โมแจงสตูดิโอส์
ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ตั้งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 | |
ชื่อเดิม |
|
---|---|
ประเภท | บริษัทในเครือ |
อุตสาหกรรม | วิดีโอเกม |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2552 (อายุ 15 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | มาร์คุส แพร์ช็อน |
สำนักงานใหญ่ | สต็อกโฮล์ม, ประเทศสวีเดน |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ | |
พนักงาน | 70[1] (2559) |
บริษัทแม่ | เอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์ (2557–ปัจจุบัน) |
เว็บไซต์ | mojang.com |
โมแจงสตูดิโอส์ (อังกฤษ: Mojang Studios)[nb 1] เป็นบริษัทพัฒนาเกมสัญชาติสวีเดนและเป็นบริษัทลูกของเอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์ ตั้งอยู่ที่เมืองสต็อกโฮล์ม ก่อตั้งโดยมาร์คุส แพร์ช็อน ในปี พ.ศ. 2552 ภายใต้ชื่อ มุเย็งสเปซิฟิเคชันส์ (Mojang Specifications) ซึ่งเป็นการสารต่อชื่อจากกิจการวิดีโอก่อนหน้าที่เขาได้ออกมาเมื่อ 2 ปีก่อน บริษัทได้เริ่มพัฒนาเกมแซนด์บอกซ์อย่างไมน์คราฟต์ในปีเดียวกันกับที่ก่อตั้งบริษัท (ปัจจุบันเกมดังกล่าวได้กลายเป็นเกมที่มียอดขายสูงที่สุดตลอดกาลและประสบความสำเร็จในแพลตฟอร์มต่าง ๆ) ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 แพร์ช็อนได้ร่วมมือกับยาค็อบ พอร์เชียร์ (Jakob Porsé) ดำเนินบริษัทภายใต้ชื่อ มุเย็ง เอบี (Mojang AB) และจ้างคาร์ล มานเนห์ (Carl Manneh) มาเป็นประธานบริหาร เวลาผ่านไปแพร์ช็อนต้องการเลิกทำงานพัฒนาไมน์คราฟต์ จึงเสนอขายสินทรัพย์บริษัท ไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อบริษัทผ่านเอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์ (ในเวลานั้นเรียกว่า ไมโครซอฟท์สตูดิโอส์) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นผลทำให้แพร์ช็อน พอร์เชียร์ และมานเนห์ลาออกจากบริษัท และต่อมาในปี พ.ศ. 2563 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น โมแจงสตูดิโอส์
ในช่วงปี พ.ศ. 2559 บริษัทมีพนักงานจำนวน 70 คน โดยโยนัส มอร์เทนซ็อน เป็นประธานบริหาร และวู บุย เป็นประธานฝ่ายปฏิบัติการ[5] นอกจากไมน์คราฟต์แล้ว บริษัทยังได้พัฒนาเกมการ์ดสะสมแบบดิจิทัลอย่างคอลเลอรส์เบน (Caller's Bane), เกมวางแผนการรบประเภททีละรอบอย่างคราวน์แอนด์เคาน์ซิล (Crown and Council) และเกมภาคแยกอย่างไมน์คราฟต์เอิร์ท (Minecraft Earth) และไมน์คราฟต์ดันเจียนส์ (Minecraft Dungeons)
เกมที่พัฒนา
[แก้]ปี (พ.ศ.) | ชื่อเกม | ประเภทเกม | แพลตฟอร์ม | เชิงอรรถ | อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|---|---|
2554 | ไมน์คราฟต์ (Minecraft) |
แซนด์บอกซ์ | แอนดรอยด์ ไฟร์โอเอส, ไอโอเอส, ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, ราสป์เบอร์รีพาย, ทีวีโอเอส, วินโดวส์โฟน | — | [6] | |
2557 | คอลเลอรส์เบน (Caller's Bane) |
เกมการ์ดสะสมแบบดิจิทัล | แอนดรอยด์, แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ | ชื่อเก่าคือ สกรอลส์ (Scrolls)
แต่ใน google play store ยังใช้เกมชื่อ สกรอลส์ |
[7][8] | |
2559 | คราวน์แอนด์เคาน์ซิล (Caller's Bane) |
เกมวางแผนการรบ | ลินุกซ์, แมคโอเอส,วินโดวส์ | — | [9][10] | |
2562 | ไมน์คราฟต์คลาสสิก (Minecraft Classic) |
แซนด์บอกซ์ | เบราว์เซอร์ | เป็นการปล่อยไมน์คราฟต์รุ่นแรกเริ่มให้เล่นอีกครั้ง | [11] | |
ไมน์คราฟต์เอิร์ท (Minecraft Earth) |
Augmented reality (AR) | แอนดรอยด์, ไอโอเอส | อยู่ในช่วงเออร์ลีแอ็กเซส (early access)
ปัจจุบันได้ปิดตัวไปแล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2021 |
[12] | ||
2563 | ไมน์คราฟต์ดันเจียนส์ (Minecraft Dungeons) |
Dungeon crawler | วินโดวส์, นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน | — | [13] | |
2566 | ไมน์คราฟต์เลเจนด์
(Minecraft Legend ) |
เกมแอ็กชัน | นินเท็นโด สวิตช์,เพลย์สเตชัน 4 ,เพลย์สเตชัน 5 , วินโดวส์ , เอกซ์บอกซ์วัน , เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์และซีรีส์เอส | — | [14] |
เกมที่จัดจำหน่าย
[แก้]ปี (พ.ศ.) | ชื่อเกม | แพลตฟอร์ม | ผู้พัฒนา | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2559 | โคบอลต์ (Cobalt) |
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เอกซ์บอกซ์ 360, เอกซ์บอกซ์วัน | ออกซายเกมสตูดิโอ (Oxeye Game Studio) |
[15] |
2560 | โคบอลต์ดับเบิลยูเอเอสดี (Cobalt WASD) |
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ | [16] |
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ คำว่า Mojang มาจากภาษาสวีเดน mojäng (mʊˈjɛŋ) แปลว่า แกดเจ็ต[2] ทั้งนี้มีการถกเถียงมาโดยตลอดว่าอ่านออกเสียงว่า "โมแจง" หรือ "มุเย็ง" โดยล่าสุดในปี พ.ศ. 2563 มีการเปลี่ยนชื่อและโลโก้ของบริษัทใหม่ซึ่งกำหนดให้อ่านว่า "โมแจง" (moʊˈdʒæŋ) ตามการออกเสียงของภาษาอังกฤษ[3][4] ฉะนั้นแล้วจึงอนุมานได้ว่าชื่อเก่าที่ผ่านมาอ่านออกเสียงว่า มุเย็ง ตามภาษาสวีเดน เนื่องจากบริษัทก่อตั้งขึ้นในประเทศสวีเดน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "About". Mojang. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2019.
- ↑ Shanley, Mia (4 February 2013). "Hit game Minecraft to stay private". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ "Mojang Studios: New Name, Logo, and Trailer!". YouTube. Minecraft. 17 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2020. สืบค้นเมื่อ 9 October 2020.
- ↑ Watson, Marc. "Marc Watson's Tweet". Twitter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 9 October 2020.
- ↑ "About". Mojang. 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2019.
- ↑ Fulton, Michael (21 March 2019). "Overview of Platforms Minecraft Is Available On". Lifewire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ McWhertor, Michael (10 December 2014). "Minecraft developer Mojang is finally releasing Scrolls". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ Bailey, Dustin (20 June 2018). "Free games: Mojang's Scrolls is now Caller's Bane, and it's out right now". PCGamesN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2018. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.
- ↑ O'Connor, Alice (22 April 2016). "Minecraft Devs Release Crown And Council Free". Rock, Paper, Shotgun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ Caldwell, Brendan (31 January 2017). "Crown and Council gets royally updated, still free". Rock, Paper, Shotgun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2017. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ Jones, Ali (8 May 2019). "Minecraft Classic is now available to play for free in your browser". PCGamesN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2019. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
- ↑ Peters, Jay (12 November 2019). "Minecraft Earth is now available in early access in the US". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2020. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
- ↑ Brown, Matt (25 May 2020). "Minecraft Dungeons launch time, release date – and how to preorder". Windows Central. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2020. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
- ↑ "Minecraft Legends".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Good, Owen S. (17 January 2016). "Mojang-published Cobalt set to launch Feb. 2". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ Alexandra, Heather (30 November 2017). "Cobalt WASD Is 2-D Counter-Strike With Time Grenades And Super Suits". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.