แผ่นดินไหวในรัฐเวอร์จิเนีย พ.ศ. 2554

พิกัด: 37°56′10″N 77°55′59″W / 37.936°N 77.933°W / 37.936; -77.933
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในรัฐเวอร์จิเนีย พ.ศ. 2554
Shake map showing the epicenter of the earthquake in Virginia
Shake map
แผ่นดินไหวในรัฐเวอร์จิเนีย พ.ศ. 2554ตั้งอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย
แผ่นดินไหวในรัฐเวอร์จิเนีย พ.ศ. 2554
แผ่นดินไหวในรัฐเวอร์จิเนีย พ.ศ. 2554ตั้งอยู่ในสหรัฐ
แผ่นดินไหวในรัฐเวอร์จิเนีย พ.ศ. 2554
เวลาสากลเชิงพิกัด2011-08-23 17:51:04
รหัสเหตุการณ์ ISC17331323
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น23 สิงหาคม 2554 (2554-08-23)[1]
เวลาท้องถิ่น1:51:04 pm EDT
ขนาด5.8 Mw[1]
ความลึก6 กิโลเมตร (4 ไมล์)[1]
ศูนย์กลาง37°56′10″N 77°55′59″W / 37.936°N 77.933°W / 37.936; -77.933
ประเภทตามแนวมุมเท (ย้อน)
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแคนาดา, สหรัฐ
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง) [2][3]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.26 g[4]
ผู้ประสบภัยบาดเจ็บหลายราย

แผ่นดินไหวในรัฐเวอร์จิเนีย พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เมื่อเวลา 19.51 น. ตามเวลาท้องถิ่น (17:51 UTC) ในพื้นที่เปียดมอนต์ของรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในลุยซาเคาน์ตี ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของริชมอนด์ 61 กิโลเมตร และ 8 กิโลเมตรทางใต้-ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองมิเนอรัล 8 กิโลเมตร[1][5] แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวระหว่างแผ่นเปลือกโลกโดยมีวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 5.8 และวัดความรุนแรงได้ระดับ 7 ตามมาตราเมร์กัลลี[2] เกิดแผ่นดินไหวตามหลายครั้ง ซึ่งมีขนาดใหญ่สุด 4.5 เกิดขึ้นหลังการสั่นสะเทือนหลัก[6]

แผ่นดินไหวดังกล่าว ร่วมกับแผ่นดินไหวขนาด 5.8 บนชายแดนนิวยอร์ก-ออนแทรีโอ ใน พ.ศ. 2487 เป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาทางตะวันออกของเทือกเขาร็อกกีตั้งแต่แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2440 ซึ่งมีศูนย์กลางในกิลส์เคาน์ตีในเวอร์จิเนียตะวันตก[7][8] โดยมีความรุนแรงประเมินไว้ที่ 5.8[9] หรือขนาด 5.9 [10]

แผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรู้สึกได้ในหลายสิบรัฐของสหรัฐอเมริกาและในหลายรัฐของแคนาดา แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตและมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[11][12]

พบความเสียหายเล็กน้อยต่ออาคารเป็นวงกว้าง ความเสียหายประเมินโดยธุรกิจจำลองความเสี่ยงแห่งหนึ่งอยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยมีการประกันภัยราว 100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Magnitude 5.8 – Virginia". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2011. สืบค้นเมื่อ August 23, 2011.
  2. 2.0 2.1 "M 5.8 – 11 km SSW of Mineral, Virginia". earthquake.usgs.gov. USGS. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021.
  3. "Pager– M 5.8– Virginia". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2015. สืบค้นเมื่อ August 23, 2011.
  4. Jibson, R. W.; Harp, E. L. (2012), "Extraordinary Distance Limits of Landslides Triggered by the 2011 Mineral, Virginia, Earthquake" (PDF), Bulletin of the Seismological Society of America, 102 (6): 2369, Bibcode:2012BuSSA.102.2368J, doi:10.1785/0120120055, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 6, 2015, สืบค้นเมื่อ February 7, 2016
  5. "Earthquake strikes US east coast, felt all the way down in Orlando, FL reported by KCNSEN". BBC. August 24, 2011. สืบค้นเมื่อ 23 August 2011.
  6. "Earthquake List for Map Centered at 38°N, 78°W". Earthquake Hazards Program. United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 26 August 2011.
  7. "Largest Earthquakes by State, List of Earthquakes". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ August 23, 2011.
  8. "Historic United States Earthquakes Sorted by State & Date". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-06. สืบค้นเมื่อ August 24, 2011.
  9. "Seismicity of the United States, 1568-1989 (Revised) by Carl W. Stover and Jerry L. Coffman (United States Geological Survey Professional Paper 1527, 1993, pages 376-378)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ August 23, 2011.
  10. "Historic Earthquakes". earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ August 23, 2011.
  11. Dolak, Kevin, and Jessica Hopper. "Earthquake Aftermath: National Landmarks Damaged". ABC News. สืบค้นเมื่อ 27 August 2011.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Anderson, Rebecca. "Earthquake... in Virginia?". Associated Press. สืบค้นเมื่อ August 24, 2011.
  13. Carol Morello and Ovetta Wiggins, "Region tallies earthquake damage, mostly uninsured" (August 24, 2011). Washington Post.
  14. Estimate by the Oakland, California-based catastrophe modeling and risk assessment firm EQECAT, which further estimated that only 5 percent of East Coast property owners have earthquake coverage. Mark A. Hofmann, "Insured losses in East Coast earthquake less than $100M: EQECAT" (August 24, 2011). Business Insurance.