แอปซอไมต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอปซอไมต์
แร่แอปซอไมต์ในถ้ำ พบที่รัฐนิวเม็กซิโก
การจำแนก
ประเภทกลุ่มซัลเฟต, โครเมต, โมลิบเดต ,ทังสเตน
สูตรเคมีMgSO4.7H2O (Hydrated magnesium sulphate)
คุณสมบัติ
สีสีขาว สีเทา สีชมพู สีอ่อน
โครงสร้างผลึกระบบออร์โธรอมบิก
ค่าความแข็ง2.0 – 2.5
ความวาววาวแบบไยไหม - วาวแบบแก้ว
ดรรชนีหักเหnα = 1.433 nβ = 1.455 nγ = 1.461
ความถ่วงจำเพาะ1.67 - 1.68
Diagnostic Featuresโปร่่งแสงถึงโปร่งใส
อ้างอิง: [1][2]

แอปซอไมต์ (อังกฤษ: Epsomite) เป็นแร่ในกลุ่มซัลเฟต, โครเมต, โมลิบเดต ,ทังสเตน

ลักษณะปรากฏ[แก้]

มีขนาดเล็ก ผลึกมีลักษณะคล้ายแท่งเข็ม ผลึกไม่มีสีถึงสีขาว ปกติพบบนเปลือกโลกมีลักษณะคล้ายหินย้อย

คุณสมบัติทางกายภาพ[แก้]

มีความแข็งอยู่ระหว่าง 2.0 – 2.5 ตามมาตราส่วนความแข็งของโมส์ สีอ่อน เปราะแตกง่าย มีรอยแตกเรียบ (Cleavage) ที่ชัดเจน มีลักษณะโปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง จะมีความวาวแบบไหม (Silky luster) ในผลึก ถ้าเป็นก้อนเนื้อแน่นจะมีลักษณะด้าน มีรสขมเมื่อละลายในน้ำ (Epsom salts) มีการรวมกันได้ง่าย

สภาพแวดล้อมในการเกิด[แก้]

เกิดจากการตกตะกอนของสารละลายน้ำแร่ร้อน พุก๊าช และเกิดในน้ำทะเล ปกติจะพบเป็นผนังของแร่ซัลไฟด์ (ไพไรต์) ในสภาวะที่มีการตกสะสมในน้ำเย็นที่มีซัลเฟต (sulfatic waters)

การเกิด[แก้]

เกิดจากการที่เปลือกโลกมีการก่อให้เกิดน้ำแร่ร้อน ที่เมืองเอพซัม ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง บริเวณใกล้กับทะเลเกลือของภูเขาครูเกอร์ ในรัฐวอชิงตัน เมืองคาร์ซแบด (Carlsbad), รัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico) สหรัฐอเมริกา มีผลึกใหญ่วัดได้ประมาณ 2-3 เมตร มีการพบในลักษณะที่การเปลี่ยนเป็นผลึกหรือเป็นผงเมื่อสูญเสียน้ำในบริเวณเมืองสตรัสซเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และในหลายเหมืองที่อยู่ในเขตแห้งแล้งในบริเวณรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา, ประเทศชิลี, ประเทศตูนิเซีย พบในหุบเขาแอนโทรนา (Antrona) ของเมืองเอลบา (Elba) และในทะเลสาบโคโม (Como) เมืองแคมพาเนีย (Campania) ประเทศอิตาลี

การใช้ประโยชน์[แก้]

นำมาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการผลิตด้านเภสัชกรรม เช่น น้ำยาฟอกหนัง , น้ำยาซักผ้า และใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษและน้ำตาล

อ้างอิง[แก้]

  • Montana, A. ,Crespi, R. and Liborio, G., 1988, Simon & Schuster ‘s guide to Rock and Minerals , Simon & Schuster Inc , New York. 607 pp.