เอซอเฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอซอเฟ (เปอร์เซีย: اضافه; ทาจิก: изофа, อักษรโรมัน: izofa) เป็นคำอนุภาคที่ทำหน้าที่เชื่อมคำสองคำเข้าด้วยกันในภาษากลุ่มอิหร่านบางภาษา รวมทั้งภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย (เช่น ภาษาตุรกี ภาษาฮินดูสตานี) ในภาษาเปอร์เซีย เอซอเฟจะเป็นสระสั้นไม่เน้นเสียงหนัก -เอ หรือ -อี (เมื่อตามหลังสระจะออกเสียงเป็น -เย หรือ -ยี) และปรากฏอยู่ระหว่างคำที่เชื่อม[1] เอซอเฟมักไม่ปรากฎในตัวเขียนอักษรเปอร์เซีย[2][3] ซึ่งโดยทั่วไปเขียนโดยไม่แสดงสระสั้น แต่จะพบในการเขียนภาษาทาจิก โดยเขียนด้วยอักษรซีริลลิกเป็น и และไม่มียัติภังค์

ในภาษาเปอร์เซีย[แก้]

เอซอเฟ ในภาษาเปอร์เซียมักใช้ในกรณีดังนี้:[4]

  • แสดงความเป็นเจ้าของ: برادرِ مریم แบรอแดรแมร์แยม "พี่/น้องชายของแมร์แยม" ทั้งนี้ สามารถใช้กับการแสดงความเป็นเจ้าของของสรรพนามได้ด้วย เช่น برادرِ من แบรอแดรแมน "พี่/น้องชาย (ของ) ผม/ฉัน" แต่ในภาษาพูดมักใช้หน่วยคำเติมท้ายแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น برادرم แบรอแด
  • คุณศัพท์-นาม: برادرِ بزرگ แบรอแดรโบโซร์ก "พี่ชาย"
  • ชื่อตัว/ชื่อสกุล: โมแฮมแมดโมแซดเดฆ "โมแฮมแมด โมแซดเดฆ", آقایِ مصدق ออฆอเยโมแซดเดฆ "คุณโมแซดเดฆ"
  • เชื่อมคำนามสองคำ: خیابانِ تهران ฆียอบอนเทฮ์รอน "ถนนเตหะราน" หรือ "ถนนไปยังเตหะราน"

อ้างอิง[แก้]

  1. สระสั้น "ــِـ" (มีชื่อว่า แคสเร ในภาษาเปอร์เซีย และ กัสเราะฮ์ ในภาษาอาหรับ) ออกเสียงเป็น เอ หรือ อี ขึ้นอยู่กับสำเนียง
  2. Abrahams 2005, p. 25.
  3. Calendar of Persian Correspondence (ภาษาอังกฤษ). India Imperial Record Department. 1959. p. xxiv. Sometimes Hindi words were used with Persian izafat as in ray-i-rayan (1255), jatra-i-Kashi (820), chitthi-i-huzur (820). But the more interesting aspect of the jargon is the combination of Hindi and Persian words in order to make an idiom, e.g. loot u taraj sakhtan (466) and swargvas shudan (1139).
  4. Moshiri 1988, pp. 21–23.

บรรณานุกรม[แก้]