ต้อหิน
ต้อหิน | |
---|---|
ต้อหินมุมปิดชนิดฉับพลัน (Acute angle closure glaucoma) ที่ตาขวา (ในภาพคือด้านซ้าย) สามารถสังเกตเห็ยรูม่านตาที่มีขนาดปานกลางเพราะไม่มีการตอบสนองต่อแสง และการแดงของตาขาว | |
สาขาวิชา | จักษุวิทยา, ทัศนมาตรวิทยา |
อาการ | สูญเสียการมองเห็น, ปวดตา, รูม่านตาขยายปานกลาง, ตาเป็นสีแดง, คลื่นไส้[1][2] |
การตั้งต้น | ค่อยเป็นค่อยไป / ทันทีทันใด[2] |
ปัจจัยเสี่ยง | การเพิ่มขึ้นของความดันในตา, ประวัติทางครอบครัว, ความดันเลือดสูง[1] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจดวงตาส่วนการขยาย[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ยูเวียอักเสบ, แผลในตา, กระจกตาอักเสบ, เยื่อบุลูกตาอักเสบ[3] |
การรักษา | ยา, เลเซอร์, ศัลยกรรม[1] |
ความชุก | 6–67 ล้าน[2][4] |
ต้อหิน (อังกฤษ: Glaucoma) เป็นกลุ่มอาการทางตาที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทออพทิค และนำไปสู่การสูญเสียการได้ยิน[1] ชนิดของต้อหินที่พบทั่วไปคือ ต้อหินมุมเปิด (มุมกว้าง, พื้นฐานเรื้อรัง) (อังกฤษ: open-angle (wide angle, chronic simple) glaucoma) ที่ซึ่งมุมการระบายของของเหลวในตาเปิดอยู่ ส่วนชนิดที่พบได้น้อยกว่า เช่น ต้อหินมุมปิด (มุมแคบ, อุดตันฉับพลัน) (อังกฤษ: closed-angle (narrow angle, acute congestive) glaucoma) และ ต้อหินที่ความตึงคงเดิม (อังกฤษ: normal-tension glaucoma)[1] ต้อหินแบบมุมเปิดจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่มีความเจ็บปวด[1] การมองเห็นรอบนอกอาจค่อย ๆ ลดลง ตามด้วยการมองเห็นตรงกลาง และอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นหากไม่ได้รับการรักษา[1] ส่วนต้อหินแบบมุมปิดมักเกิดขึ้นโดยฉับพลัน[2] อาการแสดงฉับพลันเช่นการปวดตารุนแรงโดยฉับพลัน, รูม่านตาขยายปานกลาง, ตาเป็นสีแดง และอาการคลื่นเหียนอาเจียน[1][2] การสูญเสียการมองเห็นจากต้อหินหากเกิดแล้วจะเป็นถาวร รักษาไม่ได้[1] คำวิเศษณ์สำหรับเรียกดวงตาที่เกิดอาการต้อหินในภาษาอังกฤษคือ glaucomatous
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 "Facts About Glaucoma". National Eye Institute. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 March 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Mantravadi AV, Vadhar N (September 2015). "Glaucoma". Primary Care. 42 (3): 437–49. doi:10.1016/j.pop.2015.05.008. PMID 26319348.
- ↑ Ferri, Fred F. (2010). Ferri's differential diagnosis : a practical guide to the differential diagnosis of symptoms, signs, and clinical disorders (2nd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. p. Chapter G. ISBN 978-0323076999. Unknown parameter
|name-list-style=
ignored (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015Pre
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ต้อหิน ที่เว็บไซต์ Curlie
- GeneReview/NCBI/NIH/UW entry on Primary Congenital Glaucoma
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |