ข้ามไปเนื้อหา

เอจออฟเอ็มไพร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอจออฟเอ็มไพร์ส
Age of Empires
ตราซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส
ผู้พัฒนา
ผู้จัดจำหน่ายเอ็กซ์บ็อกซ์เกมสตูดิโอส์
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (ครั้งแรก)
แนวเกมวางแผนเรียลไทม์
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, หลายผู้เล่น

เอจออฟเอ็มไพร์ส (อังกฤษ: Age of Empires) เป็นชุดวิดีโอเกมวางแผนเรียลไทม์อิงประวัติศาสตร์ เดิมมีเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์เป็นผู้พัฒนา และเอ็กซ์บ็อกซ์เกมสตูดิโอส์เป็นผู้จัดจำหน่าย เกมแรกของชุด คือ เอจออฟเอ็มไพร์ส ซึ่งวางจำหน่ายในปี 2540 มีการออกเกมเจ็ดเกม และสปินออฟสามเกม

เอจออฟเอ็มไพร์ส เน้นเหตุการณ์ในทวีปยุโรป แอฟริกาและเอเชีย กินเวลาตั้งแต่ยุคหินถึงยุคเหล็ก เกมภาคเสริมสำรวจการก่อตั้งและการขยายจักรวรรดิโรมัน ภาคต่อ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอจออฟคิงส์ มีฉากท้องเรื่องในยุคกลาง ส่วนภาคเสริมเน้นการพิชิตเม็กซิโกของสเปนบางส่วน เกมต่อมาสามเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 สำรวจสมัยใหม่ตอนต้น เมื่อยุโรปกำลังทำให้ทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคม และหลายประเทศในทวีปเอเชียกำลังถดถอย เกมล่าสุด เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ ใช้แนวทางใหม่เป็นเกมออนไลน์ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยใช้ เกมฟอร์วินโดวส์ไลฟ์ เกมสปินออฟ เอจออฟมีโธโลจี มีฉากท้องเรื่องอยู่ในสมัยเดียวกับเอจออฟเอ็มไพร์ส แต่เน้นส่วนปรัมปราวิทยาของเทพปกรณัมกรีก อียิปต์และนอร์ส เกมหลักที่สี่ในชุด เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 อยู่ระหว่างการพัฒนา

ชุด เอจออฟเอ็มไพร์ส ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ โดยขายได้กว่า 20 ล้านก๊อปปี นักวิจารณ์ยกให้ความสำเร็จบางส่วนมาจากแก่นประวัติศาสตร์และการเล่นอย่างยุติธรรม ผู้เล่นปัญญาประดิษฐ์มีข้อได้เปรียบน้อยกว่าในเกมคู่แข่งหลายเกม

เกม

[แก้]
ลำดับเวลาปีที่วางขาย
TBAเอจออฟเอ็มไพร์ส 4

เกมในชุดเน้นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์หลายสมัย เอจออฟเอ็มไพร์ส ครอบคลุมเหตุการณ์ระหว่างยุคหินและยุคคลาสสิกในทวีปยุโรปและเอเชีย ภาคเสริม ไรซ์ออฟโรม ติดตามการก่อตั้งและความรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน ดิเอจออฟคิงส์ และสปินออฟนินเทนโด ดีเอสติดตามทวีปยุโรปและเอเชียตลอดยุคกลาง เดอะคองคะเรอส์ ภาคเสริมของ เอจออฟคิงส์ มีฉากท้องเรื่องในสมัยเดียวกัน แต่รวมฉากเกี่ยวกับการพิชิตเม็กซิโกของสเปน เอลซิด และอัตติลา เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 และ เดอะวอร์ชีฟส์ เกิดขึ้นระหว่างการทำให้ทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคมของยุโรป ภาคเสริมที่สอง ดิเอเชียนไดแนสตีส์ ติดตามความเจริญของทวีปเอเชียในสมัยเดียวกัน เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ เน้นอารยธรรมกรีก และอียิปต์ สปินออฟของซีรีส์ เอจออฟมีโธโลจี และภาคเสริม เดอะไททันส์ มีฉากท้องเรื่องระหว่างยุคสำริด แต่เน้นไปยังปรัมปราวิทยาเป็นแก่น แทนที่เน้นประวัติศาสตร์

ชุดหลัก

[แก้]

เอจออฟเอ็มไพร์ส

[แก้]

เอจออฟเอ็มไพร์ส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2540[1] เป็นเกมแรกในชุด เช่นเดียวกับเป็นเกมใหญ่เกมแรกจากเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์[2] เป็นเกมวางแผนเรียลไทม์อิงประวัติศาสตร์เกมแรก ๆ ที่มีการสร้าง[3] โดยใช้เกมเอนจินจีนี เกมสปอตอธิบายว่าเกมนี้เป็นลูกผสมของ ซิวิไลเซชัน (Civilization) และ วอร์คราฟต์ (Warcraft)[4] เกมให้ผู้เล่นเลือกเล่น 12 อารยธรรมเพื่อพัฒนาจากยุคหินสู่ยุคเหล็ก ภาคเสริม ไรซ์ออฟโรม (Rise of Rome) ซึ่งไมโครซอฟท์วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2541 ริเริ่มคุณลักษณะใหม่ และอารยธรรมใหม่ 4 แห่ง รวมทั้งโรมัน แม้ทั้งสองเกมจะมีซอฟต์แวร์บั๊กหลายอย่าง แต่หลายแพทช์ก็แก้ไขปัญหาได้หลายประการ[5][6]

เอจออฟเอ็มไพร์ส โดยทั่วไปได้รับการตอบรับดี แม้มีบทปฏิทรรศน์เชิงลบอย่างสูงอยู่บ้าง เกมสปอตวินจารณ์การออกแบบที่ชวนสับสน ส่วน คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกม ยกย่องเกมว่ามีจุดแข็งทั้งในภาวะเล่นคนเดียวและหลายผู้เล่น[7] อะคาเดมีออฟอินเตอร์แอ็กทีฟอาตส์แอนด์ไซเอินซ์ยกให้ เอจออฟเอ็มไพร์ส เป็น "เกมวางแผนคอมพิวเตอร์แห่งปี" 2541[8] เกมยังอยู่ในอันดับต้น ๆ ของชาร์ตขายดีอีกหลายปี โดยขายได้กว่าสามล้านหน่วยเมื่อถึงปี 2543[9] ไรซ์ออฟโรม ขายได้หนึ่งล้านยูนิตในปี 2543[9] และได้คะแนนสะสม 80% จากเกมแรงกิงส์[10]

ในเดือนมิถุนายน 2560 แอดัม อิสกรีน ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของไมโครซอฟท์สตูดิโอส์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส: เดฟินิทีฟเอดิชัน ที่อิเล็กทรอนิกส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2017 เกมจะมีกราฟิกส์ที่ได้รับการยกเครื่องที่รองรับความละเอียด 4เค ซาวด์แทร็กที่ทำสำเนาใหม่และการปรับปรุงการเล่นเกมอื่น ๆ และมีแผนวางจำหน่ายในวันที่ 19 ตุลาคม 2560 แต่เลื่อนเป็นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เมื่อมีการวางจำหน่ายในไมโครซอฟท์สโตร์[11][12][13] วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเดฟินิทีฟเอดิชันจะมีการวางขายในสตีมในอนาคต ร่วมกับเดฟินิทีฟเอดิชันของทั้งเอจออฟเอ็มไพร์ส 2 และเอจออฟเอ็มไพร์ส 3[14][15]

เอจออฟเอ็มไพร์ส 2

[แก้]

เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ วางจำหน่ายวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยใช้เกมเอนจินจีนี และมีเกมการเล่นคล้ายกับเกมก่อนหน้า[16] ดิเอจออฟคิงส์ มีฉากท้องเรื่องในยุคกลางตั้งแต่ยุคมืดจนถึงยุคจักรวรรดิ เปิดให้ผู้เล่นเลือกเล่นอารยธรรมหนึ่งจาก 13 อารยธรรมจากทวีปยุโรป เอเชียและตะวันออกกลาง[17]

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2543 ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายภาคเสริม เดอะคองคะเรอส์ เพิ่มยูนิตใหม่และห้าอารยธรรมใหม่ ซึ่งรวมอารยธรรมเมโสอเมริกาสองอารยธรรม ได้แก่ มายาและแอซเท็ก[18] ดิเอจออฟคิงส์ ประสบความสำเร็จในเชิงคำวิจารณ์มากกว่าสองเกมแรก โดยมีคะแนนเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก 92%[19][20] ไมโครซอฟท์ส่งมอบเกมกว่าสองล้านก๊อปปีให้ผู้ค้าปลีก และเกมได้รับรางวัลและเกียรติยศมากมาย[21] นักวิจารณ์เห็นตรงกันว่า เดอะคองคะเรอส์ ต่อเติมจาก ดิเอจออฟคิงส์ ได้ดี แม้ยังมีการยกประเด็นเกมการเล่นที่ไม่สมดุล[22] ดิเอจออฟคิงส์ และ เดอะคองคะเรอส์ คว้ารางวัล "เกมวางแผนคอมพิวเตอร์แห่งปี" 2543 และ 2544 จากอะคาเดมีออฟอินเตอร์แอ็กทีฟอาตส์แอนด์ไซเอินซ์ ตามลำดับ[23][24]

ในเดือนเมษายน 2556 เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอชดีเอดิชัน วางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มจำหน่ายดิจิทัลสตีมสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอชดีเอดิชันยังรวมทั้งเกมดั้งเดิมและภาคเสริม เดอะคองคะเรอส์ ตลอดจนกราฟิกส์ที่มีการปรับสำหรับหน่วยแสดงผลความละเอียดสูง[25] ในเดือนพฤศจิกายน 2556 ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายภาคเสริมที่สองชื่อ เดอะฟะกอทึน เฉพาะสำหรับ เอชดีเอดิชัน[26] ภาคเสริมที่สามชื่อ ดิแอฟริกันคิงดัมส์ มีการวางจไหน่ายในเดือนพฤศจิกายน 2558 เฉพาะสำหรับ เอชดีเอดิชัน เช่นกัน[27] ภาคเสริมที่สี่ชื่อ ไรซ์ออฟเดอะราจาส์ มีการวางจำหน่ายในวันที่ 19 ธันวาคม 2559[28] เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดฟินิทีฟเอดิชัน[29]

ในเดือนมิถุนายน 2561 แอดัม อิสกรีน ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แฟรนไชส์สำหรับเอจออฟเอ็มไพร์ส แบ่งปันสารสนเทศเพิ่มเพิมเกี่ยวกับ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดฟินิทีฟเอดิชัน ที่อิเล็กทรอนิกส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2019 เขายืนยันว่า เดฟินิทีฟเอดิชัน อยู่ระหว่างพัฒนาโดยฟะกอทึนเอ็มไพร์ส, แทนทาลัสมีเดียและวิกเค็ดวิชซอฟต์แวร์ เขาประกาศว่าเกมจะใช้กราฟิกส์ 4เคใหม่ การรองรับเอ็กซ์บ็อกซ์ ไลฟ์สำหรับหลายผู้เล่น ความสำเร็จ (achievement) เฉพาะเกม อารยธรรมใหม่สี่อารยธรรม แคมเปญ (campaign) ใหม่สามแคมเปญ ภาวะสังเกตใหม่และคุณลักษณะทัวร์นาเมนต์ และการปรับปรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพการเล่นเพิ่มเติม ขณะนี้เวลาวางจำหน่ายตามแถลงคือฤดูใบไม้ร่วงปี 2562[30][31][32] เบิร์ด บีกแมน ผู้ร่วมก่อตั้งฟะกอทึนเอ็มไพร์ส ยืนยันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายนว่าจะไม่ถอด เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอชดีเอดิชัน ออกจากการวางขายหลังวางจำหน่าย เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดฟินิทีฟเอดิชัน[33]

เอจออฟเอ็มไพร์ส 3

[แก้]

เอจออฟเอ็มไพร์ส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 สร้างอยู่บนรุ่นปรับปรุงของเกมเอนจิน เอจออฟมีโธโลจี ปรับปรุงโดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดได้แก่เอนจินกราฟิกส์ที่มีการปรับและการรวมเอนจินฮาว็อกฟิสิกส์มิดเดิลแวร์[34][35] เกมดังกล่าวมีฉากท้องเรื่องอยู่ในยุคระหว่างปี 1964 ถึง 2393 และผู้เล่นสามารถเลือกเล่นเป็นชาติหนึ่งในแปดชาติยุโรป เกมนี้ริเริ่มคุณลักษณะใหม่จำนวนมาก เช่น นครเหย้า เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์อธิบายว่าเป็น "ระบบสนับสนุนสำคัญต่อความพยายามของคุณในโลกใหม่" นครเหย้าให้ทรัพยากร ยุทธภัณฑ์ ทหารและอัปเกรดแก่ผู้เล่น นครเหย้าสามารถใช้ได้ในหลายเกม และอัปเกรดหลังจบการศึกแต่ละครั้ง มีการเปรียบคุณลักษณะเป็นตัวละครเกมสวมบทบาทจากเอ็นเซิมเบิลสตูดิโอส์[36] ภาคเสริมแรกของ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ชื่อ เดอะวอร์ชีฟส์ มีการวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2549 การเปลี่ยนแปลงการเล่นเกมในแพ็กเสริมส่วนใหญ่เล็กน้อย แต่ภาคนี้นำเสนอสามอารยธรรมใหม่ โดยเน้นชนพื้นเมืองอเมริกัน[37] สิ่งที่โดดเด่นที่สุดได้แก่การริเริ่มยูนิตวอร์ชีฟ[38] ภาคเสริมที่สอง ดิเอเชียนไดแนสตีส์ วางขายวันที่ 23 ตุลาคม 2550 เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาร่วมกัน บิกฮิวจ์เกมส์ช่วยเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์พัฒนาเกม โดยไบรอัน เรย์โนลส์เป็นหัวหน้านักออกแบบร่วมกับบรูซ เชลลี[39] เกมขยายจักรวาล เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ไปสู่ทวีปเอเชียและแนะนำอารยธรรมใหม่สามอารยธรรม[40] การตอบรับ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 นั้นผสมกัน เกมเรโวลูชันอธิบายว่ามัน "สนุกพอ ๆ กับ" หนังสือประวัติศาสตร์ ขณะที่เกมโซนแย้งว่ามันเป็น "เกมดูดีที่สุดเกมหนึ่ง เป็นเกมอาร์ทีเอสน้อยกว่า ซึ่งออกสู่ตลอดในปัจจุบัน" เกมขายได้กว่าสองล้านก๊อปปีและคว้ารางวัล "เกมวางแผนเรียลไทม์แห่งปี" ของเกมสปาย[41][42] วอร์ชีฟส์ ไม่สามารถเทียบความสำเร็จได้เท่ากับเกมก่อนหน้า โดยมีคะแนนต่ำกว่าทั้งเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก ส่วนคะแนนของ เอเชียนไดแนสตีส์ ยิ่งต่ำลงไปอีกอยู่ที่ 80%[43][44][45][46]

รุ่นสะสมหลายรุ่นของเอจออฟเอ็มไพร์ส 3 มีหนังสือศิลป์ปกแข็ง หน้าสุดท้ายของหนังสือศิลป์มีการพรรณนาภาพของชุด ตัวเลขโรมันใต้แผงแต่ละแผงมีตั้งแต่ I ถึง V โดยบ่งชี้ว่าชุดจะรวม เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 และเอจออฟเอ็มไพร์ส 5 ลูกจ้างเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ แซนดี ปีเตอร์เซน กล่าวว่าภาพนั้น "เป็นการตั้งข้อสังเกตล้วน ๆ ในส่วนของ[พวกเขา]"[47]

ในปี 2561 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าพวกเขาปิดตัวเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์หลังสร้างเกม ฮาโลวอส์ สำเร็จ ลูกจ้างบางส่วนตั้งทีมใหม่เป็นส่วนหนึ่งของไมโครซอฟท์สตูดิโอส์[48] เควิน อันแนงส์ (Kevin Unangst) ผู้อำนวยการเกมส์ฟอร์วินโดวส์ ปฏิเสธว่าการปิดตัวดังกล่าวเป็นจุดจบของซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส โดยให้สัมภาษณ์เดอะซานฟรานซิสโกโครนิเคิลว่า "เราตื่นเต้นมากเกี่ยวกับศักยภาพในอนาคตสำหรับเอจออฟเอ็มไพร์ส"[49] เอดจ์ยืนยันในการสัมภาษณ์กับรองประธานฝ่ายบันเทิงเชิงโต้ตอบของบริษัทไมโครซอฟท์ เชน คิม ว่า ไมโครซอฟท์ยังเป็นเจ้าของ เอจออฟเอ็มไพร์ส และว่าพวกเขามีแผนดำเนินซีรีส์ต่อ[50] อย่างไรก็ตาม บรูซ เชลลีเขียนในบล็อกของเขาว่าเขาจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของสตูดิโอส์ใหม่ที่เพิ่งตั้งใด ๆ[51][52]

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3: เดฟินิทีฟเอดิชัน[29] วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ไมโครซอฟท์ประกาศว่า เดฟินิทีฟเอดิชัน จะวางขายในสตีมในอนาคต ร่วมกับ เดฟินิทีฟเอดิชัน ของทั้ง เอจออฟเอ็มไพร์ส และเอจออฟเอ็มไพร์ส 2[14][15]

เอจออฟเอ็มไพร์ส 4

[แก้]

วันที่ 21 สิงหาคม 2560 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 พัฒนาโดยเรลิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์[53]

จวบจนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 "ไม่มีวันวางจำหน่ายที่ประกาศสำหรับเอจออฟเอ็มไพร์ส 4"[54] ฟิล สเป็นเซอร์ รองประธานบริหารของไมโครซอฟท์ฝ่ายเกม ยืนยันเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 ว่า เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยมีสารสนเทศเพิ่มเติมตามมาในปี 2562[55]

เกมสปินออฟ

[แก้]

เอจออฟมีโธโลจี มีองค์ประกอบเกมการเล่นหลายอย่างเหมือนกับซีรีส์หลัก[56] และถือเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ แม้มีจุดเน้นคนละอย่างกัน[57][58] แคมเปญใน เอจออฟมีโธโลจี เล่านิยายของอาร์แคนทอสชาวแอตแลนติส และภารกิจค้นหาว่าเหตุใดประชากรของเขาจึงไม่ได้รับความโปรดปรานจากเทพเจ้าโพไซดอน[59] ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายเกมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2545[60] และภาคเสริม เดอะไททันส์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546[61] เดอะไททันส์ นำเสนอแอตแลนติสเป็นอารยธรรมใหม่[62] แคมเปญของเกมสั้นกว่าภาคก่อน และเน้นแคสเตอร์ บุตรของอาร์แคนทอสเป็นศูนย์กลาง ซึ่งตกหลุมพรางมุสาของเหล่าไททันและปลดปล่อยพวกมันจากทาร์ทารัส[63] เอจออฟมีโธโลจี ขายได้กว่าหนึ่งล้านก๊อปปีในสี่เดือน[64] ได้คะแนน 89% ในเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก[65][66] เดอะไททันส์ ไม่ประสบความสำเร็จด้านยอดขายเท่ากับ เอจออฟมีโธโลจี แม้นักวิจารณ์ให้คะแนนสูง[67][68]

แบ็กโบนเอ็นเตอร์เทนเมนต์พัฒนา เอจออฟเอ็มไพร์ส: ดิเอจออฟคิงส์ เป็นเกมเทิร์นเบสสำหรับนินเทนโด ดีเอส มาเจสโกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เผยแพร่เกมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 เกมนี้คล้ายกับเกมเทิร์นเบสอื่น ๆ เช่น แอดแวนซ์วอร์ แต่มีเกมการเล่นบนพีซี[69] Age of Empires: The Age of Kings scored 80% on Game Rankings and Metacritic.[70][71] เอจออฟเอ็มไพร์ส: ดิเอจออฟคิงส์ ได้คะแนน 80% จากเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก โคนามินำเกมชื่อเดียวกันมาลงเพลย์สเตชัน 2 ประมาณห้าปีก่อนรุ่นดีเอส แต่เกมนั้นมีการส่งเสริมน้อยและขายได้ไม่ดี[72]

วันที่ 16 สิงหาคม 2553 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ ซึ่งเป็นเกมออนไลน์ทางเกมส์ฟอร์วินโดวส์ที่เล่นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พัฒนาโดยร่วมมือกับโรบอตเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เกมมีคุณลักษณะประสบการณ์เล่นได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยทางเกมส์ฟอร์วินโดวส์ไฟล์ตลอดจนเมืองหลวงออนไลน์ตลอดเวลาที่มีชีวิตและเติบโตแม้ผู้เล่นออฟไลน์ ภารกิจหลายผู้เล่นแบบร่วมมือ การค้าขายและระบบยึดระดับที่ทำให้ผู้เล่นพัฒนาได้ตามจังหวะของตนเอง[73] สำหรับเนื้อหาพรีเมียมสามารถได้หรือซื้อหาได้ เช่น การเข้าถึงพิมพ์เขียวและไอเท็มพิเศษ ตลอดจนภารกิจและคุณลักษณะเพิ่มเติม ในเดือนกันยายน 2556 มีประกาศว่าเกมจะเปิดใช้การได้จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 แล้วจะปิดตัวเนื่องจากค่าบำรุงรักษาเนื้อหาแพงเกินไป[74]

วันที่ 13 เมษายน 2557 มีการประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส: เวิลด์ดอมิเนชัน เคแล็บเกมส์เป็นผู้พัฒนาสำหรับไอโอเอส แอนดรอยด์และวินโดวส์ โฟน[75] It was released on December 7, 2015,[76] มีการวางตำหน่ายเกมวันที่ 7 ธันวาคม 2558 โดยยกเลิกการให้บริการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559[77]

วันที่ 25 สิงหาคม 2557 มีการประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส: แคสเซิลซีนจ์ เป็นเกมแบบสัมผัส ซึ่งสโมกกิงกันอินเตอร์แอ็กทีฟเป็นผู้พัฒนา มีการวางจำหน่ายสำหรับวินโดวส์พีซีและวินโดวส์ โฟน 8 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557[78][79]

การพัฒนา

[แก้]

องค์ประกอบประวัติศาสตร์

[แก้]

ระยะการพัฒนาของเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส ต่าง ๆ คล้ายกันในหลายทาง เนื่องจากเกมอิงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ทีมผู้พัฒนาจึงมักต้องศึกษาค้นคว้าปริมาณมาก[80] อย่างไรก็ดี การศึกษาค้นคว้านั้นมิได้เจาะลึก ซึ่งผู้ออกแบบ เอจออฟเอ็มไพร์ส บรูซ เชลลี ว่าเป็น "ความคิดที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์บันเทิงส่วนใหญ่"[80] เชลลียังว่าเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์นำหนังสืออ้างอิงส่วนใหญ่มาจากส่วนเด็กที่ห้องสมุด เขาชี้ว่าเป้าหมายคือเพื่อให้ผู้เล่นเกมสนุก "ไม่ใช่นักออกแบบหรือนักวิจัย[เกม]"[80] ที่การประชุมผู้พัฒนางานประชุมเกมปี 2550 เชลลีสานต่อความคิดนี้และอธิบายว่า ความสำเร็จของชุดตั้งอยู่บน "การทำเกมซึ่งดึงดูดทั้งผู้เล่นเกมครั้งคราวและฮาร์ดคอร์"[81] เชลลียังตั้งข้อสังเกตว่าเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส มิได้ว่าด้วยตัวประวัติศาสตร์เอง แต่ "เกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์"[81] พวกเขามุ่งเน้นไม่เพียงแต่สิ่งที่มนุษย์เคยทำไว้แล้วเท่านั้น แต่ยังเน้นสิ่งที่มนุษย์ทำได้ในอนาคตอย่าง "การไปอวกาศ" ด้วย[81] เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์พัฒนา เอจออฟมีโธโลจี ในทางที่ต่างไปจากสองเกมก่อนหน้า ทีมยังกังวลว่าพวกเขาจะ "ไม่สามารถเอาตัวรอด" ด้วยเกมอิงประวัติศาสตร์เกมที่สาม และเลือกปรัมปราวิทยาเป็นฉากท้องเรื่องหลังอภิปรายหลาย ๆ ตัวเลือกแล้ว[82]

ปัญญาประดิษฐ์

[แก้]

นักออกแบบพัฒนาและปรับปรุงปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ใช้ในซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส อย่างสม่ำเสมอ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอ เดฟ พอตติงเจอร์ กล่าวว่า ทีมพัฒนาให้ความสำคัญกับเอไอในเกมดั้งเดิมเป็นลำดับสูงมากและใช้เวลาพัฒนากว่าหนึ่งปี เขากล่วาว่า เอไอในเกมอาศัยยุทธวิธีและยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะแทน "การโกง" โดยให้ทรัพยากรพิเศษแก่ตนเอง หรือดัดแปลงยูนิตให้แข็งแกร่งกว่าปกติ[83] ภายหลังพอตติงเจอร์สังเกตว่า ทีมซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส รู้สึกภาคภูมิใจที่เอไอของพวกตน "เล่นอย่างยุติธรรม"[84] และไม่ทราบว่าผู้เล่นกำลังทำอะไรอยู่ และต้องเล่นบนกฎเดียวกับคู่แข่งมนุษย์[85]

เอจออฟเอ็มไพร์ส เปิดให้ผู้เล่นเลือกเล่นตามเงื่อนไขที่มีเนื้อเรื่องรองรับและสร้างมาเป็นพิเศษหรือเล่นต่อสู้กับเอไอ (และผู้เล่นอื่น) เป็นครั้ง ๆ การเลือกต่อสู้กับเอไอแทนการเล่นตามเนื้อเรื่องทำให้เอไอสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ของผู้เล่นและจำได้ว่าเกมใดที่มันชนะและแพ้ ในที่สุดเอไอจะเอาชนะกลยุทธ์ของผู้เล่นและทำลายหมู่บ้านของผู้เล่นได้อย่างง่ายดายหลังผ่านไปหลายเกม ตัวอย่างเช่นใน เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 สิ่งนี้เรียกว่าเล่น "สเกอร์มิช" (skirmish) อย่างไรก็ตาม เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 เปิดให้ผู้เล่นปรับแต่งกลยุทธ์ของพวกเขาเพิ่มเติมในการพบกับเอไอโดย "การสร้างสำรับ" ซึ่งช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนการส่งสินค้าจาก "นครเหย้า" ด้วยทางเลือกที่ปรับปรุง

ในเอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดอะคองคะเรอส์ เอได้รับลำดับความสำคัญสูง ผลลัพธ์คือคุณลักษณะ "ชาวบ้านฉลาด" (smart villager) ซึ่งมีอยู่ในเกมหลังจากนั้นทุกเกม โดยหลังสร้างสิ่งก่อสร้างที่เก็บหรือผลิตทรัพยากร ชาวบ้านฉลาดจะเก็บทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างนั้นทันที เช่น ธัญพืชจากไร่นา หรือแร่จากแหล่งแร่[86]

เอจออฟมีโธโลจี: เดอะไททันส์ ให้ผู้เล่นใช้โปรแกรมแก้ไขจุดบกพร่องเอไอเมื่อสร้างฉากปรับเอง ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าของผู้เล่นคอมพิวเตอร์และทำให้เอไอประพฤติตามแบบรูปบางอย่างได้[87] การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานกว่านั้นต่อเอไอเดิมสามารถเข้าถึงได้ในสองเกมแรกของซีรีส์[88]

กราฟิกส์และภาพ

[แก้]

กราฟิกและภาพของ เอจออฟเอ็มไพร์ส ดีขึ้นในทุกเกมที่ออกมาแต่ละครั้ง จากการออกเกมแรกถึงเกมที่สอง เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ เป็นพัฒนาการที่โดดเด่นที่ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์หลายคน[89][90][91] เมื่อมีการออก เอจออฟมีโธโลจี การยกย่องยังดำเนินต่อไป[89][92][93][94] และเกมที่สี่ เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 ได้รับการยกย่องเพิ่มอีก[95][96][97]

เกมสปอตยกย่องกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุง[89] ในเกมที่สอง เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ ยูโรเกมเมอร์ยินดีต้อนรับการเปิดตัวชาวบ้านหญิง[98] เมื่อเทียบกับแบบเดิมที่มีเฉพาะเพศชาย ออลเกมยกย่องระบบการจัดกลุ่มและการค้นหาเส้นทางขั้นสูงในเกมที่สอง[90] แต่แม้มีกราฟิกส์ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ออลเกมบ่นว่าบางทียูนิตใน เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ แยกแยะออกจากกันได้ยาก[90] ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ทบทวนหลายคนเห็นตรงกัน[89][99] อย่างไรก็ตาม เกมเรโวลูชันเขียนว่าเกมที่สองเป็น "เกมอาร์ทีเอส 2ดีที่ดูดีที่สุดในตลาดขณะนี้"[91]

กราฟิกส์ยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน เอจออฟมีโธโลจี และได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ส่วนใหญ่ ไอจีเอ็นจัดอันดับกราฟิกในเกมที่สามนี้ว่า "มีความสุขที่ได้ชม ... ยอดเยี่ยม"[92] เกมสปอตเห็นตรงกัน และให้คะแนนกราฟิกส์ 9 เต็ม 10[89] เกมเรโวลูชันก็เช่นกัน[93] โดยพีซีเกมเมอร์ระบุว่ากราฟิกส์ในเกมที่สาม "อัดแน่นด้วยรายละเอียด"[94]

แนวโน้มกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุงดำเนินต่อจนถึงเกมถัดไป เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ซึ่งผู้ทบทวนยินดีมาก ไอจีเอ็นระบุว่า "หลังจากเห็นภาพหน้าจอ ขากรรไกรของเรากระแทกกับพื้นด้วยปริมาณรายละเอียด"[95] วันอัพดอตคอมอธิบาย เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ว่าเป็น "เกมสวยงามที่สุดเกมหนึ่งที่คุณจะติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ของคุณในอนาคตอันใกล้"[96] เกมสปายเห็นด้วย โดยระบุว่า "กราฟิกส์ เอจ 3 ไร้ที่เปรียบในประเภทวางแผน"[97] เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 สร้างบนรากฐานและนำเสนอคุณลักษณะใหม่สำหรับเกมก่อนหน้า เอจออฟมีโธโลจี เช่น การใส่เกมเอนจินมิดเดิลแวร์จำลองฟิสิกส์ฮาว็อก[100] สำหรับฉบับวินโดวส์ และฟิสเอ็กซ์สำหรับแมคโอเอสเท็น ผลลัพธ์ที่เป็นนวัตกรรมทำให้เลี่ยงแอนิเมชันสร้างล่วงหน้า แต่มีการคำนวณเหตุการณ์ตามเอนจินฟิสิกส์ ผลที่ได้ทำให้ภาพเหตุการณ์อย่างการทำลายสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้โค่นไม่มีบันทึกล่วงหน้า เกมสปอตยังยกย่องกราฟิกส์ในเกมที่สี่แต่บ่นเรื่อง "พฤติกรรมยูนิตที่ดูเก้กัง"[101] คุณลักษณะกราฟิกส์ของเกมอีกอย่างหนึ่งคือการให้แสงบลูม (bloom) และการรองรับพิกเซลเฉดเดอร์ 3.0[102]

เกมสปายให้รางวัล "กราฟิกส์ยอดเยี่ยม" แก่ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ที่ "เกมแห่งปี 2548" ของเกมสปาย[103]

ดนตรี

[แก้]

สตีเฟน ริปปีเป็นผู้กำกับเพลงของซีรีส์ตั้งแต่เกมแรก บางครั้งเขาได้รับความช่วยเหลือเป็นครั้งคราวจากเดวิด ริปปี ญาติชายของเขา และเควิน แม็กมัลแลน เขาสร้างเพลงต้นฉบับใน เอจออฟเอ็มไพร์ส ด้วยเสียงเครื่องดนตรีจากยุคสมัยในเกม[104] เสียงเหล่านี้มาจากเครื่องดนตรีจริงและตัวอย่างดิจิทัล[104] ทูนเหล่านี้เป็นผลจากการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวัฒนธรรม ลีลาและเครื่องดนตรีที่ใช้[104] ริปปีกล่าวว่าการพัฒนาเสียงของ เอจออฟเอ็มไพร์ส ทำได้ง่าย เนื่องจากมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในยุคกลาง ฉะนั้น พวกเขาจึงสามารถผลิตซ้ำทูนสำหรับซาวน์แทร็กของเกมได้[105] ในเอจออฟมีโธโลจี มีการใช้เครื่องดนตรีออเครสตราแทน แม็กมัลแลนว่า ทีมยังรวบรวมบันทึกเสียงจำนวนมากจากสวนสัตว์ และสร้าง "คลังเสียงขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อหาของพวกเขาเอง"[106] ดนตรีของ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 คล้ายกับ ดิเอจออฟคิงส์ ซึ่งทีมใช้เครื่องดนตรีในประวัติศาสตร์มากขึ้น ริปปีระบุว่าทีมใช้เครื่องดนตรีอย่างปี่สกอตและกลองสนามเพื่อให้ความรู้สึกสมจริง[107]

ความร่วมมือ

[แก้]

เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ร่วมงานกับ บิ๊กฮิวจ์เกมส์ เพื่อพัฒนา ดิเอเชียนไดแนสตีส์ ภาคเสริมที่สองของ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 เป็นการลงทุนร่วมครั้งแรกระหว่างสองทีม เหตุผลที่ร่วมงานกันเพราะมีตารางเวลาเข้กันได้ ซึ่งขณะนั้นเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์กำลังง่วนอยู่กบโครงการอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฮโลวอส์ ส่วนทีมวางแผนเรียลไทม์ของบิ๊กฮิวจ์เกมส์ก็มีโครงการอยู่บ้าง บิ๊กฮิวจ์เกมส์เป็นผู้สร้างหลัก แต่นักออกแบบ เกร็ก สตรีตและแซนดี ปีเตอร์สันของเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ร่วมระดมสมองด้วย และควบคุมผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย[108] สตูดิโอส์ทั้งสองมีบาทบาทในการทดสอบเกมก่อนวางขาย[109]

การตอบรับและมรดก

[แก้]
คะแนนปฏิทัศน์สะสม
ณ 20 พฤษภาคม 2557
เกม เกมแรงกิงส์ เมตาคริติก
เอจออฟเอ็มไพร์ส (2540) 87%[110] 83[7]
เอจออฟเอ็มไพร์ส: ไรซ์ออฟโรม (2540) 80%[10]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ (2541) 92%[19] 92[20]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดอะคองคะเรอส์ (2543) 88%[111] 88[22]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 (2548) 82%[112] 81[113]
เอจออฟเอ็มไพร์ส: ดิเอจออฟคิงส์ (2549) (นินเทนโด ดีเอส) 80%[70] 80[71]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 3: เดอะวอร์ชีฟส์ (2549) 89%[43] 87[44]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 3: ดิเอเชียนไดแนสตีส์ (2550) 80%[45] 80[46]
เอจออฟเอ็มไพร์ส: มีโธโลจีส์ (2551) (นินเทนโด ดีเอส) 79%[114] 78[115]
เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ (2554) 71%[116] 70[117]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอชดีเอดิชัน (2556) 71%[118] 68[119]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดอะฟะกอทึน (2556)
เอจออฟเอ็มไพร์ส: แคสเซิลซีนจ์ (2557) 40%[120]
เอจออฟมีโธโลจี (2555) 89%[65] 89[66]
เอจออฟมีโธโลจี: เดอะไททันส์ (2546) 84%[67] 84[68]
เอจออฟมีโธโลจี: เอ็กซ์เทนเด็ดเอดิชัน (2557) 68%[121] 69[122]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิแอฟริกันคิงดัมส์ (2558) - -
เอจออฟมีโธโลจี: เทลออฟเดอะดรากอน (2559) - -
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ไรซ์ออฟเดอะราจาส์ (2559) - -

ซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ จนถึงปี 2551 เกมในซีรีส์จำนวนห้าเกมขายได้เกินหนึ่งล้านก๊อบปี เกมมาสูตราระบุว่า เอจออฟเอ็มไพร์ส ขายได้กว่าสามล้านก๊อบปี และไรซ์ออฟโรม ขายได้หนึ่งล้านก๊อบปีเมื่อถึงปี 2543[9] ในเวลาเดียวกัน ไมโครซอฟท์ประกาศว่าบริษัทส่งมอบ ดิเอจออฟคิงส์ จำนวนกว่าสองล้านก๊อบปีแล้ว[21] ในปี 2546 ไมโครซอฟท์ประกาศว่า เอจออฟมีโธโลจี ขายได้หนึ่งล้านก๊อบปี[64] จนถึงปี 2547 ก่อนการออกเอจออฟเอ็มไพร์ส 3 แฟรนไชส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส ขายได้กว่า 15 ล้านก๊อบปี[123] วันที่ 18 พฤษภาคม 2550 เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ประกาศว่าขาย เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ได้สองล้านก๊อบปี[41] เกมในชุดทำคะแนนได้สูงอย่างต่อเนื่องในเว็บไซต์รวบรวมบทปฏิทัศน์วิดีโอเกม เกมแรงกิงส์และเมตาคริติก ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ปฏิทัศน์หลายแห่ง จากตารางขวามือ เกมที่ได้คะแนนสูงสุด คือ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ โดยได้คะแนน 92% จากทั้งสองเว็บไซต์[19][20]

นักวิจารณ์ให้ความชอบแก่ เอจออฟเอ็มไพร์ส สำหรับการมีอิทธิพลต่อเกมกลยุทธ์แบบเรียลไทม์ (RTS) อย่าง ไรซ์ออฟเนชันส์ (Rise of Nations), เอ็มไพร์เอิร์ธ (Empire Earth) และคอสแซ็กส์ (Cossacks)[124][125] ฝ่ายสตาร์ วอร์ส: กาแล็กติกแบตเทิลกราวส์ (Star Wars: Galactic Battlegrounds) ยังได้รับอิทธิพลจากซีรีส์ดังกล่าว คือ เกมมันใช้เกมเอนจินจีนีแบบเดียวกับ เอจออฟเอ็มไพร์ส และ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ และนักวิจารณ์ถือว่าเป็นรูปถอดแบบเหมือนมากของเกมทั้งสอง ไอจีเอ็นเริ่มบทปฏิทัศน์ด้วยถ้อยแถลงว่า "ฉันชอบ เอจออฟสตาร์ วอร์ส ฉันหมายถึงสตาร์เอ็มไพร์ส ไม่ว่าจะเรียกอะไร ฉันเอาหมด"[126] และเกมสปอตเขียนว่า "หลักมูลของเอนจินเอจออฟเอ็มไพร์ส 2 อย่างอยู่ดีในสตาร์ วอร์ส: กาแล็กติกแบตเทิลกราวส์ จนผู้ที่เล่นเกมนั้นจนชำนาญแล้วสามารถเข้ามาเล่นได้ทันที"[127] ในเดือนตุลาคม 2548 เชลลีย์ออกความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของซีรีส์ ในบทสัมภาษณ์แก่เกมสปาย เขาอธิบายว่าบิดามารดา "บอกเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ว่าลูกของพวกตนกำลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับกรีซโบราณเพราะพวกเขาชอบเล่นกับไตรรีมมาก หรือพวกเขาต้องการหาซื้อหนังสือประวัติศาสตร์สมัยกลางเพราะเกมสอนให้พวกเขารู้จักสิ่งที่เรียกว่าเทรบูเชต"[128]

เชลลีย์กล่าวว่ากุญแจสู่ความสำเร็จของเกมคือนวัตกรรม ไม่ใช่เลียนแบบเกมแนวเดียวกัน เขายังอ้างว่าองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ในเกม "ช่วยสร้างชื่อเสียงของเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประเภทวางแผนเรียลไทม์"[129] มาร์ก โบซอนจากไอจีเอ็นเขียนในบทปฏิทัศน์ ดิเอจออฟคิงส์ ของเขาไว้ว่า "ซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส เป็นเกมวางแผนเรียลไทม์บนพีซีที่เป็นนวัตกรรมมากที่สุดเกมหนึ่งในทศวรรษที่ผ่านมาหรือราวนั้น"[130] กาเมนนิกกีเรียกเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ว่า "ผู้ผลิตที่เริ่มต้นทุกสิ่ง" เมื่อพวกเขากล่าวถึงสิ่งที่ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 กระทำเพื่อพัฒนาประเภทวางแผนเรียลไทม์[131] เชลลีย์ยอมรับว่าความสำเร็จและนวัตกรรมของ เอจออฟเอ็มไพร์ส ช่วยให้เอ็นเซ็มเบิลอยู่รอดได้ในช่วงแรกตั้งแต่เป็นสตาร์ตอัป[132] ในปี 2548 เชลลีย์บ่นถึงนักวิจารณ์ที่มี "อคตินวัตกรรม" ต่อซีรีส์ โดยพาดพิงคะแนน 60% จากคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ เขาว่าแม้ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 "บางทีอาจเป็นเกมพีซีขายดีที่สุดในโลก" แต่นักปฏิทัศน์คาดหมาย "สิ่งใหม่จริง ๆ" และให้คะแนนอย่างไม่ปรานี[133]

บันจีเลือกเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ให้พัฒนาเฮโลวอร์สซึ่งเป็นเกมอาร์ทีเอสที่มาจากซีรีส์เฮโลของบริษัท พวกเขาบอกว่าเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาเลือกร่วมงานกับเอ็นเซ็มเบิลเป็นเพราะซีรีส์เอจออฟเอ็มไพร์ส[134] พวกเขายังตั้งข้อสังเกตว่า เอ็นเซ็มเบิลเป็นตัวเลือกสมบูรณ์แบบ "เพื่อให้รับรู้ฉบับดั้งเดิมของ เฮโล" ซึ่งเริ่มต้นชีวิตในฐานะเกมอาร์ทีเอส[134]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Age of Empires screenshots and statistics". Universal Videogame List. สืบค้นเมื่อ May 21, 2011.
  2. Jeff Sengstack (February 14, 1997). "Age of Empires Preview: Microsoft takes a stab at the golden age of wargaming". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  3. Bruce Shelley (April 9, 2007). "Play Age of Empires – Study History in College". Ensemble Studios. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2008. สืบค้นเมื่อ April 21, 2008.
  4. T. Liam McDonald (October 27, 1997). "Age of Empires Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  5. James Holland. "Age of Empires". PC Gameworld. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2007. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  6. "Age of Empires Downloads". Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2008. สืบค้นเมื่อ February 28, 2008.
  7. 7.0 7.1 "Age of Empires (pc: 1997)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  8. "Computer Strategy Game of the Year". Academy of Interactive Arts & Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2008. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  9. 9.0 9.1 9.2 Matt Pritchard (March 7, 2000). "Postmortem: Ensemble Studios' Age of Empires II: The Age of Kings". Gamasutra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2008. สืบค้นเมื่อ February 1, 2008.
  10. 10.0 10.1 "Age of Empires: The Rise of Rome". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  11. Livingston, Chrisopher (June 12, 2017). "The original Age of Empires is being remastered in the Definitive Edition". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2017. สืบค้นเมื่อ June 12, 2017.
  12. Pereira, Chris. "Age Of Empire: Definitive Edition Remaster's Release Date Announced". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
  13. Makuch, Eddie. "PC's Age Of Empires: Definitive Edition Gets New Release Date After Delay". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
  14. 14.0 14.1 Nunneley, Stephany (May 30, 2019). "Microsoft to release Gears of War 5, Age of Empires: Definitive Editions, more PC titles on Steam". VG247. สืบค้นเมื่อ June 4, 2019.
  15. 15.0 15.1 Fenlon, Wes (May 30, 2019). "Microsoft is bringing more games to Steam, says 'We believe you should have choice in where you buy your PC games'". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ June 4, 2019.
  16. "The Art of Empires" (.doc). Gamasutra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  17. "Civilizations". Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2008. สืบค้นเมื่อ January 17, 2008.
  18. Elliott Chin (มิถุนายน 14, 2000). "Age II: The Conquerors – The Mayans Showcase". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Age of Empires II: The Age of Kings". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  20. 20.0 20.1 20.2 "Age of Empires II: The Age of Kings (pc: 1999)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  21. 21.0 21.1 ""Age of Empires II: The Age of Kings" Crowned No. 1 On Holiday Sales Charts Around the World". Microsoft. January 27, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2008. สืบค้นเมื่อ January 17, 2008.
  22. 22.0 22.1 "Age of Empires II: The Conquerors (pc: 2000)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  23. "Computer Strategy Game of the Year". Academy of Interactive Arts & Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2008. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  24. "PC Strategy". Academy of Interactive Arts & Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2008. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  25. Makuch, Eddie (March 7, 2013). "Age of Empires II HD arriving April 9". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ August 26, 2014.
  26. Gaston, Martin (November 8, 2013). "Age of Empires 2 HD gets new expansion pack". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ August 26, 2014.
  27. "Age of Empires II HD: The African Kingdoms to be released on November 5, 2015".
  28. "Announcing Age of Empires II HD: Rise of the Rajas!".
  29. 29.0 29.1 Knezevic, Kevin (August 21, 2017). "Age Of Empires 2 And 3 Remasters Announced". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.
  30. Isgreen, Adam (June 9, 2019). "E3 2019: Age of Empires II: Definitive Edition Launching Fall 2019, Beta Coming Soon". Xbox Wire. สืบค้นเมื่อ June 12, 2019.
  31. Chalk, Andy (June 9, 2019). "Age of Empires 2 Definitive Edition confirmed at E3, coming this fall (updated)". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ June 12, 2019.
  32. Gilliam, Ryan (June 10, 2019). "Age of Empires 2: Definitive Edition and new campaign coming to Xbox Game Pass". Polygon. สืบค้นเมื่อ June 12, 2019.
  33. Franzese, Tomas (June 12, 2019). "Age of Empires II: HD Edition Won't Be Taken Off Steam When Definitive Edition Launches". DualShockers. สืบค้นเมื่อ June 12, 2019.
  34. Steve Butts (March 9, 2005). "Age of Empires III". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  35. David Adams (April 4, 2005). "Havok in Age of Empires". IGN. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  36. "Home City". Ensemble Studios. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2008. สืบค้นเมื่อ January 18, 2008.
  37. Steve Butts (March 17, 2006). "Age of Empires III: The WarChiefs: Ensemble's lead designer Sandy Petersen answers our questions". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  38. Allen 'Delsyn' Rausch (August 8, 2006). "Age of Empires III: The WarChiefs (PC) Preview". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  39. ""Age of Empires III: The Asian Dynasties" Gets Ready to Expand Into the Eastern World, Goes Gold". Ensemble Studios. Age Community. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2007. สืบค้นเมื่อ January 18, 2008.
  40. Allen 'Delsyn' Rausch (May 23, 2007). "Age of Empires III: The Asian Dynasties (PC) interview". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  41. 41.0 41.1 ""Age of Empires III" Expands into the Eastern World This Fall". Ensemble Studios. Age Community. May 18, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2008. สืบค้นเมื่อ January 18, 2008.
  42. "PC Real-Time Strategy Game of the Year". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2008. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  43. 43.0 43.1 "Age of Empires III: The WarChiefs". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2008. สืบค้นเมื่อ January 18, 2008.
  44. 44.0 44.1 "Age of Empires III: The WarChiefs (pc: 2006)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2008. สืบค้นเมื่อ January 18, 2008.
  45. 45.0 45.1 "Age of Empires III: The Asian Dynasties – PC". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2008. สืบค้นเมื่อ January 18, 2008.
  46. 46.0 46.1 "Age of Empires III: The Asian Dynasties (pc: 2007)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2008. สืบค้นเมื่อ January 18, 2008.
  47. Botolf (May 3, 2006). "Age 4 and 5?!?". Age of Empires III Heaven. HeavenGames. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  48. Levi Buchanan (September 9, 2008). "Microsoft Shuttering Ensemble". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2008. สืบค้นเมื่อ September 24, 2008.
  49. Lou Kesten (September 15, 2008). "Game news: Microsoft to close 'Halo Wars' studio". The San Francisco Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2009. สืบค้นเมื่อ September 24, 2008.
  50. Joe Keiser (กันยายน 10, 2008). "Kim: We Still Believe in PC Games". Edge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2011. สืบค้นเมื่อ September 24, 2008.
  51. Bruce Shelley (September 22, 2008). "Ensemble Studios Closing". Ensemble Studios. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2008. สืบค้นเมื่อ September 24, 2008.
  52. Brendan Sinclair (September 24, 2008). "Ensemble dev speaks out on closure". GameSpot. สืบค้นเมื่อ September 24, 2008.
  53. Matulef, Jeffery (August 21, 2017). "Age of Empires 4 revealed with Relic at the helm". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 21, 2017.
  54. Roberts, Samuel (2019-02-08). "Age of Empires 4: everything we know". PC Gamer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-04-05.
  55. Roberts, Samuel (June 11, 2019). "Age of Empires 4 is 'making good progress', and Microsoft will talk about it later this year". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ June 12, 2019.
  56. Greg Kasavin (November 1, 2002). "Age of Mythology review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  57. William Harms. "Age of Mythology". PC Gamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2008. สืบค้นเมื่อ April 22, 2008.
  58. Kristian Brogger. "Microsoft Age of Mythology". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2012. สืบค้นเมื่อ April 22, 2008.
  59. Rob Fahey (December 10, 2002). "Age of Mythology review". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  60. "Age of Mythology Info". MobyGames. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  61. "Age of Mythology: The Titans Info". MobyGames. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  62. "Age of Mythology:The Titans". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2007. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  63. Tom Bramwell (October 21, 2003). "Age of Mythology: The Titans review". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  64. 64.0 64.1 ""Age of Mythology" Goes Platinum With More Than 1 Million Units Sold". PressPass. Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2007. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  65. 65.0 65.1 "Age of Mythology Reviews". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-07. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  66. 66.0 66.1 "Age of Mythology (pc: 2002): Reviews". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  67. 67.0 67.1 "Age of Mythology: The Titans – PC". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-24. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  68. 68.0 68.1 "Age of Mythology: The Titans (pc: 2003): Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  69. Edwin Kee (กุมภาพันธ์ 2007). "Age of Empires: Age of Kings". Mobile Tech Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 16, 2007. สืบค้นเมื่อ มกราคม 18, 2008.
  70. 70.0 70.1 "Age of Empires: The Age of Kings – DS". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  71. 71.0 71.1 "Age of Empires: The Age of Kings (ds: 2006)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  72. Chris Kirchgasler (มกราคม 4, 2001). "Age of Empires II: The Age of Kings preview". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2009. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  73. Microsoft (สิงหาคม 16, 2010). "Microsoft Heralds a New Age of Gaming With "Age of Empires Online"". Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2010. สืบค้นเมื่อ August 16, 2010.
  74. "AGE OF EMPIRES ONLINE SHUTS DOWN". IGN.
  75. Renaudin, Clement (April 10, 2014). "'Age of Empires: World Domination' Announced for iOS, Coming this Summer". Touch Arcade. สืบค้นเมื่อ August 26, 2014.
  76. "'Age of Empires: World Domination' Soft-Launches in Select Countries on iOS and Android". TouchArcade. 2015-12-07. สืบค้นเมื่อ 2016-08-24.
  77. "Age of Empires: World Domination Official | KLabGames". Age of Empires: World Domination Official site | KLabGames. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 21, 2016.
  78. Hammad Saleem (September 17, 2014). "Age of Empire Castle Siege now available for Windows Phone and Windows 8.1". WinBeta. สืบค้นเมื่อ September 21, 2014.
  79. McWhertor, Michael (August 25, 2014). "The new Age of Empires is a fast-paced, touch-based game for Windows 8". Polygon. Vox Media. สืบค้นเมื่อ August 26, 2014.
  80. 80.0 80.1 80.2 "Bruce Shelley". Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2008. สืบค้นเมื่อ January 22, 2008.
  81. 81.0 81.1 81.2 Emma Boyes (August 22, 2007). "GC '07: Don't ignore casual gamers, says Age of Empires panel". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  82. Stuart Bishop (August 19, 2002). "Interview: Rock of Ages". Computer and Video Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2008. สืบค้นเมื่อ January 23, 2008.
  83. "Dave Pottinger". Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2008. สืบค้นเมื่อ January 22, 2008.
  84. "Age of Empires III Q&A – Technology Overview". GameSpot. March 9, 2005. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  85. Moss, Richard C. (8 January 2018). "'The least-worst idea we had'—The creation of the Age of Empires empire". Ars Technica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
  86. "Age of Empires II: The Conquerors – First Impression". GameSpot. พฤษภาคม 31, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  87. Rob Fermier (สิงหาคม 25, 2003). "Age of Mythology: The Titans – Volume 1". Dev Diaries. GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2009. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  88. "AI Tools". GameSpy. October 26, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2008. สืบค้นเมื่อ April 28, 2008.
  89. 89.0 89.1 89.2 89.3 89.4 Greg Kasavin (October 12, 1999). "Age of Empires: The Age of Kings for PC review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ September 18, 2008.
  90. 90.0 90.1 90.2 House, Michael L. "Age of Empires II: The Age of Kings > Overview". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2014. สืบค้นเมื่อ September 22, 2008.
  91. 91.0 91.1 "Age of Empires 2: The Age of Kings – PC Review". Game Revolution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2008. สืบค้นเมื่อ September 22, 2008.
  92. 92.0 92.1 "Age of Mythology review". Steve Butts. IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2007. สืบค้นเมื่อ October 5, 2007.
  93. 93.0 93.1 "Age of Mythology". Game Revolution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 25, 2012. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2007.
  94. 94.0 94.1 William Harms. "PC Gamer review". PC Gamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2007. สืบค้นเมื่อ October 6, 2007.
  95. 95.0 95.1 "2005 strategy gaming preview". IGN. January 11, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2007. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  96. 96.0 96.1 Garnett Lee (ตุลาคม 14, 2005). "1UP review". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 5, 2010. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 14, 2007.
  97. 97.0 97.1 Dave "Fargo" Kosak (October 19, 2005). "GameSpy review, page 1". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2007. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  98. Geoff Richards (November 9, 1999). "Age of Empires II : Age of Kings". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ September 22, 2008.
  99. Richie Shoemaker. "Age of Empires II: The Age Of Kings". PC Zone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2008. สืบค้นเมื่อ September 22, 2008.
  100. "Age of Empires III". Havok. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2006. สืบค้นเมื่อ November 26, 2006.
  101. Greg Kasavin (October 14, 2005). "GameSpot review, page 3". GameSpot. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  102. "Technology". Ensemble Studios. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2006. สืบค้นเมื่อ November 26, 2006.
  103. "GameSpy's Game of the Year 2005, Best Graphics". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 13, 2007. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 14, 2007.
  104. 104.0 104.1 104.2 "Ensemble Studios Chat 16Oct97". Age of Empires Heaven. HeavenGames. October 16, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-11. สืบค้นเมื่อ January 24, 2008.
  105. Peter Suciu (เมษายน 30, 2001). "Soundtracks on CD-ROM: Stirring Music That Accompanies the Interactive". Film Score Monthly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2007. สืบค้นเมื่อ January 23, 2008.
  106. Steve Butts (September 6, 2002). "Age of Music". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  107. "Interview with Age of Empires III lead composer Stephen Rippy". Music4Games. February 1, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2008. สืบค้นเมื่อ January 23, 2008.
  108. Allen 'Delsyn' Rausch (May 23, 2007). "Age of Empires III: The Asian Dynasties (PC)". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  109. "Brian Reynolds Interview – Part 1 – July 2007". Age of Empires III Heaven. HeavenGames. สืบค้นเมื่อ January 23, 2008.
  110. "Age of Empires". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  111. "Age of Empires II: The Conquerors". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-27. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  112. "Age of Empires III". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  113. "Age of Empires III (pc: 2005)". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  114. "Age of Empires: Mythologies". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2009. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
  115. "Age of Empires: Mythologies". Metacritic. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
  116. "Age of Empires Online". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ March 29, 2012.
  117. "Age of Empires Online". Metacritic. สืบค้นเมื่อ March 29, 2012.
  118. "Age of Empires II: HD Edition". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-11. สืบค้นเมื่อ March 13, 2013.
  119. "Age of Empires II: HD Edition". Metacritic. สืบค้นเมื่อ November 13, 2013.
  120. "Age of Empires Castle Siege Reviews". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-22. สืบค้นเมื่อ August 21, 2017.
  121. "Age of Mythology: Extended Edition". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-20. สืบค้นเมื่อ May 20, 2014.
  122. "Age of Mythology: Extended Edition". Metacritic. สืบค้นเมื่อ May 20, 2014.
  123. "Best-Selling Age Franchise Tops 15 Million Mark". Games for Windows. Microsoft. May 7, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2008. สืบค้นเมื่อ January 14, 2008.
  124. Elliott Chin (May 21, 2003). "Rise of Nations for PC review". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  125. Peter "Dirg" Suciu. "Cossacks: The Art of War (PC)". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2008. สืบค้นเมื่อ April 22, 2008.
  126. "Star Wars: Galactic Battlegrounds Review". IGN. November 19, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  127. Tom Chick (November 20, 2001). "Star Wars: Galactic Battlegrounds for PC Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  128. Allen 'Delsyn' Rausch (October 14, 2005). "Art & Design: The Alternate History of Age of Empires III". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  129. Bruce Shelley. "Guidelines for Developing Successful Games" (DOC). Gamasutra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  130. Mark Bozon (February 10, 2006). "The Age of Kings is truly upon us..." IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2008. สืบค้นเมื่อ June 17, 2008.
  131. David Driscoll. "Age of Empires III". Gamenikki. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2008. สืบค้นเมื่อ April 3, 2008.
  132. Russ Pitts (November 28, 2006). "From Borg to Boss". The Escapist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2008. สืบค้นเมื่อ February 2, 2008.
  133. John Houlihan (December 22, 2005). "Shelley decries 'innovation bias'". ComputerAndVideoGames.com. สืบค้นเมื่อ April 3, 2008.
  134. 134.0 134.1 KPaul (กันยายน 29, 2006). "Bungie Weekly Update". Bungie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 11, 2008. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]