แผ่นดินไหวมิโนะ–โอวาริ ค.ศ. 1891
濃尾地震 | |
ร่องรอยการยกตัวของพื้นดินอันเนื่องมาจากการยกตัวของรอยเลื่อนเนโอดานิสามารถมองเห็นได้ตรงกลางภาพ | |
วันที่ท้องถิ่น | 28 ตุลาคม ค.ศ. 1891 |
---|---|
เวลาท้องถิ่น | 6:38 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)[1] |
ขนาด | 8.0[1][2] 7.5 [3] |
ความลึก | 10 กิโลเมตร[3] |
ศูนย์กลาง | 35°36′N 136°36′E / 35.6°N 136.6°E[1] |
ประเภท | รอยเลื่อนตามแนวเฉียง |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | แคว้นมิโนะ แคว้นโอวาริ |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | ชินโดะ 7 |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | 0.41 กรัม 400 Gal[4] |
แผ่นดินถล่ม | ~ 10,000[5] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 7,273 ราย[2] บาดเจ็บ 17,175 คน[2] |
แผ่นดินไหวมิโนะ–โอวาริ ค.ศ. 1891 (ญี่ปุ่น: 濃尾地震; โรมาจิ: Nōbi Jishin) เป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับแคว้นมิโนะ และแคว้นโอวาริ ซึ่งในปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับที่ราบโนบิ แผ่นดินไหวเกิดในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1891 มีขนาดคลื่นพื้นผิว 8.0 และขนาดมาตราขนาดโมเมนต์ 7.5 เหตุการณ์นี้เรียกว่าแผ่นดินไหวใหญ่มิโนะ-โอวาริ ค.ศ. 1891 (ญี่ปุ่น: 濃尾大地震; โรมาจิ: Nōbi Daijishin) หรือแผ่นดินไหวครั้งใหญ่กิฟุ (ญี่ปุ่น: 岐阜大地震; โรมาจิ: Gifu Daijishin) และแผ่นดินไหวครั้งใหญ่โนบิ (ญี่ปุ่น: 濃尾大地震; โรมาจิ: Nōbi Daijishin) ซึ่งเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่รู้จักกันในประเทศญี่ปุ่น
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในยุคเมจิซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม และในช่วงที่มีการพัฒนาความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในหลายสาขา ทำให้ความเสียหายจากเหตุการณ์และจำนวนผู้เสียชีวิตจึงมีความสําคัญ แผ่นดินไหวทำให้รอยเลื่อนเนโอดานิยกตัวสูงขึ้นซึ่งมองเห็นการยกตัวได้ชัดจากภาพถ่ายทางอากาศบนพื้นผิวโลก ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีโอกาสในการตรวจสอบภาคสนามและสามารถนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับผารอยเลื่อนที่มักจะเกิดหลังจากแผ่นดินไหว
บทนำ
[แก้]บันทึกของแผ่นดินไหวและสึนามิทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นมีหลักฐานมากกว่าประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ตามริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก บันทึกครั้งแรกเกิดขึ้นใน ค.ศ. 416 เอกสารทางประวัติศาสตร์เหล่านี้สนับสนุนในการตรวจสอบเพื่อหาวันที่ของแผ่นดินไหวในแคสคาเดีย ค.ศ. 1700 ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ปัญหาเกี่ยวแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นมีความสําคัญหลังจากเกิดแผ่นดินไหวนันไค ค.ศ. 1854 ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ หลังจากรัฐบาลเอโดะถูกแทนที่ด้วยจักรวรรดิในยุคเมจิได้มีการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาสังคมญี่ปุ่นตามมาตรฐานตะวันตกโดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์[6]
ในขณะที่รัฐบาลนําผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาทำงานในระหว่างการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหว ในระหว่างการจัดตั้งวิทยาศาสตร์ใหม่ด้านวิทยาแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1876 จอห์น มิลน์มาจากอังกฤษเพื่อเข้าสอนที่วิทยาลัยวิศวกรรมอิมพีเรียลในโตเกียว หลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1880 มิลน์หันสนใจแผ่นดินไหวเป็นหลักในการศึกษา แผ่นดินไหวครั้งนั้นยังก่อให้เกิดการก่อตั้งสมาคมแผ่นดินไหวแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ต่างชาติประสานงานกันในการทำงาน หลังจากนั้นไม่นานญี่ปุ่นมีองค์กรเป็นของตนเองในนามกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นซึ่งคอยควบคุมระบบการรายงานแผ่นดินไหวซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกโดยมิลน์ใน ค.ศ. 1891 และได้รับการพัฒนาโดยนักแผ่นดินไหวฟูซากิจิ โอโมริได้พัฒนากฎการสลายตัวของแผ่นดินไหวตาม [7]
ลักษณะเปลือกโลก
[แก้]เกาะหลักของญี่ปุ่นสี่เกาะคือคีวชู ชิโกกุ ฮนชู และฮกไกโดอยู่ในแนวนูนชี้ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ในขณะที่ร่องลึกก้นสมุทรที่อยู่ด้านตะวันตกของแผ่นแปซิฟิกจะนูนออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับแผ่นยูเรเชีย เปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่ที่อยู่เหนือเขตมุดตัวเคยมีความเกี่ยวข้องกับแผ่นยูเรเชียมาก่อน แต่ทางเหนือของเกาะฮนชูและฮกไกโดในทางปฏิบัตินั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นอเมริกาเหนือแต่เนื่องจากขอบเขตของแผ่นมีรอยต่อที่ไม่ดีระหว่างไซบีเรียตะวันออกและอะแลสกา และมีแผนที่ก่อตัวขึ้นใหม่ทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่นจึงเรียกแผนที่กำเนิดใหม่ว่าแผ่นโอค็อตสค์ ขอบเปลือกโลกทางตะวันตกเฉียงใต้เรียกว่าเส้นแปรสัณฐานอิโตอิงาวะ-ชิซูโอกะ เป็นบริเวณที่มีรอยเลื่อนที่ตัดผ่านความกว้างใจกลางเกาะฮนชูแต่ก็ไม่ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้ว่าจะมีการเคลื่อนไปทางตะวันตกมีรอยเลื่อนอาเตรา มิโบโระ อาโทสึงาวะ และโนบิ รอยเลื่อนเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ แต่ได้มีสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากรอยเลื่อนดังกล่าวคือแผ่นดินไหวในมิคาวะ ค.ศ. 1945 ที่ส่งผลกระทบในนาโงยะอันเนื่องมาจากรอยเลื่อนฟูโกซุ และแผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูอิ ค.ศ. 1948 ที่เกิดขึ้นใกล้กับทะเลญี่ปุ่น[6]
แผ่นดินไหว
[แก้]เหตุการณ์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1891 เป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น รอยเลื่อนมีความยาว 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) มีการกระจัดในแนวนอนสูงถึง 8 เมตร (26 ฟุต) และไถลในแนวตั้งในช่วง 2-3 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว - 9 ฟุต 10 นิ้ว) ในยุคนั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แต่อยู่ตื้น ๆ เป็นผลมาจากหินหนืดเคลื่อนตัวใต้ดินหรือแม้แต่การระเบิดใต้ดิน าสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียลบุนจิโร โคโตะได้รับอิทธิพลจากรอยแตกของพื้นผิวจนเขาหักล้างความเชื่อดั้งเดิมและประกาศว่าการไถลรอยเลื่อนอย่างฉับพลันเป็นสาเหตุและไม่ใช่แค่ผลรองที่ตามมาของเหตุการณ์เท่านั้น [5][8]
แผ่นดินไหวได้รับการบันทึกด้วยเครื่องวัดแผ่นดินไหวของจอห์น มิลน์ที่สถานีสังเกตการณ์สภาพอากาศกิฟุ นาโงยะ โอซากะ และโตเกียว รวมถึงสถานีที่มหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล แม้ว่าหน่วยจะลดขนาดลงคลื่นแผ่นดินไหววัดได้ที่กิฟุ 8.5 วินาที นาโงยะ 13.5 วินาที กราฟแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นนั้นมีประโยชน์ต่อนักแผ่นดินไหววิทยาในการพัฒนาความเข้าใจในกระบวนการการแตกร้าวของรอยเลื่อน บันทึกจากสถานีกิฟุและนาโงยะมีประโยชน์อย่างยิ่งเนื่องจากอยู่ใกล้กับเขตรอยเลื่อนมากที่สุด [3][4]
-
ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว
-
หอรําลึกแผ่นดินไหวอุทิศให้กับผู้ประสบภัยในจังหวัดกิฟุ
รอยเลื่อนพื้นผิว
[แก้]ภายในหลายทศวรรษแรกก่อนเหตุการณ์ โคโต และโอโมริ ได้บันทึกรอยแยกที่ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งสามารถมองเห็นได้บนพื้นผิว หลังจากการตรวจสอบในภายหลังโดยมัตสึตะ เปิดเผยว่าวิจัยภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหวนั้นเป็นไปตามแนวโน้มตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไป การสํารวจในปี 1974 ของมัตสึดะยังสามารถบันทึกรอยเลื่อนแบบสังยุคซึ่งไม่ต่อเนื่องกันได้เรียงตัวกันในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และระบุการจัดเรียงว่าระบบรอยเลื่อนโนบิ การปริแตกของพื้นผิวไม่ได้ขยายไปตลอดระยะทางทั้งหมดของรอยเลื่อนในแต่ละจุด ส่วนรอยเลื่อนนูกูมิยาว 20 กม. (12 ไมล์) โดยมีออฟเซ็ตสูงสุด 3 ม. (9.8 ฟุต) รอยเลื่อนเนโอดานิ และอูเมฮาระ มีความยาวที่สามารถตรวจพบบนพื้นดิน 35 กม. (22 ไมล์) และมีออฟเซ็ตสูงสุด 8 ม. (26 ฟุต) และ 5 ม. (16 ฟุต) ตามลําดับ[4]
ความเสียหาย
[แก้]แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นใกล้กับนาโงยะและรู้สึกได้ทั่วประเทศ แต่รุนแรงที่สุดในภาคจูบุ (ภาคกลางของญี่ปุ่น) เมืองกิฟุและโองากิได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากไฟไหม้ แต่โอซากะและนาโงยะก็ได้รับความเสียหายไม่ต่างกัน แรงสั่นสะเทือนสามารถรู้สึกได้ถึงโตเกียวกินเวลาหลายนาทีแรงสั่นรุนแรงจนสามารถขยับสิ่งของออกจากชั้นวางและสามารถทำให้นาฬิกาหยุดหมุนได้ [9]
รายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับภัยพิบัติจากอาซาฮีชิมบุนของโตเกียวให้รายละเอียดที่จำกัดเท่านั้น หนังสือพิมพ์อาซาฮีระบุว่าอาคารใหม่ของกระทรวงมหาดไทยในโตเกียวมีปล่องไฟพังลงมาหลายตัว และสาเหตุของไฟดับและการสูญเสียพลังงานในโยโกฮามะเนื่องจากมีปล่องไฟอิฐตกลงมาที่โรงไฟฟ้าและทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายที่นั่น วันถัดมาหนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์ภาพบ้านหลายหลังพังทลายลงและอาคารอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็ได้รับความเสียหายในโอซากะรวมถึงโรงงานสิ่งทอผ้าฝ้ายนานิวา ซึ่งเป็นอาคารอิฐสามชั้นสไตล์ตะวันตกแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนเนื่องจากมีการรายงานขอบเขตที่ชัดเจนขึ้นและสามารถประเมินความเสียหายได้ ก็ได้มีเอกสารฉบับเดียวกันรายงานว่าบ้านและอาคารกว่า 1,000 หลังพังทลายลงในนาโงยะ[9]
แผ่นดินไหวตาม
[แก้]มีรายงานแผ่นดินไหวตามมากกว่า 3,000 ครั้ง โดยหอดูดาวสภาพอากาศกิฟุในช่วง 14 เดือนหลังจากเหตุการณ์จากการศึกษาในปี 1976 โดยทาเกชิมิกุโมะและมาซาทากะอันโดะยังคงตรวจพบแรงสั่นสะเทือนประมาณ 3-4 ครั้งต่อปี การศึกษาของมหาวิทยาลัยหลายแห่งเกี่ยวการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้ดําเนินการในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 พบว่าพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรอยเลื่อนเนโอดานิและพื้นที่ใกล้กับกิฟุและอินูยามะในจังหวัดไอจิมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กสูงขึ้น [4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Utsu, T. R. (2002), "A List of Deadly Earthquakes in the World: 1500–2000", International Handbook of Earthquake & Engineering Seismology, Part A, Volume 81A (First ed.), Academic Press, p. 701, ISBN 978-0-12-440652-0
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Elnashai, A. S. (2002), "A very brief history of earthquake engineering with emphasis on developments in and from the British Isles" (PDF), Chaos, Solitons and Fractals, 13 (5): 969, Bibcode:2002CSF....13..967E, doi:10.1016/S0960-0779(01)00107-2, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-02, สืบค้นเมื่อ 2014-01-19
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Fukuyama, E.; Muramatu, I.; Mikumo, T. (2007), "Seismic moment of the 1891 Nobi, Japan, earthquake estimated from historical seismograms" (PDF), Earth, Planets and Space, 59 (6): 553–559, Bibcode:2007EP&S...59..553F, doi:10.1186/BF03352717, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-16, สืบค้นเมื่อ 2022-03-20
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Mikumo, T.; Ando, M. (1976), "A search into the faulting mechanism of the 1891 great Nobi earthquake", Journal of Physics of the Earth, 24: 65–67, 73, doi:10.4294/jpe1952.24.63
- ↑ 5.0 5.1 Bolt, B. (2005), Earthquakes: 2006 Centennial Update – The 1906 Big One (Fifth ed.), W. H. Freeman and Company, p. 59, ISBN 978-0-7167-7548-5
- ↑ 6.0 6.1 Yeats, R. (2012), Active Faults of the World, Cambridge University Press, pp. 395–399, 434, 435, ISBN 978-0-521-19085-5
- ↑ Agnew, D. C. (2002), "History of Seismology" (PDF), International Handbook of Earthquake & Engineering Seismology, Part A, Volume 81A (First ed.), Academic Press, pp. 5, 6, ISBN 978-0-12-440652-0
- ↑ Yeats, R. S.; Sieh, K. E.; Allen, C. R. (1997). The Geology of Earthquakes. Oxford University Press. pp. 114, 115. ISBN 978-0-19-507827-5.
- ↑ 9.0 9.1 Clancey, G. (2006), Earthquake Nation: The Cultural Politics of Japanese Seismicity, University of California Press, pp. 113–115, ISBN 978-0-520-24607-2
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Clancey, Gregory (2006), "The Meiji Earthquake: Nature, Nation, and the Ambiguities of Catastrophe", Modern Asian Studies, 40 (4): 909–951, doi:10.1017/S0026749X06002137, JSTOR 3876638, S2CID 145536180
- Davison, Charles (1901). "The Great Japanese Earthquake of October 28, 1891". The Geographical Journal. 17 (6): 635–655. doi:10.2307/1775216. ISSN 0016-7398.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Mino Earthquake – National Museum of Nature and Science (ในภาษาญี่ปุ่น)
- Burton, W.K.; Ogawa, K; Milne, John (1894). Great Earthquake In Japan 1891. Yokohama, Japan: Lane, Crawford & Co. OCLC 3617644.