เฮ่อ เจี้ยนขุย
เฮ่อ เจี้ยนขุย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() เฮ่อเมื่อปี 2018 | |||||||||
เกิด | ค.ศ. 1984 (อายุ 38–39 ปี) มณฑลซินหวา หูหนัน ประเทศจีน | ||||||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจีน (B.S., 2006) มหาวิทยาลัยไรยส์ (Ph.D., 2010) | ||||||||
มีชื่อเสียงจาก | ลูลูและนานา ทารกที่ผ่านการตัดต่อจีโนมเชิงการทดลองคู่แรกของโลก | ||||||||
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||
สาขา | ฟิสิกส์ชีวภาพ | ||||||||
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซาเธิร์น | ||||||||
วิทยานิพนธ์ | Spontaneous Emergence of Hierarchy in Biological Systems (2011) | ||||||||
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | ไมเคิล วี ดีม | ||||||||
อาจารย์ที่ปรึกษาอื่น ๆ | สตีเฟน เควก[1] | ||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 贺建奎 | ||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 賀建奎 | ||||||||
|
เฮ่อ เจี้ยนขุย ([xɤ̂ tɕjɛ̂nkʰwěi]; จีน: 贺建奎; เกิดปี 1984) เป็นนักวิจัยด้านฟิสิกส์ชีวภาพชาวจีน และรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซาเธิร์น (SUSTech) ในเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน[2][3][4] เขาจบการศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยไรยส์ในเท็กซัส ชำนาญการด้านวิวิฒนาการโปรตีน ซึ่งรวมถึงของเทคโนโลยี CRISPR เฮ่อเรียนรู้เทคนิกการตัดต่อยีน CRISPR/Cas9 ในฐานะนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในแคลิฟอร์เนีย[5]
เฮ่อกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วในเดือนพฤศจิกายนหลังเขาอ้างว่าได้สร้างทารกมนุษย์คนแรกที่ผ่านการตัดต่อจีโนม[6][7] ทารกแฝดหญิงคู่นี้เป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อปลอม ลูลู และ นานา[8][9] ซึ่งเกิดเมื่อเดือนตุลาคม 2018[5][1] ในระยะแรก กรณีนี้ได้รับการเชิดชูจากสื่อว่าเป็นการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ขั้นสำคัญ[10] แต่หลังการตรวจสอบกระบวนการทำการทดลองของเขาอย่างละเอียดแล้ว เฮ่อถูกประณามอย่างหนักไปทั่ว[5][11][12] และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2018 ทางการจีนได้ทำการสั่งห้ามเฮ่อทำกิจกรรมการวิจัยใด ๆ[13] และในวันที่ 21 มกราคม 2019 เขาถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย SUSTech[14]
ต่อมาในปี 2019 นักกฎหมายในจีนรายงานว่าหลังกรณีมนุษย์ที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมคนแรกของเฮ่อ เจี้ยนขุย ทำให้มีการร่างข้อกำหนดให้บุคคลใดที่ทำการดัดแปรแก้ไขจีโนมของมนุษย์ผ่านวิธีการตัดต่อยีน จะต้องมีภาระรับผิดชอบต่อผลกระทบทางลบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมา[15] ในเดือนธันวาคม 2019 วารสาร MIT Technology Review รายงานภาพรวมของกรณีถกเถียงเท่าที่เป็นอยู่ในตอนนั้น ในรายงานฉบับนี้ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่มาจากผลการวิจัยส่วนที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน[16][17] ในวันที่ 30 ธันวาคม 2019 ศาลประชาชนแขวงหนันชาน นครเสินเจิ้นพิพากษาให้เฮ่อถูกจำคุกสามปี และเสียค่าปรับสามล้านหยวน[18] เฮ่อ เจี้ยนขุย ได้รับการปล่อยตัวจากเรื่อนจำในเดือนเมษายน 2022[19]
เฮ่อได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลประจำปี 2019 ของนิตยสาร Time[20] มีการขนานนามเขาไว้หลากหลายว่าเป็นทั้ง "นักวิทยาศาสตร์ป่าเถื่อน" (rogue scientist),[21] "ดร. แฟรงเกนสไตน์ ของจีน",[22] และ "อัจฉริยะบ้า" (mad genius)[23] นักพันธุศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จอร์จ เชิร์ช บรรยายเขาไว้ว่าเป็นแพะบูชายัญให้กับการตัดต่อยีน ที่ "ประสงค์จะเป็นผู้พลีชีพที่มาเป็นคนแรก"[24]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNYT-20190414
- ↑ Cohen, Jon (1 August 2019). "The untold story of the 'circle of trust' behind the world's first gene-edited babies". Science. doi:10.1126/science.aay9400. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ "Jiankui He(Nonpaid Leave)- Department of Biology". bio.sustc.edu.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 December 2018.
- ↑ Rana, Preetika (10 May 2019). "How a Chinese Scientist Broke the Rules to Create the First Gene-Edited Babies - Dr. He Jiankui, seeking glory for his nation and justice for HIV-positive parents, kept his experiment secret, ignored peers' warnings and faked a test (Paywall)". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 11 May 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Begley, Sharon; Joseph, Andrew (17 December 2018). "The CRISPR shocker: How genome-editing scientist He Jiankui rose from obscurity to stun the world". Stat News. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNYT-20190128
- ↑ "The scientist who created CRISPR babies is on Time's most-influential list—but not in a good way". MIT Technology Review. 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
- ↑ Begley, Sharon (28 November 2018). "Amid uproar, Chinese scientist defends creating gene-edited babies". STAT News.
- ↑ 复盘贺建奎的人生轨迹:是谁给了他勇气 (ภาษาจีน). sina.com.cn. 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
- ↑ Li, Jing-ru; Walker, Simon; Nie, Jing-bao; Zhang, Xin-qing (2019). "Experiments that led to the first gene-edited babies: the ethical failings and the urgent need for better governance". Journal of Zhejiang University Science B. 20 (1): 32–38. doi:10.1631/jzus.B1800624. PMC 6331330. PMID 30614228.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNYT-20181205
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGIZ-20190430
- ↑ Jiang, Steven; Regan, Helen; Berlinger, Joshua (29 November 2018). "China suspends scientists who claim to have produced first gene-edited babies". CNN News.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อReuters-20190121
- ↑ Cyranoski, David (20 May 2019). "China set to introduce gene-editing regulation following CRISPR-baby furore - The draft rules mean that anyone who manipulates human genes in adults or embryos is responsible for adverse outcomes". Nature. doi:10.1038/d41586-019-01580-1. PMID 32424191. S2CID 182604140. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
- ↑ Regalado, Antonio (3 December 2019). "China's CRISPR babies: Read exclusive excerpts from the unseen original research - He Jiankui's manuscript shows how he ignored ethical and scientific norms in creating the gene-edited twins Lulu and Nana". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
- ↑ Musunuru, Kiran (3 December 2019). "Opinion: We need to know what happened to CRISPR twins Lulu and Nana - The unpublished research paper by He Jiankui about the creation of the babies shows proof of attempted gene editing gone awry". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
- ↑ huaxia. "He Jiankui jailed for illegal human embryo gene-editing". Xinhuanet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2019. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
- ↑ "The creator of the CRISPR babies has been released from a Chinese prison". 2022-04-04.
- ↑ Doudna, Jennifer (18 April 2019). "100 Most Influential People - He Jiankui". Time. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
- ↑ Cohen, Jon (2 August 2019). "Inside the circle of trust". Science. 365 (6452): 430–437. Bibcode:2019Sci...365..430C. doi:10.1126/science.365.6452.430. PMID 31371593.
- ↑ Yan, Sophia (28 November 2018). "China's 'Dr Frankenstein' says second woman in early pregnancy with gene-edited babies". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
- ↑ Low, Zoe (27 November 2018). "China's gene editing Frankenstein had dreams of being Chinese Einstein". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:1
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เฮ่อ เจี้ยนขุย |
- Official WebSite/Jiankui He (Archived) at SUSTech
- Faculty profile (Archived) at SUSTech