แจ็ก ดองการ์รา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แจ็ก ดองการ์รา

ดองการ์ราในปี ค.ศ. 2022
เกิด (1950-07-18) 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1950 (73 ปี)
ชิคาโก, อิลลินอยส์, สหรัฐ
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจากEISPACK, LINPACK, BLAS, LAPACK, ScaLAPACK,[1][2] Netlib, PVM, MPI,[3] NetSolve,[4] Top500, ATLAS,[5] และ PAPI[6]
รางวัล
  • สมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (2023)
  • รางวัลทัวริง (2021)
  • รางวัลไออีอีอีคอมพิวเตอร์ไพโอเนียร์ (2020)
  • สมาชิกนานาชาติราชสมาคมสหราชอาณาจักร (2019)
  • รางวัลเอสไอเอ็มเอ/เอซีเอ็มสาขาวิทยาศาสตร์การคำนวณและวิศวกรรม (2019)
  • รางวัลเอซีเอ็ม/ไออีอีอีเคนเคเนดี (2013)
  • รางวัลไออีอีอีชาร์ลแบบบิจ (2011)
  • รางวัลเอสไอเอมเอ เอสไอเอจี/ซุปเปอร์คอมพิวติงคาเรียร์ (2010)
  • สมาชิกเอสไอเอเอ็ม (2009)
  • เหรียญไออีอีอี ด้านการคำนวณที่ตรวจวัดได้ (2008)
  • รางวัลสมาคมไออีอีอีคอมพิวเตอร์ซิดนีย์เฟิร์นแบชเมโมเรียล (2003)
  • สมาชิกสถาบันวิศวกรรมแห่งชาติสหรัฐ (2001)
  • สมาชิกเอซีไอเอ็ม (2001)
  • สมาชิกไออีอีอี (1999)
  • สมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าแห่งชาติสหรัฐ (1994)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
วิทยาศาสตร์การคำนวณ
การคำนวณคู่ขนาน
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเทนเนสซี
มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก
มหาวิทยาลัยไรซ์
ห้องปฏิบัติการแห่งชาติอาร์กอนน์
ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊กริดจ์
มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
วิทยานิพนธ์Improving the Accuracy of Computed Matrix Eigenvalues (1980)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกคลีฟ โมเลอร์[7]
เว็บไซต์netlib.org/utk/people/JackDongarra/ แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

แจ็ก โจเซฟ ดองการ์รา FRS [8] (อังกฤษ: Jack Joseph Dongarra; เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493) เป็น นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน เขาเป็นอาจารย์พิเศษด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี [9] เขาดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิจัยพิเศษในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊กริดจ์ สมาชิกทัวริงใน สาขาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และอาจารย์ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยไรซ์[10] เขาทำหน้าที่เป็นคณาจารย์ที่ สถาบันการศึกษาขั้นสูงมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม (2014–2018) [11] เขาเป็นผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมการคำนวณที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี [12] แจ็ก ดองการ์ราได้รับรางวัลทัวริง ในปี ค.ศ. 2021

การศึกษา[แก้]

ดองการ์ราได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐชิคาโก ในปี ค.ศ. 1972 และในปี ค.ศ. 1973 ระดับปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ ในปี ค.ศ. 1980 เขาได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา คลีฟ โมเลอร์

การวิจัยและอาชีพ[แก้]

ดองการ์ราทำงานที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติอาร์กอนน์จนถึงปี ค.ศ. 1989 กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ เขาเชี่ยวชาญในอัลกอริธึมเชิงจำนวน ในพีชคณิตเชิงเส้น การคำนวณคู่ขนาน การใช้สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง หลักการเขียนโปรแกรม และเครื่องมือสำหรับเครื่องคณิตกรณ์แบบขนาน งานวิจัยของเขายังเกี่ยวกับการพัฒนา การทดสอบ และการจัดทำเอกสารซอฟต์แวร์ทางคณิตศาสตร์คุณภาพสูง เขามีส่วนในการออกแบบและการประยุกต์ใช้งานแพ็กเกจซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ อาทิ EISPACK, ลินแพ็ก, พีชคณิตเชิงเส้นพืั้นฐานโปรแกรมย่อย (BLAS) แพ็กเกจพีชคณิตเชิงเส้น (LAPACK), ScaLAPACK, เครื่องจักรคู่ขนานเสมือน (PVM), อินเทอร์เฟซส่งผ่านข้อความ (MPI), [3] เน็ตโซลฟ์, TOP500, ซอฟต์แวร์พีชคณิตเชิงเส้นปรับอัตโนมัติ (ATLAS), ไฮเพอร์ฟอร์มานซ์คอนจังชันเกรเดียน (HPCG) [13] [14] และ อินเทอร์เฟซประสิทธิภาพการโปรแกรมแอปพลิเคชัน (PAPI) ไลบรารีเหล่านี้มีความแม่นยำในด้านอัลกอริธึมเชิงตัวเลขพื้นฐาน ตลอดจนความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ [15] พวกเขาให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ในวงกว้างมากผ่านการรวมเข้ากับซอฟต์แวร์ ได้แก่ แม็ตแลบ, เมเพิล, วุลแฟรมแมทเทแมทิคา, กนูอ็อกเตฟ, ภาษาอาร์, ไซไพ และอื่นๆ [15]

เขา ร่วมกับอิริก กรอซซ์เป็นผู้บุกเบิกการเผยแพร่รหัสโอเพนซอร์ซเชิงตัวเลขผ่านทางอีเมลและเว็บซึ่งรวบรวมไว้ในเน็ตลิบ เขาได้ตีพิมพ์บทความ เอกสาร รายงาน และบันทึกเชิงเทคนิคราว 300 เล่ม และเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือหลายเล่ม เขาร่วมงานกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊กริดจ์ และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็นสมาชิกทัวริง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 [16] [17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Choi, J.; Dongarra, J. J.; Pozo, R.; Walker, D. W. (1992). "ScaLAPACK: a scalable linear algebra library for distributed memory concurrent computers". Proceedings of the Fourth Symposium on the Frontiers of Massively Parallel Computation. p. 120. doi:10.1109/FMPC.1992.234898. ISBN 978-0-8186-2772-9. S2CID 15496519.
  2. "ScaLAPACK — Scalable Linear Algebra PACKage". Netlib.org. สืบค้นเมื่อ December 1, 2022.
  3. 3.0 3.1 Gabriel, E.; Fagg, G. E.; Bosilca, G.; Angskun, T.; Dongarra, J. J.; Squyres, J. M.; Sahay, V.; Kambadur, P.; Barrett, B. (2004). "Open MPI: Goals, Concept, and Design of a Next Generation MPI Implementation". Recent Advances in Parallel Virtual Machine and Message Passing Interface. Lecture Notes in Computer Science. Vol. 3241. p. 97. CiteSeerX 10.1.1.102.1555. doi:10.1007/978-3-540-30218-6_19. ISBN 978-3-540-23163-9.
  4. "NetSolve". Icl.cs.utk.edu. สืบค้นเมื่อ July 14, 2012.
  5. Clint Whaley, R.; Petitet, A.; Dongarra, J. J. (2001). "Automated empirical optimizations of software and the ATLAS project". Parallel Computing. 27 (1–2): 3–35. CiteSeerX 10.1.1.35.2297. doi:10.1016/S0167-8191(00)00087-9.
  6. "PAPI". Icl.cs.utk.edu. สืบค้นเมื่อ July 14, 2012.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mathgene
  8. "Jack Dongarra – Royal Society". Royalsociety.org. สืบค้นเมื่อ April 23, 2019.
  9. "Min H. Kao Department of Electrical Engineering and Computer Science". Eecs.utk.edu. สืบค้นเมื่อ December 1, 2022.
  10. "The History of Numerical Analysis and Scientific Computing". October 9, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2006. สืบค้นเมื่อ December 1, 2022.
  11. "Dr. Jack Dongarra — Hagler Institute for Advanced Study at Texas A&M University". Hias.tamu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2017. สืบค้นเมื่อ September 20, 2017.
  12. "Innovative Computing Laboratory – Academic Research in Enabling Technology and High Performance Computing". Icl.cs.utk.edu. สืบค้นเมื่อ July 14, 2012.
  13. Hemsoth, Nicole (June 26, 2014). "New HPC Benchmark Delivers Promising Results". Hpcwire.com. สืบค้นเมื่อ December 1, 2022.
  14. Dongarra, Jack; Heroux, Michael (June 2013). "Toward a New Metric for Ranking High Performance Computing Systems" (PDF). Sandia National Laboratory. สืบค้นเมื่อ July 4, 2016.
  15. 15.0 15.1 "News and events – Jack Dongarra elected as Foreign Member of the Royal Society – The University of Manchester – School of Mathematics". Maths.manchester.ac.uk. สืบค้นเมื่อ April 23, 2019.
  16. "Professor Jack Dongarra: Turing Fellow". manchester.ac.uk. University of Manchester.
  17. "University of Tennessee's Jack Dongarra receives 2021 ACM A.M. Turing Award". awards.acm.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 30, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Jack Dongarra