โปโลช้าง คิงส์คัพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โปโลช้าง คิงส์คัพ (อังกฤษ: King's Cup Elephant Polo) เป็นการแข่งขันโปโลช้าง ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งโดยปกติแล้ว ในแต่ละแมตช์ จะเป็นการแข่งขันระหว่างสองทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นห้าคนและช้างห้าเชือก ซึ่งไม่มีเงินรางวัล หากแต่ได้รับถ้วยคิงส์คัพที่ทำจากสำริด การแข่งขันโปโลช้าง คิงส์คัพ ได้จัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 ที่อำเภอหัวหิน โดยใช้ระยะเวลาในการแข่งขันครั้งดังกล่าวเพียง 2 วัน แต่ในภายหลังได้กลายมาเป็นรายการแข่งขันระดับสากลที่ได้รับความนิยมของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2554 ได้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่สำคัญ อาทิ พระราชวงศ์จากเยอรมนี, นักกีฬารักบี้ที่มีชื่อเสียงจากนิวซีแลนด์ ตลอดจนได้รับการตอบรับจากบุคคลที่มีชื่อเสียงชาวต่างชาติหลายราย[1]

ประวัติ[แก้]

โปโลช้าง คิงส์คัพ มีครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 ซึ่งเดิมการแข่งขันดังกล่าว มักจัดขึ้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เป็นกีฬาเพื่อการกุศล ในการนำเงินมาสมทบแก่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปาง ก่อนที่จะย้ายสถานที่จัดการแข่งมาอยู่ที่ภาคเหนือใน พ.ศ. 2549[2] สำหรับการแข่งขันโปโลช้าง คิงส์คัพ 2009 ได้จัดการแข่งขันที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีช้างเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 51 เชือก จาก 12 ประเทศ โดยการแข่งขันคู่แรก ได้มีการไว้อาลัยแด่ จิม เอสเวด ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งการแข่งขันโปโลช้าง ที่ได้เสียชีวิตก่อนการแข่งขันนัดดังกล่าวเพียง 1 วัน[3]

ใน พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดการแข่งขันเนื่องในโอกาสครบรอบสิบปีของรายการดังกล่าว โดยจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 11 กันยายน ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม กับจำนวนผู้เล่นกว่า 40 ราย จาก 15 ประเทศ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. อนันตราประกาศการแข่งขันโปโลช้างชิงถ้วยพระราชทานประจำปี 2555
  2. การแข่งขันกีฬาโปโลบนหลังช้าง ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 9
  3. เชียงรายเปิดการแข่งขันโปโลช้าง คิงส์คัพ 2009[ลิงก์เสีย]
  4. "งานแข่งขันโปโลช้าง ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2011-09-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]