ข้ามไปเนื้อหา

เอสเอส เกรตเวสเทิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดของเอสเอส เกรตเวสเทิร์น ในปี 1838
ประวัติ
สหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักร
ชื่อเอสเอส เกรตเวสเทิร์น (SS Great Western)
ตั้งชื่อตามทางรถไฟเกรตเวสเทิร์น
ผู้ให้บริการบริษัทเรือกลไฟเกรตเวสเทิร์น
เส้นทางเดินเรือบริสตอล – นิวยอร์ก
อู่เรือวิลเลียม แพตเตอร์สัน, บริสตอล, อังกฤษ
ปล่อยเรือ26 มิถุนายน ค.ศ. 1836
เดินเรือแรก19 กรกฎาคม ค.ศ. 1837
สร้างเสร็จ31 มีนาคม ค.ศ. 1838
Maiden voyage
หยุดให้บริการธันวาคม ค.ศ. 1846 ที่ลิเวอร์พูล
ผู้ให้บริการรอยัลเมลสตีมแพ็กเก็ตคอมพานี
ส่งมอบเสร็จ24 เมษายน ค.ศ. 1847
ความเป็นไปแยกชิ้นส่วนในปี ค.ศ. 1856
ส่งมอบเสร็จค.ศ. 1855
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือกลไฟล้อไม้โอ๊ค
ขนาด (ตัน): 1,340 ตัน, 1,700 ตัน ในเวลาต่อมา
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,300 ตัน
ความยาว: ยาว 71.6 เมตร (234 ฟุต 11 นิ้ว) ต่อมายาว 76.8 เมตร (252 ฟุต 0 นิ้ว)
ความกว้าง: 17.59 เมตร (57 ฟุต 9 นิ้ว)
ระบบพลังงาน:
  • เครื่องยนต์ 2 กระบอกสูบไอน้ำ Maudslay 1 เครื่อง ให้กำลัง 750 แรงม้า (560 กิโลวัตต์)
ระบบขับเคลื่อน: ล้อพาย 2 ล้อ ด้านซ้ายและขวาตัวเรือ
ความเร็ว: 8.5 นอต
ความจุ: ผู้โดยสาร 128 คน
ลูกเรือ: 60 คน

เอสเอส/พีเอส เกรตเวสเทิร์น (อังกฤษ: SS/PS Great Western) คือเรือเดินสมุทรประเภทเรือกลไฟแบบมีล้อพาย[1] เป็นเรือกลไฟลำแรกที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และเป็นเรือลำแรกของบริษัทเรือกลไฟเกรตเวสเทิร์น (Great Western Steamship Company)[2] เรือลำนี้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1837–1839

เอสเอส เกรตเวสเทิร์น ได้รับการออกแบบโดยอิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล (Isambard Kingdom Brunel) วิศวกรโยธาชาวอังกฤษ

เรือเกรตเวสเทิร์นได้พิสูจน์ว่าเป็นที่น่าพอใจในการให้บริการ และเป็นต้นแบบสำหรับเรือกลไฟข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่สร้างขึ้นด้วยไม้ที่ประสบความสำเร็จอีกหลายลำ [3]

และได้รับรางวัลบลูริบันด์ (Blue Riband) สำหรับการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เร็วที่สุดในปี ค.ศ. 1843 [3] เกรตเวสเทิร์น ให้บริการเป็นเวลา 8 ปีจนกระทั่งเจ้าของเรือได้เลิกกิจการไป [4] หลังจากนั้นเรือได้ถูกขายให้กับบริษัทรอยัลเมลสตีมแพ็กเก็ต (Royal Mail Steam Packet Company) และถูกแยกชิ้นส่วนในปี ค.ศ. 1856 หลังจากทำหน้าที่เป็นเรือลำเลียงพลในช่วงสงครามไครเมีย[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Doe, Helen (2017). The First Atlantic Liner. ISBN 978-1-4456-6720-1
  2. 2.0 2.1 Corlett, Ewan (1975). The Iron Ship: the Story of Brunel's SS Great Britain. Conway.
  3. 3.0 3.1 Gibbs, Charles Robert Vernon (1957). Passenger Liners of the Western Ocean: A Record of Atlantic Steam and Motor Passenger Vessels from 1838 to the Present Day. John De Graff. pp. 41–45.
  4. Kludas, Arnold (1999). Das blaue Band des Nordatlantiks (ภาษาเยอรมัน). Hamburg: Koehler. p. 36. ISBN 3-7822-0742-4.