โรคติดเชื้อบรูเซลลา
โรคติดเชื้อบรูเซลลา | |
---|---|
ชื่ออื่น | ไข้แบบเป็นระลอก, ไข้เมดิเตอร์เรเนียน, ไข้ไซปรัส, ไข้มอลตา, ไข้หิน (Micrococcus melitensis)[1] |
สาขาวิชา | โรคติดเชื้อ |
โรคติดเชื้อบรูเซลลา (อังกฤษ: Brucellosis)[2][3] เป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์ที่เกิดจากการทานนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรส์หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกซึ่งได้จากสัตว์ที่มีเชื้อ หรือจากการสัมผัสใกล้ชิดกับสารคัดหลั่ง[4] ชื่ออื่น ๆ ของโรคได้แก่ไข้แบบเป็นระยะ (undulant fever), ไข้มอลตา (Malta fever) และ ไข้เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean fever)[5]
สปีชีส์ Brucella เป็นแบคทีเรียกรัมลบ, ไม่เคลื่อนที่, ไม่สร้างสปอร์ รูปร่างแท่ง (ค็อกโคบาซิลไล) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกลายเป็นปรสิตในเซลล์ชนิดแฟกคับเททีฟก่อให้เกิดโรคเรื้อรังซึ่งอาจดำเนินไปตลอดชีวิต แบคทีเรียสปีชีส์ที่ก่อโรคในมนุษย์ได้แก่ B. abortus, B. canis, B. melitensis และ B. suis โดย B. abortus แพร่กระจายยากกว่า B. melitensis และมักปรากฏติดเชื้อในวัวหรือสัตว์, B. canis ติดเชื้อในสุนัข และ B. melitensis เป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายง่ายที่สุดและมักติดเชื้อในแพะและแกะในบางครั้ง B. suis มีควาามสมารถแพร่กระจายกลาง ๆ และมักติดเชื้อในหมู อาการของโรคในมุนษย์ปนะกอบดเวยเหงื่ออกมากเกิน, อาการเจ็บปวดในข้อและกล้ามเนื้อ
สปีชีส์ Brucella เคนถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในหลายประเทศพัฒนาแล้วในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ในปี 1954 B. suis เป็นอาวุธชีวภาพตัวแรกของสหรัฐอเมริกาที่เก็บไว้ในคลังแสงไพน์บลัฟ ใกล้กับเมืองไพน์บลัฟ รัฐอาร์คันซอ สปีชีส์ Brucella เช่นเดียวกับอาวุธชีวภาพอื่น ๆ ต่อมาถูกทำลายทิ้งในปี 1971–72 ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wyatt HV (2014). "How did Sir David Bruce forget Zammit and his goats ?" (PDF). Journal of Maltese History. Malta: Department of History, University of Malta. 4 (1): 41. ISSN 2077-4338. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-21. Journal archive
- ↑ "Brucellosis". American Heritage Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06.
- ↑ "Maltese Fever". wrongdiagnosis.com. February 25, 2009.
- ↑ "Diagnosis and Management of Acute Brucellosis in Primary Care" (PDF). Brucella Subgroup of the Northern Ireland Regional Zoonoses Group. August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-13.
- ↑ Di Pierdomenico A, Borgia SM, Richardson D, Baqi M (July 2011). "Brucellosis in a returned traveller". CMAJ. 183 (10): E690-2. doi:10.1503/cmaj.091752. PMC 3134761. PMID 21398234.
- ↑ Woods, Jon B. (April 2005). USAMRIID's Medical Management of Biological Casualties Handbook (PDF) (6th ed.). Fort Detrick, Maryland: U.S. Army Medical Institute of Infectious Diseases. p. 53. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Fact sheet on Brucellosis from World Organisation for Animal Health
- Brucella genomes and related information at PATRIC, a Bioinformatics Resource Center funded by NIAID
- Prevention about Brucellosis from Centers for Disease Control
- Capasso L (August 2002). "Bacteria in two-millennia-old cheese, and related epizoonoses in Roman populations". The Journal of Infection. 45 (2): 122–7. doi:10.1053/jinf.2002.0996. PMID 12217720. – re high rate of brucellosis in humans in ancient Pompeii
- Brucellosis, factsheet from European Centre for Disease Prevention and Control
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |