ่งบาทเก้าสิบสตางค์)

เมื่อสร้างเสร็จได้ทำพิธีเปิดป้ายนามโรงเรียนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 โดยเจ้าคุณรณชัยชาญยุทธสมุห-เทศาภิบาล เป็นประธานพร้อมด้วย เจ้าคุณชัยสุนทรบวรภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ มาร่วมในพิธีและตั้งชื่อนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง” ซึ่งในขณะนั้น นายจำปา ไชยจำนงค์ เป็นครูใหญ่ ในปีนั้นมีจำนวนนักเรียน 146 คน

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2512 หน่วยราชการ และผู้ปกครองนักเรียน ได้มีความคิดว่าน่าจะยุบรวมโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุงกับโรงเรียนศรีกมลาไสย เข้าด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการบริหารเพราะมีอาณาเขตใกล้เคียงกันเพียง 50 เมตร และขอแลกเปลี่ยนที่ดินจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งอยู่ติดกับโรงเรียนศรีกมลาไสยกับที่ดินเดิม เป็นผลสำเร็จ และเมื่อรวมเนื้อที่แล้วมีทั้งสิ้น 26 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวาเศษ และใช้ชื่อนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง” จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบันโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เปิดทำการสอน 2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา และ ระดับประถมศึกษา(อนุบาล-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) มีครูทั้งสิ้น 26 คน ชาย 6 คน หญิง 20 คน นักเรียน 515 คน ชาย 269 คน หญิง 246 คน พนักงานบริการชาย 2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ลูกจ้างตามภารกิจ 1 คน

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

  1. ขุนไสยอุตมาลา(ทัศน์ ศรีบุญลือ) ครูใหญ่ 2449-2451
  2. หม่อมหลวงช่วง ครูใหญ่ 2451-2456
  3. นายย่อม มีคุปะ ครูใหญ่ 2456-2459
  4. นายจำปา ไชยจำนงค์ ครูใหญ่ 2459-2468
  5. นายหนู ชนะศึก วุฒิการศึกษา ป.ป. ครูใหญ่ 2 ต.ค. 2468-1 ต.ค. 2470
  6. นายแก้ว ทองเจริญ วุฒิการศึกษา ป.ป. ครูใหญ่ 18 ธ.ค. 2470-1 เม.ย. 2492
  7. นายชื่น โพธิแท่น วุฒิการศึกษา ป.ป. ครูใหญ่ 2 พ.ค. 2492-10 พ.ค. 2503
  8. นายสิงห์ กล้าวิจารย์ วุฒิการศึกษา พ.ม. ครูใหญ่ 2 พ.ค. 2492-12 ก.ย. 2504
  9. นายชื่น โพธิแท่น วุฒิการศึกษา พ.ป. ครูใหญ่ 16 ก.ย. 2504-1 ส.ค. 2509
  10. นายประชุม ศิริบูรณ์ วุฒิการศึกษา พ.ป. ครูใหญ่ 9 ก.ย. 2509-31 ต.ค. 2511
  11. นายสันต์ บัณฑิโต วุฒิการศึกษา พ.ป. ครูใหญ่ 1 พ.ย. 2511-13 ม.ค. 2513
  12. นายสุวัฒน์ แสงพรหม วุฒิการศึกษา พ.ป. ครูใหญ่ 16 ม.ค. 2513-30 ก.ย. 2520
  13. นายพิชัย วิทยบูรณ์ วุฒิการศึกษา พ.ป. ครูใหญ่ 1 ก.พ. 2521- 30 ก.ค. 2521
  14. นายพิชัย วิทยบูรณ์ วุฒิการศึกษา พ.ป. อาจารย์ใหญ่ 1 ก.พ. 2521- 30 ก.ค. 2521
  15. นายสันต์ บุระผากา วุฒิการศึกษา ก.ศ.บ. อาจารย์ใหญ่ 5 พ.ค. 2532-8 ธ.ค. 2533
  16. นายสันต์ บุระผากา วุฒิการศึกษา ก.ศ.บ. ผู้อำนวยการ 9 ธ.ค. 2533-27 ธ.ค. 2542
  17. นางนกแก้ว ยุวพันธุ์ วุฒิการศึกษา ก.ศ.บ. ผู้อำนวยการ 28 ม.ค. 2542-30 ก.ย. 2545
  18. นายสันต์ บุระผากา วุฒิการศึกษา ก.ศ.บ. ผู้อำนวยการ 1 ต.ค. 2545-30 ก.ย. 2551
  19. นายยรรยง คงภาษี วุฒิการศึกษา ก.ศ.บ. ผู้อำนวยการ ปัจจุบัน
นางวรวรรณ สว่างบุญ วุฒิการศึกษา ก.ศ.ม. รองผู้อำนวยการ ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]