โบสถ์อนุสรณ์ไคเซอร์วิลเฮ็ล์ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิกัดภูมิศาสตร์: 52°30′18″N 13°20′06″E / 52.50500°N 13.33500°E / 52.50500; 13.33500

โบสถ์อนุสรณ์ไคเซอร์วิลเฮ็ล์ม
โบสถ์อนุสรณ์ไคเซอร์วิลเฮ็ล์ม เป็นอนุสรณ์ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และหอระฆังสมัยใหม่ ซึ่งต่อเติมใน ค.ศ. 1963
แผนที่
ที่ตั้ง เบอร์ลิน
ประเทศ เยอรมนี
นิกายEvangelical Church in Berlin, Brandenburg and Silesian Upper Lusatia
เว็บไซต์gedaechtniskirche-berlin.de
ประวัติ
ก่อตั้งทศวรรษ 1890

โบสถ์อนุสรณ์ไคเซอร์วิลเฮ็ล์ม (เยอรมัน: Kaiser-Wilhelm-Gedächtniskirche) ตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ตัวโบสถ์เดิมนั้นสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1890 อย่างไรก็ตาม ตัวโบสถ์ถูกทำลายอย่างรุนแรงในการโจมตีทิ้งระเบิดใน ค.ศ. 1943 ตัวโบสถ์ปัจจุบันจึงเหลือเพียงห้องโถงและหอระฆัง และมีการต่อเติมหอสวดมนต์ระหว่าง ค.ศ. 1959 ถึง 1963 ส่วนยอดของโบสถ์เก่ายังเก็บไว้และชั้นใต้ดินเปลี่ยนเป็นหออนุสรณ์

โบสถ์เก่า[แก้]

ภาพโบสถ์เก่าราว ๆ ค.ศ. 1900

จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี อุทิศชื่อโบสถ์เพื่อเป็นเกียรติแด่พระอัยกา (ปู่) ของพระองค์นามว่า "ไคเซอร์วิลเฮ็ล์มที่ 1" รากฐานของอาคารสร้างเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1891 ซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพของไคเซอร์วิลเฮ็ล์มที่ 1 ผู้ได้รับคัดเลือกในการออกแบบคือ Franz Schwechten ผู้ซึ่งวางแผนในการก่อสร้างโบสถ์ขนาดใหญ่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ รวมถึงพื้นที่ 2,740 ตารางเมตรสำหรับกำแพงในงานโมเสก ยอดโบสถ์สูง 113 เมตร และมีที่นั่งสำหรับประชาชนกว่า 2,000 ที่นั่ง ตัวโบสถ์มีพิธีอุทิศให้ศาสนาในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1895 ในขณะที่ทางเข้าส่วนล่างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จนกระทั่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 โบสถ์แห่งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ถึงความสามัคคีของอาณาจักรปรัสเซีย[1]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คืนวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ตัวโบสถ์ถูกทำลายและไฟไหม้อย่างรุนแรงในการจู่โจมทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร ถึงแม้ส่วนใหญ่ของโบสถ์จะถูกทำลาย แต่ส่วนยอดและส่วนใหญ่ของห้องโถงทางเข้ายังคงอยู่ โบสถ์มีการบูรณะอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนปี 2013[2]

โบสถ์ใหม่[แก้]

โบสถ์ใหม่ ใน ค.ศ. 1964

โบสถ์ใหม่ออกแบบโดย Egon Eiermann โดยสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 [3] ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 4 หลัง รอบ ๆ ซากปรักหักพังของโบสถ์เก่า การออกแบบเบื้องต้นคือ การรื้อทำลายส่วนยอดของโบสถ์ แต่ถูกกดดันจากสาธารณชน จึงเก็บส่วนยอดไว้แต่ส่วนห้องโถงของโบสถ์ถูกรื้อออก[4] ตัวโบสถ์ใหม่จึงสร้างรวมเข้าด้วยกันกับโบสถ์เก่าในรูปแบบใหม่ โบสถ์ใหม่จึงประกอบด้วย ตัวโบสถ์ใหม่ซึ่งมีทางเข้าทางด้านตะวันตก และตั้งอยู่ด้านตะวันตกของโบสถ์เก่า ส่วนทางด้านตะวันออกของโบสถ์เก่า มีหอคอยสูง และหอเล็ก ๆ ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ตัวโบสถ์ใหม่ยังออกแบบเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยน ในขณะที่หอคอยออกแบบเป็นทรงหกเหลี่ยม ซึ่งสร้างโดยคอนกรีต เหล็ก และกระจก ส่วนผนังโบสถ์มีลักษณะเป็นกำแพงรังผึ้ง โดยมีการฝังกระจกจำนวน 21,292 อยู่ภายในผนัง ตัวกระจกได้รับแรงบันดาลใจจากมหาวิหารชาทร์ ในฝรั่งเศส และใช้สีฟ้าเป็นสีที่โดดเด่น รวมถึงผสมสีทับทิม มรกต และสีเหลือง ตัวโบสถ์ใหม่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เมตร ความสูง 20.5 เมตร และจุคนได้กว่า 1,000 คน โบสถ์ใหม่จึงเป็นการรวมกันระหว่างความเป็นสมัยใหม่และประวัติศาสตร์[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]