ข้ามไปเนื้อหา

โยฮันเนิส เฟอร์เมร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยฮันเนิส เฟอร์เมร์
รายละเอียดภาพวาด The Procuress (ป. 1656) เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนตนเองของเฟอร์เมร์[1]
เกิดโยฮันเนิส เฟอร์เมร์
เข้ารับบัพติศมา 31 ตุลาคม ค.ศ. 1632
เดลฟท์ ฮอลแลนด์ สาธารณรัฐดัตช์
เสียชีวิต15 ธันวาคม ค.ศ. 1675(1675-12-15) (43 ปี)
เดลฟท์ ฮอลแลนด์ สาธารณรัฐดัตช์
มีชื่อเสียงจากจิตรกรรม
ผลงานเด่นผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล 34 ชิ้น[2]
ขบวนการยุคทองของเนเธอร์แลนด์
บารอก

โยฮันเนิส ไรเนียส์โซน เฟอร์เมร์ (ดัตช์: Johannes Reynierszoon Vermeer) หรือ โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 15 ธันวาคม ค.ศ. 1675) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ มีผลงานในด้านศิลปะบาโรก มักวาดภาพที่แสดงถึงชีวิตประจำวันธรรมดาของคน เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเดลฟท์ และเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จพอสมควรในเมืองของเขา แต่ว่าไม่ได้ร่ำรวยเป็นพิเศษเพราะสร้างผลงานค่อนข้างน้อย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ สาวใส่ต่างหูมุก ซึ่งเป็นภาพที่รู้จักกันในชื่อ "โมนาลิซาจากทางเหนือ"

เฟอร์เมร์ถูกลืมไปกว่าสองร้อยปี และกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อนักวิจารณ์ศิลปะชื่อ ตอเร-เบือร์เกอร์ (Thoré-Bürger) เขียนบทความระบุภาพ 66 ภาพว่าเป็นของเขา (แต่มีเพียง 34 ภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอนว่าเป็นของเขาในปัจจุบัน) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของเฟอร์เมร์ก็เริ่มโด่งดังขึ้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่ยอมรับในเรื่องเทคนิคการใช้แสงในผลงานของเขา

ชีวิต

[แก้]

โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ เกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลางในเมืองเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และหลังจากนั้นไม่กี่วันเขารับศีลบัพติศมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1632 ถึงแม้ว่าเฟอร์เมร์จะมาจากครอบครัวโปรเตสแตนต์ แต่เขากลับแต่งงานกับกาตารีนา โบลเนิส ผู้ซึ่งนับถือนิกายโรมันคาทอลิก เขาทั้งสองย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านของแม่ยายซึ่งมีฐานะร่ำรวยกว่า เฟอร์เมร์อาศัยอยู่ที่นั่นตลอดชีวิต โดยวาดภาพในห้องด้านหน้าบนชั้นสอง ภรรยาของเขาให้กำเนิดบุตร 15 คน

ประวัติของเฟอร์เมร์นั้นค่อนข้างจะคลุมเครือ เขาเป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับศิลปะเท่านั้น ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของเขานั้นมาจากการลงทะเบียน เอกสารทางการ และคำวิจารณ์จากศิลปินคนอื่น ๆ จึงทำให้ตอเร-เบือร์เกอร์เรียกเขาว่า สฟิงซ์แห่งเมืองเดลฟท์[3]

รายชื่อภาพเขียนโดยเฟอร์เมร์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Procuress: Evidence for a Vermeer Self-Portrait" เก็บถาวร 2021-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 13 September 2010.
  2. Jonathan Janson, Essential Vermeer: complete Vermeer catalogue; accessed 16 June 2010.
  3. "Vermeer: A View of Delft". The Economist. 2001-04-19.[ลิงก์เสีย] เรียกข้อมูลวันที่ 2008-07-28

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]