แต้ฮวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แต้ฮวย
250px
ใบและดอกแต้ฮวย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Theaceae
สกุล: Camellia
สปีชีส์: C.  japonica
ชื่อทวินาม
Camellia japonica
L.

แต้ฮวย แต้ฮั้งฮวย ชาญี่ปุ่น หรือ ชากุหลาบแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Camellia japonica) เป็นหนึ่งในชนิดพรรณไม้ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดของสกุลชา (Camellia) ในวงศ์ชา (Theaceae) พันธุ์ป่าพบได้ในจีนแผ่นดินใหญ่ (มณฑลชานตงและภาคตะวันออกของมณฑลเจ้อเจียง) ไต้หวัน เกาหลีใต้ และภาคใต้ของญี่ปุ่น[2] โดยเติบโตในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 300–1,100 เมตร[3] พันธุ์ปลูกมีหลายพันธุ์ซึ่งมีสีและลักษณะของดอกแตกต่างกันไป

แต้ฮวยเป็นไม้พุ่มมีดอก โดยทั่วไปสูง 1.5–6 เมตร แต่บางครั้งสูงได้ถึง 11 เมตร กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลอมม่วงซึ่งจะกลายเป็นสีน้ำตาลอมเทาเมื่อแก่ขึ้น ใบมีลักษณะคล้ายแผ่นหนัง เรียงสลับ มีสีเขียวสดด้านบนและสีเขียวซีดด้านล่าง โดยทั่วไปยาว 5–11 เซนติเมตร และกว้าง 2.5–6 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยถี่ และปลายใบค่อนข้างแหลม[3] พันธุ์ป่าออกดอกในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ดอกปรากฏค่อนไปทางปลายกิ่งและมีก้านดอกสั้นมาก เป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ มีกลีบซ้อนกัน 6–7 กลีบ (พันธุ์ปลูกมักมีกลีบดอกมากกว่า) แต่ละกลีบยาว 3–4.5 เซนติเมตร และกว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร มีสีแดงเลือดนก ชมพู หรือสีขาว ผลเป็นทรงค่อนข้างกลม แบ่งเป็นสามช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดสีน้ำตาลขนาดใหญ่ 1–2 เมล็ด มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–2 เซนติเมตร พันธุ์ป่าติดผลในเดือนกันยายนถึงตุลาคม[3]

ใบของแต้ฮวยอุดมไปด้วยสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์อย่างลูพีออลและสเกวลีนซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wheeler, L., Su, M. & Rivers, M.C. (2015). Camellia japonica. The IUCN Red List of Threatened Species 2015: e.T62054114A62054131. https://doi.org/10.2305/IUCN.UK.2015-4.RLTS.T62054114A62054131.en. Retrieved 22 October 2018.
  2. Botanica. The Illustrated AZ of over 10000 garden plants and how to cultivate them, p 176-177. Könemann, 2004. ISBN 3-8331-1253-0
  3. 3.0 3.1 3.2 Min, Tianlu; Bartholomew, Bruce. Camellia japonica. สืบค้นเมื่อ 2011-11-18., in Wu, Zhengyi; Raven, Peter H.; Hong, Deyuan, บ.ก. (1994), Flora of China, Beijing; St. Louis: Science Press; Missouri Botanical Garden, สืบค้นเมื่อ 2011-10-01
  4. Majumder, Soumya; Ghosh, Arindam; Bhattacharya, Malay (2020-08-27). "Natural anti-inflammatory terpenoids in Camellia japonica leaf and probable biosynthesis pathways of the metabolome". Bulletin of the National Research Centre. 44 (1): 141. doi:10.1186/s42269-020-00397-7. ISSN 2522-8307.