โทรทัศน์ในสหภาพโซเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครอบครัวแรงงานกำลังดูโทรทัศน์ที่นครเคียฟ โดยในโทรทัศน์ออกอากาศการถ่ายทอดสดการประชุมครั้งที่ 25 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

โทรทัศน์ในสหภาพโซเวียต เป็นทั้งเจ้าของ, ถูกควบคุม และถูกตรวจพิจารณาโดยรัฐ หน่วยงานที่กำกับดูแลโทรทัศน์ในยุคของสหภาพโซเวียตคือ คณะกรรมาธิการวิทยุและโทรทัศน์รัฐสหภาพโซเวียต (Государственный комитет по телевидению и радиовещанию СССР) หรือ โกซเทเลราดิโอ (Гостелерадио СССР) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสหภาพโซเวียต และ วิทยุแห่งสหภาพโซเวียต[1] การผลิตรายการโทรทัศน์ของโซเวียตถูกจัดอยู่ในส่วนกลาง, สาธารณรัฐ และการออกอากาศในภูมิภาค

การออกอากาศทางโทรทัศน์เริ่มขึ้นในกรุงมอสโก และนครเลนินกราด ในปี 1938 ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุกระจายเสียงมวลสหภาพโซนาคอม[2]

วันที่ 1 ตุลาคม 1934 ได้มีการผลิตรายการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกของรัสเซีย มีหน้าจอขนาด 3x9 ซม.แพร่ภาพขาวดำระบบ 30 เส้นต่อภาพ ที่ความเร็ว 12.5 เฟรมต่อวินาที ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1934 มอสโกได้ออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก โดยเป็นคอนเสิร์ต ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1935 มีการออกอากาศภาพยนตร์เรื่องแรก

วันที่ 9 มีนาคม 1938 ได้มีการทดลองการออกอากาศรายการโทรทัศน์ที่สตูดิโอชุดแรกจากหอส่งสัญญาณ Shabolovka Tower ในมอสโก สามสัปดาห์ต่อมาภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่อง เวลีคีกราจดานิน (Великий гражданин) ได้ถูกออกอากาศทางโทรทัศน์ และได้มีการออกอากาศทางโทรทัศน์ในเลนินกราดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 1938

ช่วงระหว่างปี 1941 ถึง 1945 โทรทัศน์ถูกระงับการออกอากาศเนื่องจากการบุกครองสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี จนกระทั่งกลับมาออกอากาศอีกครั้งในกรุงมอสโกเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1945 และในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1948 ศูนย์โทรทัศน์มอสโกได้เริ่มแพร่ภาพขาวดำในระบบ 625 เส้นต่อภาพ วันที่ 29 มิถุนายน 1949 สตูดิโอออกอากาศนอกสถานที่เป็นครั้งแรกโดยออกอากาศการแข่งขันฟุตบอล ซึ่งถ่ายทอดสดจากสนามกีฬาดีนาโม และวันที่ 24 สิงหาคม 1950 มีการออกอากาศในระยะยาวจากกรุงมอสโกไปจนถึงนครเรียซัน

ในช่วงครบรอบ 50 ปีการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 1967 มีการออกอากาศโทรทัศน์สีเป็นครั้งแรก โดยเรื่มจากใน มอสโกและเลนินกราด และบนช่องโทรทัศน์ท้องถิ่นของตน โดยในปี 1973 สหภาพโซเวียตมีช่องโทรทัศน์ 6 ช่อง รวมทั้งใน 15 สาธารณรัฐ และสถานีภูมิภาคที่ให้บริการแก่ชุมชนและชุมชนชาวเมืองน้อยทั้งหมด

อ้างอิง[แก้]

  • 1990 edition of the WRTH (World Radio and Television Handbook)

แหล่งข้อมูลอืน[แก้]