โรคกลัวการขาดมือถือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุกมือถือที่ถูกใช้ในการเก็บมือถือไม่ให้นักเรียนใช้ในระหว่างการเรียนการสอน

โรคกลัวการขาดมือถือ (อังกฤษ: nomophobia) หรือ โนโมโฟเบีย เป็นชื่อที่มีการเสนอของโรคกลัวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยกลัวการไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือการไม่ได้สัมผัสมือถือ[1][2] แม้ว่าโรคนี้จะไม่มีอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 (DSM-5) แต่เบียนชิและฟิลลิปส์ได้อธิบายไว้ว่ามีปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการใช้มือถือมากเกินไป[3] คนที่มีความภูมิใจแห่งตนต่ำอาจใช้มือถือเพื่อสร้างความมั่นใจ และบุคคลที่มีลักษณะเปิดเผยอาจใช้มือถือมากเกินไป เป็นไปได้ที่อาการของโนโมโฟเบียอาจเกิดจากอาการทางจิตที่มีอยู่แล้ว และบุคคลที่มีความเสี่ยงมักเป็นโรคกลัวสังคม หรือโรควิตกกังวลเมื่อเข้าสังคม ความวิตกกังวลสังคม[4] และโรคตื่นตระหนก[5]

คำว่าโนโมโฟเบียย่อมาจาก โนโมบายโฟนโฟเบีย (no-mobile-phone phobia)[6] จากการศึกษานักศึกษาชายระดับปริญญาตรีด้านบริการสุขภาพจำนวน 547 คนค้นพบว่าร้อย 23 เป็นโรคกลัวการขาดมือถือและกว่าร้อยละ 64 มีความเสี่ยง ในนักเรียนเหล่านี้ร้อยละ 77 เช็คมือถือมากกว่า 35 ครั้งต่อวัน[7] มากกว่าครึ่งของผู้ที่มีอาการของโรคกลัวการขาดมือถือไม่เคยปิดเครื่อง[8]

อาการและสัญญาณ[แก้]

ความวิตกกังวลจะถูกกระตุ้นจากการทำมือถือหาย สัญญาณโทรศัพท์ไม่มีหรือแบตเตอรี่หมด[9] อาการของโรครวมไปถึงการใช้มือถือมากเพื่อกันตัวเองจากการสนทนากับผู้อื่น และมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากกว่าหนึ่งเครื่อง พกสายชาร์จตลอดเวลาและกังวลว่ามือถือจะหาย อาการอาจรวมไปถึงการลดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแบบต่อหน้าและชอบการสื่อสายผ่านเทคโนโลยี ไม่ปิดมือถือเวลานอนทั้งยังวางไว้ใกล้มือตลอดเวลา คอยเช็คมือถือตลอดเพื่อไม่ให้พลาดการรับสายหรือข้อความ โนโมโฟเบียอาจส่งผลให้เกิดการอาการเจ็บศอก มือ และคอเนื่องจากใช้มือถือบ่อย ๆ[10]

อาการ[แก้]

  • วิตกกังวล
  • ลมหายใจเปลี่ยน
  • สั่นเทา
  • เหงื่อออก
  • กระสับกระส่าย
  • งุนงงสับสน
  • หัวใจเต้นเร็ว[9]

อาการทางอารมณ์[แก้]

  • ซึมเศร้า
  • หวั่นวิตก
  • กลัว
  • การเสพติด
  • ถูกละทิ้ง
  • ความภาคภูมิต่ำ
  • เหงา[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Charlie D'Agata Nomophobia: Fear of being without your cell phone. CBS News. April 3, 2008.
  2. Archana Jayakumar (April 3, 2008). "Break free from Nomophobia, drunkorexia". Mid-day.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2008. สืบค้นเมื่อ 2011-08-10.
  3. Adriana Bianchi and James G. Philips (February 2005). "Psychological Predictors of Problem Mobile Phone Use". CyberPsychology & Behavior. 8 (1): 39–51. doi:10.1089/cpb.2005.8.39.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. King, A. L. S., A. M. Valenca, A. C. O. Silva, T. Baczysnki, M. R. Carvalho & A. E. Nardi (2013). "Nomophobia: Dependency on virtual environments or social phobia?". Computers in Human Behavior. 29: 140–144. doi:10.1016/j.chb.2012.07.025.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. King, A. L. S., A. M. Valença & A. E. Nardi (2010). "Nomophobia: the mobile phone in panic disorder with agoraphobia: reducing phobias or worsening of dependence?". Cognitive and Behavioral Neurology. 23 (1): 52–54. doi:10.1097/wnn.0b013e3181b7eabc.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. "Nomophobia is the fear of being out of mobile phone contact - and it's the plague of our 24/7 age". Evening Standard. April 1, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2008. สืบค้นเมื่อ 2011-08-10.
  7. Bivin, J. B.; Mathew, P.; Thulasi, P. C.; Philip, J. (2013). "Nomophobia - Do We Really Need to Worry About?". Reviews of Progress. 1 (1).
  8. My Name Is Mo R., And I Am A Nomophobe, CBSnews.com. February 11, 2009. Retrieved August 2011
  9. 9.0 9.1 9.2 Bragazzi, N. L., & G. D. Puenete (2014). A proposal for including nomophobia in the new DSM-V. Psychology Research and Behavior Management 7. 155-160.
  10. Malcore, Paul. "Teen Smartphone Addiction: It's Physical". www.rawhide.org. สืบค้นเมื่อ 14 February 2017.