แคลิฟอร์เนียโรล
แคลิฟอร์เนียโรลและไข่ปลา | |
ชื่ออื่น | แคลิฟอร์เนียมากิ |
---|---|
มื้อ | จานหลัก |
แหล่งกำเนิด | แคนาดา, สหรัฐ |
ภูมิภาค | อเมริกาเหนือ |
ส่วนผสมหลัก | ข้าว, แตงกวา, เนื้อปูหรือปูอัด, อาโวคาโด |
2 ชิ้น: 129[1] กิโลแคลอรี | |
แคลิฟอร์เนียโรล (อังกฤษ: California roll; ญี่ปุ่น: カリフォルニアロール; โรมาจิ: kariforunia rōru) หรือ แคลิฟอร์เนียมากิ เป็น อูรามากิ (มากิซูชิ ประเภทกลับด้านในออกด้านนอก) ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแตงกวา เนื้อปูหรือปูอัด และอาโวคาโด ด้านนอกที่เป็นข้าวอาจโรยด้วยเมล็ดงาคั่วหรือไข่ปลา
ในฐานะซูชิรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดรูปแบบหนึ่งในแคนาดาและสหรัฐ แคลิฟอร์เนียโรลมีอิทธิพลอย่างมากต่อความนิยมในซูชิในโลก รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้เชฟซูชิทั่วโลกสร้างสรรค์อาหารฟิวชันที่ไม่เป็นไปตามขนบดั้งเดิม[2]
ส่วนผสม
[แก้]องค์ประกอบหลักของไส้ในคือแตงกวา อาโวคาโด เนื้อปู[3] หรือปูอัด ห่อด้วยสาหร่ายแผ่น แตงกวาเป็นองค์ประกอบของอาหารจานนี้มาแต่แรก[4] หรืออาจเป็นของที่เพิ่มเข้ามาในภายหลัง[5] ขึ้นอยู่กับเรื่องเล่าแต่ละแบบเกี่ยวกับที่มาของซูชินี้
ประวัติศาสตร์
[แก้]ตัวตนของผู้คิดค้นแคลิฟอร์เนียโรลเป็นที่ถกเถียงอยู่ แต่เชฟหลายคนจากลอสแอนเจลิสและเชฟคนหนึ่งจากแวนคูเวอร์มักได้รับการอ้างถึงว่าเป็นผู้คิดค้นซูชิชนิดนี้
หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของ "แคลิฟอร์เนียโรล" ปรากฏในหนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลิสไทมส์ และหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของเมืองโอแคลา รัฐฟลอริดา ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน 1979[6] หลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งเดือน บทความฉบับหนึ่งของสำนักข่าวเอพีก็อ้างว่าผู้ประดิษฐ์แคลิฟอร์เนียโรลคือเชฟจากลอสแอนเจลิสชื่อ เคน ซีวซา (Ken Seusa) จากภัตตาคารซูชิชื่อ คิน โจ (Kin Jo) ใกล้กับฮอลลีวูด โดยบทความได้ระบุว่าแหล่งข้อมูลคือฟูจิ วาเดะ (Fuji Wade) ผู้จัดการภัตตาคาร แอนดรูว์ เอฟ. สมิธ (Andrew F. Smith) นักเขียนด้านอาหาร ตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีใครโต้แย้งคำกล่าวอ้างนี้มานานกว่า 20 ปี[6][7]
แหล่งข้อมูลบางแหล่ง[8][9][10] ระบุว่าแคลิฟอร์เนียโรลเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของอิจิโร มาชิตะ (Ichiro Mashita) ซึ่งเป็นเชฟซูชิอีกคนหนึ่งจากลอสแอนเจลิส เขาเคยทำงานในภัตตาคารญี่ปุ่นในย่านลิตเทิลโตเกียวชื่อ "โทเกียวไกกัง" (Tokyo Kaikan) ซึ่งปิดกิจการไปแล้ว[5] เรื่องเล่านี้ระบุว่าเขาใช้อาโวคาโดแทน โทโร (ส่วนไขมันของปลาทูน่า) ในช่วงนอกฤดูปลาทูน่า และได้พัฒนาซูชิรูปแบบนี้เรื่อยมานับตั้งแต่ทศวรรษ 1960[11][12][13] (หรือต้นทศวรรษ 1970)[14][4]
ฮิเดกาซุ โทโจ เชฟชาวญี่ปุ่นซึ่งมีถิ่นพำนักในแวนคูเวอร์มาตั้งแต่ปี 1971 อ้างว่าเขาเป็นผู้ประดิษฐ์แคลิฟอร์เนียโรลขึ้นในภัตตาคารของเขาในปลายทศวรรษ 1970[15] โทโจยืนยันว่าเขาเป็นผู้คิดค้นซูชิกลับด้านในออกด้านนอกขึ้น ส่วนชื่อ "แคลิฟอร์เนีย" นี้ได้มาจากคำเรียกส่วนผสมหลักในภาษาอังกฤษ กล่าวคือ ปู (crab) และอาโวคาโด (avocado) ซึ่งย่อได้เป็น C.A. ตรงกับอักษรย่อของชื่อรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยความบังเอิญดังกล่าว โทโจจึงยึดชื่อนี้เป็นชื่อเรียกซูชิที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเรื่อยมา โทโจอ้างว่าเขาเป็นผู้คิดค้นแคลิฟอร์เนียโรลขึ้นเองทั้งหมดที่ภัตตาคารในแวนคูเวอร์ รวมถึงส่วนประกอบที่พบในปัจจุบัน ทั้งแตงกวา เนื้อปู และอาโวคาโด[16] อย่างไรก็ตาม เรื่องเล่าของเขาขัดแย้งกับความเห็นของนักประวัติศาสตร์อาหารหลายคนที่เชื่อว่าแคลิฟอร์เนียโรลได้รับการพัฒนาและปรับเปลี่ยนส่วนผสมเรื่อยมาจากต้นกำเนิดในลอสแอนเจลิส[17][5] ในปี 2016 กระทรวงการเกษตร การป่าไม้ และการประมงของประเทศญี่ปุ่น ได้มอบหมายให้โทโจเป็นทูตสันถวไมตรีแห่งอาหารญี่ปุ่น[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nutrition, Carbohydrate and Calorie Counter". Calories in California Sushi Rolls. สืบค้นเมื่อ May 31, 2016.
- ↑ Renton, Alex (February 26, 2006). "How Sushi ate the World". The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 20, 2006.
- ↑ Review of Inagiku restaurant, at the Bonaventure Hotel, 5th and Figueroa streets, Los Angeles, in: Bates, Caroline (July 1980), "Specialités de la Maison—California", Gourmet, vol. 40 no. 7, pp. 40–43
- ↑ 4.0 4.1 Kamp, David (2009). The United States of Arugula: The Sun Dried, Cold Pressed, Dark Roasted, Extra Virgin Story of the American Food Revolution. Crown/Archetype. pp. 315–316. ISBN 978-0-307-57534-0.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Dwyer, Lexi (2012-03-07). "Deconstructing the California Roll". Gourmet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-15., citing author Trevor Corson himself, rather than his book, Corson 2008.
- ↑ 6.0 6.1 Smith, Andrew F. (2012). American Tuna: The Rise and Fall of an Improbable Food. University of California Press. p. 91. and notes 31 and 32
- ↑ "Raw Fish is the Rage around Los Angeles". The News Journal. Associated Press. December 19, 1979. p. 68.
- ↑ "Sushi: The Story of the California Roll". FreshMAG.
The most widely spread story is that Ichiro Mashita invented the roll when he realized that the oily texture of avocado is a perfect substitute for toro, a fatty tuna. Since Americans did not like seeing and chewing the nori on the outside, he created the roll “inside-out”.
- ↑ Tomicki, Hadley (October 24, 2012). "Will The Real Inventor of The California Roll Please Stand Up?". Grub Street.
Ichiro Mashita of Downtown L.A.’s former Tokyo Kaikan, has long been largely credited with inventing and naming the dish, after the chef substituted avocado for toro in a similar uramaki construction in the late sixties.
- ↑ "The History of the California Roll". Shogun Orlando.
You can’t walk into a sushi restaurant without finding the California roll on the menu. Despite their prevalence in sushi culture, the history of the roll is enigmatic. The most commonly accepted creator of this roll is Ichiro Mashita.
- ↑ Issenberg (2007), pp. 89–91.
- ↑ Corson (2008), p. 82.
- ↑ McInerney, Jay (June 10, 2007). "Raw". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ August 15, 2008. (book review of Corson 2007 and Issenberg 2007)
- ↑ Hunt, Maria (August 24, 2005). "East-West Fusion: nontraditional ingredients give sushi local flavor". San Diego Union-Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ August 20, 2006.
- ↑ White, Madeleine (October 23, 2012). "Meet the man behind the California roll". The Globe and Mail.
- ↑ Great Big Story (April 24, 2017), The California Roll Was Invented in Canada, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21, สืบค้นเมื่อ June 20, 2017
- ↑ Woo, Michelle (October 25, 2012). "Who Invented The California Roll?". OC Weekly.
This story, however, conflicts with other accounts of how the roll was born. These food historians believe that the first California roll was served during the late 1960s at Tokyo Kaikan, a restaurant in Los Angeles' Little Tokyo.
- ↑ "Vancouver chef Tojo honoured by Japanese government". CBC.ca. The Canadian Press. June 10, 2016. สืบค้นเมื่อ May 16, 2021.
บรรณานุกรม
[แก้]- Corson, Trevor (2007). The Zen of Fish: The Story of Sushi, from Samurai to Supermarket. HarperCollins. ISBN 978-0060883508.
- Corson, Trevor (2008). The Story of Sushi: An Unlikely Saga of Raw Fish and Rice. Harper Perennial. ISBN 978-0060883515.
- Issenberg, Sasha (2007). The Sushi Economy: Globalization and the Making of a Modern Delicacy. Penguin. ISBN 9781592402946.
- Ku, Robert Ji-Song (2013). Dubious Gastronomy: The Cultural Politics of Eating Asian in the USA. University of Hawaii Press. pp. 43–48. ISBN 978-0-824-83920-8.
- Smith, Andrew F. (2013). "Sushi and sashimi". Food and Drink in American History: A "Full Course" Encyclopedia. Vol. 3. ABC-CLIO. ISBN 9781610692335.