แผ่นดินไหวในไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พิกัด: 43°34′59″S 172°40′48″E / 43.583°S 172.680°E / -43.583; 172.680
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ภาพถ่ายอาสนวิหารไครสต์เชิร์ชที่ได้รับความเสียหายจากทางอากาศ
แผ่นดินไหวในไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554ตั้งอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์
แผ่นดินไหวในไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
เวลาสากลเชิงพิกัด2011-02-21 23:51:42
รหัสเหตุการณ์ ISC16168897
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น22 กุมภาพันธ์ 2544 (2544-02-22)
เวลาท้องถิ่น12:51 p.m. NZDT
ขนาด6.2 Mw(GCMT)[2]
6.1 Mw(USGS)[1]
ความลึก5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์)
ศูนย์กลาง43°34′59″S 172°40′48″E / 43.583°S 172.680°E / -43.583; 172.680[1]
พอร์ตฮิลส์ ใกล้กับไครสต์เชิร์ช แคว้นแคนเทอร์เบอรี นิวซีแลนด์
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนิวซีแลนด์
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง) [1]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน1.51 g[3][4]
สึนามิ3.5 เมตร (11 ฟุต) คลื่นสึนามิในทะเลสาบแทสมัน เกิดจากธารน้ำแข็งไถลลงทะเล[5][6]
แผ่นดินถล่มซัมเนอร์ และ เรดคลิฟส์
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 185 คน[7][8]
บาดเจ็บ 1,500–2,000 คน
สาหัส 164 คน[9]

แผ่นดินไหวในไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงแก่ไครสต์เชิร์ช ซึ่งเป็นนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 185 คน ในเหตุการณ์ซึ่งมีการบรรยายว่าเป็นหนึ่งในภัยพิบัติครั้งเลวร้ายที่สุดในยามสงบของชาติ

เกิดแผ่นดินไหวแมกนิจูด 6.3 [10] ขึ้นในเขตแคนเทอร์เบอรีทางเกาะใต้ของประเทศ เมื่อเวลา 12.51 น. ของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (23.51 น. ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ UTC)[10][11] แผ่นดินไหวมีศูนย์กลางห่างจากเมืองลิตเทลตันไปทางตะวันตก 2 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางนครไครสต์เชิร์ชไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นนครที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับสองในนิวซีแลนด์[10] อีกหกเดือนให้หลัง ได้เกิดแผ่นดินไหวที่เขตแคนเทอร์เบอรีขนาด 7.1 เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งส่งผลให้เกิดควาเสียหายอย่างสำคัญแก่ไครสต์เชิร์ชและเขตแคนเทอร์เบอรีตอนกลาง แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตโดยตรง

แผ่นดินไหวนี้เป็นผลให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้างทั่วนครไครสต์เชิร์ช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครตอนกลางและชานนครทางตะวันออก ซึ่งความเสียหายทวีความเลวร้ายลงหลังอาคารและโครงสร้างพื้นฐานได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553 และแผ่นดินไหวตาม ภาวะดินเหลวสำคัญมีผลต่อชานนครทางตะวันออก ทำให้มีทรายแป้ง (slit) ประมาณ 400,000 ตัน มีการรายงานว่า แผ่นดินไหวนี้สามารถรับรู้ได้ทั่วเกาะใต้และเกาะเหนือตอนล่างและตอนกลาง

รวมทั้งสิ้นแล้ว มีผู้เสียชีวิตในเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ 185 คน[7][8] จึงนับได้ว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองเท่าที่มีการบันทึกในนิวซีแลนด์ (หลังแผ่นดินไหวอ่าวฮอว์ก พ.ศ. 2474) และเป็นภัยพิบัติทุกประเภทครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสี่เท่าที่มีการบันทึกในนิวซีแลนด์ โดยมีพลเมืองกว่า 20 ประเทศเป็นผู้เสียชีวิต[12] ผู้เสียชีวิตเกินครึ่งติดอยู่ในอาคารโทรทัศน์แคนเทอร์เบอรีหกชั้น ซึ่งถล่มลงมาและเกิดเพลิงไหม้ในเหตุแผ่นดินไหว รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งยังมีผลบังคับถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554[13]

มีการประเมินว่ามูลค่าทั้งหมดในการบูรณะต่อบริษัทประกันภัยจะตกอยู่ระหว่าง 2-3 หมื่นล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์[14][15] จึงนับว่าเป็นภัยธรรมชาติครั้งที่แพงที่สุดของนิวซีแลนด์จนถึงปัจจุบัน และเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่แพงที่สุดอันดับสาม (แต่ในนาม) ทั่วโลก[16]

แผนดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวครั้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดในรอบปีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไครสต์เชิร์ช แผ่นดินไหวนี้ได้เกิดแผ่นดินไหวตามใหญ่เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน (ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมอีก) และแผ่นดินไหวตามชุดใหญ่ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "M 6.1 – South Island of New Zealand". Earthquake Hazards Program. United States Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2019. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  2. "M 6.2 Christchurch Tue, Feb 22 2011: Technical". GeoNet. GNS Science. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  3. Goto, Hiroyuki; Kaneko, Yoshihiro; Naguit, Muriel; Young, John (5 January 2021). "Records of Extreme Ground Accelerations during the 2011 Christchurch Earthquake Sequence Contaminated by a Nonlinear, Soil–Structure Interaction". Bulletin of the Seismological Society of America. 111 (2): 704–722. Bibcode:2021BuSSA.111..704G. doi:10.1785/0120200337. S2CID 233531749.
  4. "Deadly Christchurch quake's record ground-shaking lower than first thought". Stuff. 15 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2021. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021.
  5. "Ice breaks off glacier after Christchurch quake". ABC News. 22 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  6. "Earthquake causes glacier to calve". Stuff.co.nz. 23 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  7. 7.0 7.1 "Official quake toll rises to 185". Stuff.co. 9 February 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2012. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
  8. 8.0 8.1 "List of deceased – Christchurch earthquake". New Zealand Police. 8 September 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2011. สืบค้นเมื่อ 26 December 2011.
  9. "Earthquake death toll reaches 113". Stuff. 25 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2012. สืบค้นเมื่อ 30 September 2011.
  10. 10.0 10.1 10.2 "New Zealand Earthquake Report – Feb 22 2011 at 12:51 p.m. (NZDT)". GeoNet. Earthquake Commission and GNS Science. 22 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 22 February 2011.
  11. M6.3 – South Island of New Zealand, USGS
  12. "Earthquake toll rises to 145". New Zealand Herald. 26 February 2011. สืบค้นเมื่อ 26 February 2011.
  13. "State of emergency lifted in Christchurch". 3 News. 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 6 May 2011.
  14. Rotherham, Fiona (10 May 2011). "Quake rebuild will eat into GDP". Stuff.co.nz. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  15. Buhayar, Noah; Greber, Jacob; Saminather, Nichola (23 February 2011). "New Zealand's Earthquake May Become Costliest Insured Disaster Since 2008". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  16. Scott Murdoch; Andrew Fraser (24 February 2011). "Disaster could cost insurance sector $12bn". The Australian. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]