แผนภาพโวโรนอย
หน้าตา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
แผนภาพโวโรนอย (อังกฤษ: Voronoi diagram) เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่สำคัญที่ใช้ในการคำนวณเชิงเรขาคณิต โดยแผนภาพนี้ใช้ทำการบันทึกข้อมูลว่าอะไรอยู่ใกล้กับอะไร
คำจำกัดความ
[แก้]ให้ เป็นเซตของจุดที่สนใจ (sites) n จุด ในระนาบ แผนภาพโวโรนอยของ P คือ การแบ่งส่วนระนาบออกเป็นเซลล์ V(pi) จำนวน n เซลล์ (1 เซลล์ ต่อ 1 site) จุด q คือ จุดที่อยู่ในเซลล์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ site pi โดยที่ กล่าวคือ
สมบัติของแผนภาพโวโรนอย
[แก้]- เส้นเชื่อมโวโรนอย (voronoi edge) : แต่ละจุดบนเส้นเชื่อมของ แผนภาพโวโรนอย คือ จุดที่มีระยะห่างระหว่างไซท์สองไซท์ (pi, pj) ที่อยู่ติดกันเป็นระยะเท่ากัน และ ณ จุดนั้นเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมซึ่งมี pi และ pj สัมผัสอยู่ที่เส้นวง และไม่มีไซท์อื่นๆ อยู่ภายในวงนั้นๆ
- voronoi vertex : จุดที่เกิดจากการที่ เซลล์สามเซลล์มาบรรจบกัน ซึ่งจาก voronoi vertex นั้น จะมีระยะห่างจากไซท์ทั้งสาม เป็นระยะเท่าๆ กัน และ ณ จุดนั้น เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมซึ่งเส้น
- รอบวงลากผ่านไซท์เหล่านั้นพอดี และไม่มีไซท์อื่นๆ อยู่ภายในวงนั้นๆ
- ดีกรี (degree) : หากเราสร้างแผนภาพให้แต่ละ vertex ไม่มีไซ์ในเส้นวง เป็น 4 ไซท์ จะได้ว่า ทุกจุดยอด มีดีกรีเท่ากับ 3
- ขนาด (size) : ให้ n คือ จำนวน sites ทั้งหมด และ แผนภาพโวโรนอยเป็นพลาน่ากราฟที่มีหน้า n หน้าจะได้ว่า จำนวน voronoi vertex ทั้งหมดมีจำนวน 2n – 5 จุดยอด และ จำนวนเส้นเชื่อมโวโรนอยทั้งหมด มีจำนวน 3n – 6 เส้นเชื่อม