แรงยกตัว
แรงยกตัว (อังกฤษ: capillarity) เกิดจากส่วนของผิวของ ของเหลว ที่สัมผัสกับ ของแข็ง ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นข้างบน (เช่น น้ำ) หรือแรงกดลงล่าง (เช่น ปรอท) ต่อผิวหน้าของของเหลว เช่นนี้เป็นลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมใน หลอดแคปิลลารี่ (capillary tube) ที่วางตั้งฉากกับผิวของของเหลว แรงที่กระทำภายในหลอดแคปิลลารี่ คือ โคฮีชัน, แอดฮีชัน (adhesion) และ แรงตึงผิว (surface tension)
สมการ
[แก้]สมการเพื่อคำนวณหาความสูง, h ของของเหลวในหลอดในหน่วย (เมตร) คือ[1]
โดย:
- คือ แรงตึงผิวระหว่างน้ำ-อากาศ (J/m² or N/m)
- θ คือ มุมสัมผัส
- ρ คือ ความหนาแน่น ของของเหลว (kg/m3)
- g คือ ความเร่ง อันเนื่องมาจาก ความโน้มถ่วง (m/s²)
- r คือ รัศมี ของหลอด (m).
สำหรับน้ำในหลอดแก้วที่เปิดสู่อากาศ ณ ระดับน้ำทะเลนั้น,
ดังนั้น ความสูงของน้ำจะคำนวณได้จาก:
- .
ดังนั้น สำหรับหลอดแก้วเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร (รัศมี 1 เมตร) น้ำจะยกตัวประมาณ 0.014 มิลลิเมตร แต่สำหรับหลอดแก้วเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร (รัศมี 0.01 เมตร) น้ำจะยกตัวประมาณ 1.4 มิลลิเมตร และสำหรับหลอดแก้วเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร (รัศมี 0.001 เมตร) น้ำจะยกตัวประมาณ 140 มิลลิเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ G.K. Batchelor, 'An Introduction To Fluid Dynamics', Cambridge University Press (1967) ISBN 0-521-66396-2
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลแรงยกตัว เก็บถาวร 2006-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต