โยฮันเนิส เฟอร์เมร์
โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ | |
---|---|
เกิด | โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ เข้ารับบัพติศมา 31 ตุลาคม ค.ศ. 1632 เดลฟท์ ฮอลแลนด์ สาธารณรัฐดัตช์ |
เสียชีวิต | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1675 เดลฟท์ ฮอลแลนด์ สาธารณรัฐดัตช์ | (43 ปี)
มีชื่อเสียงจาก | จิตรกรรม |
ผลงานเด่น | ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล 34 ชิ้น[2] |
ขบวนการ | ยุคทองของเนเธอร์แลนด์ บารอก |
โยฮันเนิส ไรเนียส์โซน เฟอร์เมร์ (ดัตช์: Johannes Reynierszoon Vermeer) หรือ โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 15 ธันวาคม ค.ศ. 1675) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ มีผลงานในด้านศิลปะบาโรก มักวาดภาพที่แสดงถึงชีวิตประจำวันธรรมดาของคน เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเดลฟท์ และเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จพอสมควรในเมืองของเขา แต่ว่าไม่ได้ร่ำรวยเป็นพิเศษเพราะสร้างผลงานค่อนข้างน้อย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ สาวใส่ต่างหูมุก ซึ่งเป็นภาพที่รู้จักกันในชื่อ "โมนาลิซาจากทางเหนือ"
เฟอร์เมร์ถูกลืมไปกว่าสองร้อยปี และกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อนักวิจารณ์ศิลปะชื่อ ตอเร-เบือร์เกอร์ (Thoré-Bürger) เขียนบทความระบุภาพ 66 ภาพว่าเป็นของเขา (แต่มีเพียง 34 ภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอนว่าเป็นของเขาในปัจจุบัน) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของเฟอร์เมร์ก็เริ่มโด่งดังขึ้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่ยอมรับในเรื่องเทคนิคการใช้แสงในผลงานของเขา
ชีวิต
[แก้]โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ เกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลางในเมืองเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และหลังจากนั้นไม่กี่วันเขารับศีลบัพติศมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1632 ถึงแม้ว่าเฟอร์เมร์จะมาจากครอบครัวโปรเตสแตนต์ แต่เขากลับแต่งงานกับกาตารีนา โบลเนิส ผู้ซึ่งนับถือนิกายโรมันคาทอลิก เขาทั้งสองย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านของแม่ยายซึ่งมีฐานะร่ำรวยกว่า เฟอร์เมร์อาศัยอยู่ที่นั่นตลอดชีวิต โดยวาดภาพในห้องด้านหน้าบนชั้นสอง ภรรยาของเขาให้กำเนิดบุตร 15 คน
ประวัติของเฟอร์เมร์นั้นค่อนข้างจะคลุมเครือ เขาเป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับศิลปะเท่านั้น ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของเขานั้นมาจากการลงทะเบียน เอกสารทางการ และคำวิจารณ์จากศิลปินคนอื่น ๆ จึงทำให้ตอเร-เบือร์เกอร์เรียกเขาว่า สฟิงซ์แห่งเมืองเดลฟท์[3]
รายชื่อภาพเขียนโดยเฟอร์เมร์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Procuress: Evidence for a Vermeer Self-Portrait" เก็บถาวร 2021-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 13 September 2010.
- ↑ Jonathan Janson, Essential Vermeer: complete Vermeer catalogue; accessed 16 June 2010.
- ↑ "Vermeer: A View of Delft". The Economist. 2001-04-19.[ลิงก์เสีย] เรียกข้อมูลวันที่ 2008-07-28
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Liedtke, Walter (2009). The Milkmaid by Johannes Vermeer. New York: The Metropolitan Museum of Art. ISBN 978-1-58839-344-9.
- Liedtke, Walter A. (2001). Vermeer and the Delft School. Metropolitan Museum of Art. ISBN 978-0-87099-973-4.
- Kreuger, Frederik H. (2007). New Vermeer, Life and Work of Han van Meegeren. Rijswijk: Quantes. pp. 54, 218 and 220 give examples of Van Meegeren fakes that were removed from their museum walls. Pages 220/221 give an example of a non–Van Meegeren fake attributed to him. ISBN 978-90-5959-047-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2010. สืบค้นเมื่อ September 21, 2009.
- Singh, Iona (2012). "Vermeer, Materialism and the Transcendental in Art". from the book, Color, Facture, Art & Design. United Kingdom: Zero Books. pp. 18–40.
- Schneider, Nobert (1993). Vermeer. Cologne: Benedikt Taschen Verlag. ISBN 3-8228-6377-7.
- Sheldon, Libby; Nicola Costaros (February 2006). "Johannes Vermeer's 'Young woman seated at a virginal". The Burlington Magazine (vol. CXLVIII ed.) (1235).
- Snyder, Laura J. (2015). Eye of the Beholder: Johannes Vermeer, Antoni van Leeuwenhoek, and the Reinvention of Seeing. New York: W. W. Norton. ISBN 978-0-393-07746-9.
- Steadman, Philip (2002). Vermeer's Camera, the truth behind the masterpieces. Oxford University Press. ISBN 0-19-280302-6.
- Wadum, J. (1998). "Contours of Vermeer". ใน I. Gaskel and M. Jonker (บ.ก.). Vermeer Studies. Studies in the History of Art. Washington/New Haven: Center for Advanced Study in the Visual Arts, Symposium Papers XXXIII. pp. 201–223.
- Wheelock, Arthur K., Jr. (1988) [1st. Pub. 1981]. Jan Vermeer. New York: Abrams. ISBN 0-8109-1737-8.