เอริก ซาตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพล้อเลียนตนเอง วาดโดยเอริก ซาตี

เอริก ซาตี (ฝรั่งเศส: Erik Satie) เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม เอริก อาลแฟรด เลลี ซาตี (Éric Alfred Leslie Satie) เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกาลวาโดส วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1866 เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1925

ชีวประวัติและผลงาน[แก้]

ซาตีได้ประพันธ์ผลงานมากมายที่ปราศจากเส้นกั้นแบ่งห้องในบรรทัดห้าเส้น และมีวิธีเขียนโน้ตเพลงในแบบฉบับของตนเอง ในอันที่จะถ่ายทอดผลงานของตนออกมา

เขายังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคีตกวีคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น จอห์น เคจ, โกลด เดอบูว์ซี, ฟร็องซิส ปูแล็งก์, มอริส ราแวล, ชอง ค็อคโต้ หรือที่เรียกว่า กลุ่มคีตกวีทั้งหก และเล่นประจำอยู่ที่ชาท์ นัวร์

ป้ายบอกชื่อของซาตี ยังติดอยู่ที่หน้าของเขาที่ย่านมงมาทร์

เรายังสามารถไปเยี่ยมบ้านเกิดของซาตี ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้ที่เมืององเฟลอร์

บ้านเกิดของซาตี ที่เมืององเฟลอร์ ในแคว้นบัส-นอร์ม็องดี

ซาตีกับนิกายกุหลาบ-กางเขน[แก้]

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เอริก ซาตี ร่วมกับโกลด เดอบูว์ซี เข้าร่วม นิกายคับบัลลิสติกแห่งกุหลาบ-กางเขน ของ โจเซฟิน เป-ลาดง กับ สตานิสลาส เดอ ไกวตา ซาตีในฐานะผู้ดูแลวิหารได้ประพันธ์ บทเพลงแห่งกุหลาบ-กางเขน และบุตรแห่งดวงดาว ให้กับนิกายนี้

อารมณ์ขันของซาตี[แก้]

เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมซาตีถึงมีนิสัยชอบประชดแดกดัน ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างตัวซาตีเอง กับอารมณ์ขัน

  • ในวัยหนุ่ม เขาเป็นคนเอาจริงเอาจัง หลายครั้งที่เขาต้องการที่จะเปลี่ยนความคิดแบบเดิมๆของตน แต่แทนที่จะประกาศยอมรับอย่างเปิดเผย เขามักพูดในทำนองติดตลก ทำให้ผู้คนทั่วไปไม่ทราบว่าเขาเขาพูดจริงหรือพูดเล่น เรื่องทำนองเห็นได้ชัดในบทประพันธ์เรื่อง ความทรงจำของคนที่เป็นโรคความจำเสื่อม ซึ่งคงไม่มีสำนักพิมพ์ใดยอมตีพิมพ์ให้หากว่าเป็นผลงานของนักประพันธ์คนอื่นที่ไม่ใช่ซาตี (ซึ่งที่จริงแล้ว ซาตียังล้อเลียนผลงานของตนเอง)
  • นอกเหนือจากบุคคลิกที่ต้องซ่อนไว้ ซาตีได้ใช้ความสามารถส่วนที่ดีในการเป็นศิลปินในวงคาบาเรต์ (ด้วยการแต่งท่วงทำนองน่าเวียนหัวประกอบบทกวีชวนขบขัน แต่ว่าในช่วงหลัง เขาได้ประกาศว่างานทั้งหมดนี้ขัดกับนิสัยที่แท้จริงของเขา แต่งานเหล่านี้ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็นต้นว่าเพลง Je te veux หมายความว่า อย่าสนใจบทวิจารณ์ใด ๆ ที่ล้อเลียนผลงานที่ซาตีปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
  • นอกเหนือจากนี้ เขายังได้แต่งเรื่องตลกในฐานะนักประพันธ์คุณภาพ เช่นเรื่อง Le piège de Méduse (ซึ่งมีบางส่วนเป็นอัตชีวประวัติ แต่เราก็ไม่อาจหาแก่นสารอะไรกับซาตีได้)
  • แต่อารมณ์ขันของซาตีชัดเจนที่สุดในโน้ตแผ่นที่เขาเขียน ซึ่งแน่นอนว่าโน้ตแผ่นนั้นจะมีเขาคนเดียวที่อ่าน เป็นต้นว่าเขาเขียนว่า Vivache (วัวจงเจริญ) แทนที่คำว่า Vivace (เล่นให้มีชีวิตชีวา) ในบทเพลงโซนาตีน บูโรเครติก (ซึ่งเขาตั้งใจล้อเลียนเคลเม็นติ) ในแบบเดียวกัน เขาก็ได้แต่งเพลงล้อเลียนเพลงมาร์ชงานศพของโชแปง (บทที่สองของ embryons desséchés) ที่เขาเขียนไว้ว่า คำคมจากมาร์ซูก้าชื่อดังของชูเบิร์ต (ชูเบิร์ตไม่เคยแต่งมาร์ซูก้า มีเพียงโชแปงที่ชอบแต่งมาร์ซูก้า) เราพบข้อความล้อเลียนต่างๆในโน้ตแผ่นลายมือต้นฉบับของซาตี ทั้งที่ล้อเลียนซังต์ แซน เดบุซซี่ ฯลฯ สรุปว่า อย่าหาแก่นสารอะไรกับซาตี เนื่องจากซาตีเองไม่เคยยึดถือคีตกวีคนอื่นๆอย่างเป็นจริงเป็นจัง

แต่อย่างไรก็ดี ซาตียังได้ประพันธ์งานอย่างเช่น โสกราตีส ที่แสดงให้เห็นด้านเอาจริงเอาจังของเขา

ผลงานบางส่วนของซาตี[แก้]

เปียโน[แก้]

ออเคสตรา[แก้]

  • Parade, musique pour ballet ;
  • Relâche, musique pour le ballet (avec des séquences pour le film Entr'Acte).