โทรทัศน์ความละเอียดสูงระบบแอนะล็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรทัศน์ความละเอียดสูงระบบแอนะล็อก (อังกฤษ: Analog high-definition television system) เป็นการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกที่พัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1930 เพื่อแทนที่ระบบทดลองในยุคแรก ๆ โดยมีเพียง 12 เส้นเท่านั้น เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 บีบีซีได้เริ่มให้บริการโทรทัศน์สาธารณะความละเอียดสูงระบบแอนะล็อกเป็นครั้งแรกของโลกจากโรงละครวิกตอเรีย พระราชวังอเล็กซานดรา ทางตอนเหนือของลอนดอน[1] จึงอ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของการแพร่ภาพโทรทัศน์อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน จอห์น โลจี เบร์ด, ฟิโล ฟาร์นสเวิร์ธ และวลาดิเมียร์ สวอไรคิน มีการแข่งขันกันพัฒนาระบบโทรทัศน์แต่ละระบบ แต่ความละเอียดไม่ได้เป็นปัญหาที่แยกเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน แต่เป็นคดีข้อพิพาทเรื่องสิทธิบัตรและปัญหาการปรับใช้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงปลายทศวรรษ 1920 และ 1930

สิทธิบัตรส่วนใหญ่หมดอายุเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ทั่วโลกไม่มีมาตรฐานโทรทัศน์ มาตรฐานที่นำมาใช้ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 ได้ถูกใช้อยู่นานกว่าครึ่งศตวรรษ

ระบบ 405 เส้น ของสหราชอาณาจักรที่นำมาใช้ในปี ค.ศ. 1936 ถูกอธิบายว่าเป็น "ความละเอียดสูง" อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการเปรียบเทียบกับระบบการทดลอง 30 เส้น (ส่วนใหญ่) ในช่วงต้นทศวรรษ 1920 และจะไม่ถือว่าเป็นความละเอียดสูงตามมาตรฐานสมัยใหม่

ดูเพิ่ม[แก้]

ระบบทีวีแอนะล็อกระบบเหล่านี้มีขึ้นเพื่อแทนที่

มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูล[แก้]