ข้ามไปเนื้อหา

โบสถ์ชิลก็อล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบสถ์ชิลก็อล
칠골교회
โบสถ์ชิลก็อลเมื่อปี พ.ศ. 2557
แผนที่
ที่ตั้งถนนควังบก เปียงยาง
ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศเกาหลีเหนือ
นิกายโปรเตสแตนต์
ประวัติ
สถานะเปิดใช้งาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2442
พ.ศ. 2532 (บูรณะ)
ผู้ก่อตั้งคัง พัน-ซ็อก
โบสถ์ชิลก็อล
โชซ็อนกึล
ฮันจา
칠골敎會
อาร์อาร์Chilgol gyohoe
เอ็มอาร์Ch'ilgol kyohoe

โบสถ์ชิลก็อล (เกาหลี칠골교회; เอ็มอาร์Ch'ilgol kyohoe) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์หนึ่งในสองแห่งของประเทศเกาหลีเหนือ ตั้งอยู่บนถนนควังบก เขตควังบก ทางตะวันตกของเปียงยาง[1][2] โบสถ์นี้ถูกสร้างเพื่ออุทิศแด่คัง พัน-ซ็อก มัคนายิกาเพรสไบทีเรียน มารดาของคิม อิล-ซ็อง[3]

ประวัติ

[แก้]

โบสถ์ชิลก็อลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442[1] โดยคัง พัน-ซ็อกได้เข้าร่วมนมัสการที่คริสตจักรนี้ และคิม อิล-ซ็อง บุตรชาย ก็เคยเข้ามากับเธอบ้างในบางโอกาส[4] ครั้นเมื่อเกิดสงครามเกาหลี โบสถ์ได้ถูกระเบิดของทหารอเมริกันทำลายเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493[1] คิม อิล-ซ็องจึงมีคำสั่งให้บูรณะโบสถ์ใหม่ ณ จุดเดิมที่มารดาของเขาเคยยืน[5] โบสถ์ถูกสร้างใหม่ตามรูปแบบเดิมในปี พ.ศ. 2532[6] และอยู่ในการดูแลของสหพันธ์คริสเตียนเกาหลี[7]

นอกจากนี้ยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศแด่คัง พัน-ซ็อกใกล้ ๆ โบสถ์[8]

การประกอบศาสนกิจ

[แก้]
การปฏิบัติศาสนกิจภายในโบสถ์

โบสถ์เปิดต้อนรับศาสนิกชนมาปฏิบัติศาสนกิจอย่างเป็นทางการ คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเปียงยาง นักการทูต และสมาชิกจากองค์กรต่างประเทศอยู่ตลอด ในโบสถ์จะมีการเทศนาเกี่ยวกับความรักชาติ เอกภาพของชาติและมีการเฉลิมฉลองที่นั่น ทั้งมีการอธิษฐานให้เกิดการรวมชาติเกาหลี[1]

มีผู้เข้าโบสถ์ชิลก็อล 150 คน[9] ผู้อพยพลี้ภัยเกาหลีเหนือไม่เคยล่วงรู้ถึงการดำรงอยู่ของโบสถ์นี้เสียด้วยซ้ำ[3] โบสถ์อยู่ในการดูแลของหัวหน้าฆราวาส (lay leadership)[10] และมีศิษยาภิบาล แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นศิษยาภิบาลประจำโบสถ์ดังกล่าว[3]

แม้โบสถ์ชิลก็อลจะมีลักษณะเป็นโบสถ์โปรเตสแตนต์ก็ตาม แต่ก็มิได้ระบุว่าสังกัดนิกายใดอย่างเป็นทางการ[11]

การเมือง

[แก้]

มิชชันนารีชาวเกาหลีใต้ลงความเห็นว่าโบสถ์ชิลก็อลถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเกาหลีเหนือ[12] แต่วันที่ 28 มิถุนายน 2553 ฮัน ซัง-รย็อล (Han Sang-ryeol) ศิษยาภิบาลเกาหลีใต้ได้เข้าเยี่ยมโบสถ์ชิลก็อล[13] ซึ่งเป็นการเดินทางไปเกาหลีเหนืออย่างผิดกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้ หลังเขาเดินทางกลับสู่ประเทศแม่จึงถูกตัดสินจำคุก 5 ปี[14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Eglise de Chilgol" [Chilgol Church] (PDF). La République populaire démocratique de Corée (ภาษาฝรั่งเศส). North Korea: 36. November 2012. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 April 2022.
  2. Corfield 2014, p. 27.
  3. 3.0 3.1 3.2 "International Religious Freedom Report for 2014 : Korea, Democratic People's Republic of". U.S. Department of State. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2021. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015.
  4. Justin Corfield (1 December 2014). Historical Dictionary of Pyongyang. Anthem Press. p. 37. ISBN 978-1-78308-341-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2017. สืบค้นเมื่อ 10 October 2016.
  5. Morse Tan (24 April 2015). North Korea, International Law and the Dual Crises: Narrative and Constructive Engagement. Taylor & Francis. p. 67. ISBN 978-1-134-12250-9.
  6. Yonhap News Agency, Seoul (27 December 2002). North Korea Handbook. M.E. Sharpe. p. 449. ISBN 978-0-7656-3523-5.
  7. Kim Yu-gyong (25 August 2009). "Office de dimanche" [Sunday service] (ภาษาฝรั่งเศส). Corée d'aujourd'hui. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  8. Pearson, James (Aug 12, 2014). "In North Korea, a church renovated, missionaries jailed". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-24. สืบค้นเมื่อ 2015-12-03.
  9. Do Kyung-ok; Kim Soo-Am; Han Dong-ho; Lee Keum-Soon; Hong Min (24 September 2015). White Paper on Human Rights in North Korea 2015. Korea Institute for National Unification(South Korea). p. 222. ISBN 978-89-8479-802-1.
  10. United States. Dept. of State (2008). Annual Report, International Religious Freedom: Report Submitted to the Committee on International Relations, U.S. House of Representatives and the Committee on Foreign Relations, United States Senate by the Department of State, in Accordance with Section 102 of the International Religious Freedom Act of 1998. U.S. Government Printing Office. p. 178.
  11. Foster-Carter, Adrian (23 December 2000). "Pyongyang Watch: Some of that old-time religion". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-07. สืบค้นเมื่อ 31 January 2016.
  12. Kim Hyung-jin (18 May 2007). "Does genuine religious freedom exist in communist North Korea?". Yonhap.
  13. "Photo : Le pasteur sud-coréen Han Sang-ryeol prie dans une église nord-coréenne" [Photo: the South Korean pastor Han Sang-ryeol prays in a North Korean church] (ภาษาฝรั่งเศส). Yonhap. 28 June 2010.[ลิงก์เสีย]
  14. "Un pasteur condamné à 5 ans de prison pour visite illégale en Corée du Nord" [Pastor sentenced to five years in prison for illegal visit in North Korea] (ภาษาฝรั่งเศส). Yonhap. 21 January 2011.

ผลงานอ้างอิง

[แก้]

Corfield, Justin (2014). "Chilgol Revolutionary Site". Historical Dictionary of Pyongyang. London: Anthem Press. pp. 27–29. ISBN 978-1-78308-341-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]