เอสอีจีพลาซา

พิกัด: 22°32′37″N 114°04′52″E / 22.54361°N 114.08111°E / 22.54361; 114.08111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสอีจีพลาซา
赛格广场
เอสอีจีพลาซาเมื่อกุมภาพันธ์ 2021
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ประเภทโรงแรม / สำนักงาน
ที่ตั้ง82 ถนนซำหน่ามมิดเดิล อำเภอฟุกติ่น เซินเจิ้น กว่างตง ประเทศจีน
พิกัด22°32′37″N 114°04′52″E / 22.54361°N 114.08111°E / 22.54361; 114.08111
เริ่มสร้าง1997
แล้วเสร็จ2000
ความสูง
ตัวอาคาร291.6 m (957 ft)[1]
เสาอากาศเดิม 355.8 m (1,167 ft)
หลังคา291.6 m (957 ft)[1]
ชั้นบนสุด72/F
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น71 (+4 ชั้นใต้ดิน)[1]
พื้นที่แต่ละชั้น169,083 m2 (1,819,990 sq ft)[1]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกHua Yi Designing Consultants
อ้างอิง
[1][2][3]

เอสอีจีพลาซา (อังกฤษ: SEG Plaza; จีน: 赛格广场) เป็นตึกระฟ้าในเซินเจิ้น ประเทศจีน สร้างเสร็จในปี 2000 ตั้งอยู่ที่แยกจุดตัดของถนนถนนซำหน่ามกับตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าหัวเฉียงเป่ย์ เดิมทีมีความสูง 356 เมตร (1,168 ฟุต) รวมเสาอากาศด้านบนซึ่งต่อมาถูกนำออกไป และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดอันดับที่ 21 ของจีน และที่ 72 ของโลก[1] ชั้นหอชมวิวอยู่ที่ชั้น 69 สามารถเห็นทิวทัศน์ของนครเซินเจิ้นและฮ่องกงตอนเหนือได้ แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนพื้นที่เป็นสำนักงานไปแล้ว ชื่อของอาคารตั้งตามบริษัท Shenzhen Electronics Group (SEG) อาคารสูง 71 ชั้น และมีชั้นใต้ดินสี่ชั้น[4]

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2021 อาคารเริ่มสั่นไหว จนเป็นผลให้มีการอพยพฉุกเฉินออกจากอาคาร[5][6] อาคารถูกปิดสามวันเพื่อตรวจสอบ[7] ผลการตรวจสอบเบื้องต้นระบุว่าไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหว และโครงสร้างหลักของอาคารยังคงปลอดภัย รวมถึงไม่เจอรอยร้าวใด ๆ ในอาคารหรือพื้นที่โดยรอบ[8]

ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ประกาศว่าการสั่นไหวเป็นผลมาจากลมที่ทำให้เสาอากาศบนยอดอาคารสั่น เสาอากาศนี้ใช้สำหรับการนำทางแก่อากาศยานและป้องกันฟ้าผ่า ต่อมาจึงนำออกและทดแทนด้วยอุปกรณืที่มีประโยชน์ใช้สอยคล้ายคลึงกัน[9] ความสูงใหม่ของอาคารหลังถอดเสาอากาศเดิมออกยังคงไม่เป็นที่ทราบกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "SEG Plaza – The Skyscraper Center". Council on Tall Buildings and Urban Habitat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23.
  2. "SEG Plaza, Shenzhen". skyscraperpage.com.
  3. SEG Plaza, Shenzhen
  4. Han, Lin-hai (June 2001). "Fire performance of concrete filled steel tubular beam-columns". Journal of Constructional Steel Research. 57 (6): 697–711. doi:10.1016/S0143-974X(00)00030-4.
  5. "Shaking Shenzhen skyscraper sends people fleeing". 18 May 2021.
  6. "Video: China skyscraper wobbles, spreading panic in downtown Shenzhen". 18 May 2021.
  7. "'Shaking' SEG Plaza to stay closed for inspection". RTHK. 21 May 2021.
  8. "Shenzhen skyscraper closed as officials seek cause of shaking". CNA. 21 May 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  9. "Swaying of Chinese Skyscraper Result of Winds Causing Vibrations on Roof-Top Mast".