แห้วไทย
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
แห้วไทย | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Poales |
วงศ์: | Cyperaceae |
สกุล: | Cyperus |
สปีชีส์: | C. esculentus |
ชื่อทวินาม | |
Cyperus esculentus L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
แห้วไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus esculentus) เป็นพืชอายุยืน เหง้าเรียว มีเกล็ดสีซีดห่อหุ้ม เหง้าจะฝ่อหลังจากเกิดหัว หัวรูปไข่หรือกลม หัวแก่มีขนสีเทาปกคลุม ลำต้นเรียวเล็ก แข็ง ช่อดอกคล้ายซี่ร่ม มีริ้วประดับเป็นวงรองรับช่อดอก การกระจายพันธุ์พบตั้งแต่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตอนใต้ของแอฟริกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย
หัวนำมาต้มสุกหรือคั่ว และบดละเอียดเป็นแป้ง ใช้ทำไอศกรีม ขนมปังหรือโจ๊ก ในสเปนใช้ทำเครื่องดื่มที่เรียกออร์ชาตา ทำจากน้ำคั้นจากหัวสด ลำต้นแห้งใช้สานเสื่อ งานจักสานต่าง ๆ ส่วนบนดินใช้เป็นอาหารสัตว์ หัวมีแป้ง 2030 ของน้ำหนักแห้ง มีน้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น กรดโอเลอิก
อ้างอิง[แก้]
- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544 หน้า 102 - 105
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แห้วไทย |
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Cyperus esculentus จากวิกิสปีชีส์