แบล็กเบิร์ดดิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใน ค.ศ. 1869 เอชเอ็มเอส Rosario เข้าจับกุม Daphne ซึ่งเป็นเรือใบของกลุ่มแบล็กเบิร์ดเดอร์และปลดปล่อยกลุ่มแบล็กเบิร์ดให้เป็นอิสระ[1]

แบล็กเบิร์ดดิง (อังกฤษ: blackbirding) เป็นการบังคับผู้คนด้วยการหลอกลวงหรือการลักพาตัวให้ทำงานเป็นทาสหรือแรงงานค่าจ้างต่ำในประเทศที่ห่างไกลจากบ้านเกิด ศัพท์นี้โดยทั่วไปแล้วใช้กับกระบวนการขนาดใหญ่ที่นำชาวพื้นเมืองไปสู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้คนที่ถูกบังคับ (blackbirded people) กลุ่มนี้ถูกเรียกว่ากานากาหรือชาวหมู่เกาะทะเลใต้ พวกเขามักถูกนำมาจากหมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู นีวเว เกาะอีสเตอร์ หมู่เกาะกิลเบิร์ต ตูวาลู และเกาะต่าง ๆ ของกลุ่มเกาะบิสมาร์กและที่อื่น ๆ

นายทาส กัปตัน และลูกเรือที่เกี่ยวข้องถูกเรียกว่า "แบล็กเบิร์ดเดอร์" (blackbirder) ความต้องการแรงงานราคาถูกเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วมีที่มาจากชาวยุโรปที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในนิวเซาท์เวลส์ ควีนส์แลนด์ ซามัว นิวแคลิโดเนีย ฟีจี ตาฮีตี และฮาวาย รวมไปถึงไร่นาขนาดใหญ่ในเปรู เม็กซิโก และกัวเตมาลา การใช้แรงงานในไร่อ้อย ฝ้าย และกาแฟในดินแดนเหล่านี้เป็นกลุ่มหลักที่ต้องการแรงงานจากแบล็กเบิร์ดดิง และมีการใช้คนกลุ่มนี้เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นอีกด้วย เรือที่ปฏิบัติการแบล็กเบิร์ดดิงเริ่มตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1840 และทำเรื่อยมาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 แบล็กเบิร์ดเดอร์จากทวีปอเมริกาแสวงหาแรงงานสำหรับใช้งานในไร่นาของตนและทำเหมืองปุ๋ยขี้นกบนเกาะชินชา[2] ขณะที่แบล็กเบิร์ดเดอร์ชาวยุโรปในควีนส์แลนด์ ฟีจี และนิวแคลิโดเนียใช้แรงงานคนกลุ่มนี้ในการทำไร่อ้อย[3][4]

ตัวอย่างของแบล็กเบิร์ดดิงนอกแปซิฟิกใต้ เช่น ช่วงแรกของอุตสาหกรรมไข่มุกในออสเตรเลียตะวันตกที่อ่าวนิกโคลและบรูมที่ชาวอะบอริจินถูกนำตัวมาจากพื้นที่โดยรอบ[5] การปฏิบัติที่คล้ายกับแบล็กเบิร์ดดิงยังคงมีมาอยู่จนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างหนึ่งคือการลักพาตัวและการบังคับด้วยปืนกับชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางให้ทำงานเป็นแรงงานในไร่นาในภูมิภาคนั้น ๆ พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างหนัก และทำงานหนักโดยได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Emma Christopher, Cassandra Pybus and Marcus Buford Rediker (2007). Many Middle Passages: Forced Migration and the Making of the Modern World, University of California Press, pp. 188–190. ISBN 0-520-25206-3.
  2. Maude, H.E. (1981). Slavers in Paradise. ANU Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2019. สืบค้นเมื่อ 4 July 2019.
  3. Willoughby, Emma. "Our Federation Journey 1901–2001" (PDF). Museum Victoria. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 June 2006. สืบค้นเมื่อ 14 June 2006.
  4. Reid Mortensen, (2009), "Slaving In Australian Courts: Blackbirding Cases, 1869–1871" เก็บถาวร 18 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Journal of South Pacific Law, 13:1, accessed 7 October 2010
  5. Collins, Ben (2018-09-09). "Reconciling the dark history of slavery and murder in Australian pearling, points to a brighter future". ABC News. Australian Broadcasting Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-03-06.
  6. Roberts, J. Timmons; Thanos, Nikki Demetria (2003). Trouble in Paradise: Globalization and Environmental Crises in Latin America. Routledge, London and New York. p. vii.